พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์ หน้า 016-020

                                                            หน้าที่ ๑๖

นัดก็ดี เข้าไปสู่ที่มุงด้วยกันก็ดี ทอดกายเพื่อประโยชน์แก่บุรุษนั้น เพื่อประสงค์จะเสพ
อสัทธรรมนั้นก็ดี แม้ภิกษุณีนี้เป็นปาราชิก ชื่ออัฏฐวัตถุกา หาสังวาสมิได้.
                                เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ.
                                สิกขาบทวิภังค์
                [๒๗] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่
ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
                ที่ชื่อว่า มีความกำหนัด คือ มีความยินดียิ่ง มีความเพ่งเล็ง มีจิตปฏิพัทธ์.
                ที่ชื่อว่า ผู้กำหนัด คือ กำหนัดนักแล้ว มีความเพ่งเล็ง มีจิตปฏิพัทธ์.
                ที่ชื่อว่า บุรุษบุคคล ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย ไม่ใช่ยักษ์ผู้ชาย ไม่ใช่เปรตผู้ชาย ไม่ใช่สัตว์
ดิรัจฉานตัวผู้ เป็นผู้รู้ความ เป็นผู้สามารถเพื่อถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย.
                บทว่า ยินดีการจับมือก็ดี ความว่า ที่ชื่อว่า มือ กำหนดตั้งแต่ข้อศอก ถึงปลายเล็บ
ภิกษุณียินดีการจับอวัยวะเหนือรากขวัญขึ้นไป ใต้เข่าลงมา เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น
ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
                บทว่า ยินดีการจับชายผ้าสังฆาฏิก็ดี คือ ยินดีการจับผ้านุ่งก็ดี ผ้าห่มก็ดี เพื่อประสงค์
จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
                บทว่า ยืนด้วยก็ดี ความว่า ยืนอยู่ในระยะช่วงมือของบุรุษ เพื่อประสงค์จะเสพ
อสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
                บทว่า สนทนาด้วยก็ดี ความว่า ยืนพูดอยู่ในระยะช่วงมือของบุรุษ เพื่อประสงค์จะ
เสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
                บทว่า ไปสู่ที่นัดแนะกันก็ดี ความว่า บุรุษพูดนัดว่า โปรดมาสู่สถานที่ชื่อนี้ ดังนี้
ภิกษุณีไปเพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ ก้าว พอย่างเข้าระยะช่วงมือของ
บุรุษ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
                บทว่า ยินดีการที่บุรุษมาหาตามนัดก็ดี ความว่า ยินดีการมาตามนัดของบุรุษ เพื่อ
ประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติทุกกฏ พอย่างเข้าระยะช่วงมือ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
                บทว่า เข้าไปสู่ที่มุงด้วยกันก็ดี ความว่า พอย่างเข้าสู่สถานที่อันมุงไว้ด้วยวัตถุอย่างใด
อย่างหนึ่ง เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติถุลลัจจัย.


                                                            หน้าที่ ๑๗

                บทว่า ทอดกายเพื่อประโยชน์แก่บุรุษนั้นก็ดี ความว่า อยู่ในระยะช่วงมือของบุรุษ แล้ว
ทอดกายเพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
                [๒๘] บทว่า แม้ภิกษุณีนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูปก่อน.
                บทว่า เป็นปาราชิก มีอธิบายว่า ต้นตาลมียอดด้วนแล้วไม่อาจงอกอีกได้ ชื่อแม้ฉันใด
ภิกษุณีก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทำวัตถุถึงที่ ๘ ไม่ใช่สมณะ ไม่ใช่ธิดาของพระศากยบุตร เพราะเหตุนั้น
จึงตรัสว่า เป็นปาราชิก.
                บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่าสังวาส ได้แก่กรรมที่พึงทำร่วมกัน อุเทศที่
พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่าสังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุณีนั้น
เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้.
                                อนาปัตติวาร
                [๒๙] ไม่จงใจ ๑ เผลอสติ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ ไม่ยินดี ๑ วิกลจริต ๑ มีจิตฟุ้งซ่าน ๑
กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ จบ.
                [๓๐] แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือปาราชิก ๘ สิกขาบท  ดิฉันยกขึ้นแสดงแล้วแล ภิกษุณี
ต้องอาบัติปาราชิกอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมไม่ได้อยู่ร่วมกับภิกษุณีทั้งหลาย ในภายหลัง เหมือน
ในกาลก่อน เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้ ดิฉันขอถามแม่เจ้าทั้งหลาย ในอาบัติปาราชิกเหล่านั้นว่า
แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ ดิฉันขอถามแม้ครั้งที่สองว่า แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ
ดิฉันขอถามแม้ครั้งที่สามว่า แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ? แม่เจ้าทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์ใน
อาบัติปาราชิกเหล่านี้แล้ว เหตุนั้น จึงนิ่ง ดิฉันทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้แล.
                                                                                                ปาราชิกกัณฑ์ จบ
                                                                                                _______________


                                                            หน้าที่ ๑๘

                                                                                                สัตตรสกัณฑ์
                แม่เจ้าทั้งหลาย ก็ธรรมคือสังฆาทิเสส ๑๗ สิกขาบทนี้แล มาสู่อุเทศ.
                                                                                สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑
                                                                                เรื่องอุบาสกกับภิกษุณีถุลลนันทา
                [๓๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น อุบาสกคนหนึ่งถวายโรงเก็บของแก่ภิกษุณีสงฆ์แล้ว
ถึงอนิจกรรม. เขามีบุตรอยู่ ๒ คน คนหนึ่งเป็นคนไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส อีกคนหนึ่งเป็นคนมี
ศรัทธา เลื่อมใส. บุตรทั้งสองนั้นแบ่งสมบัติของบิดาแล้ว ต่อมาบุตรคนที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส
จึงได้พูดกับบุตรคนที่มีศรัทธาเลื่อมใสว่า โรงเก็บของของเรายังมีอยู่ เรามาแบ่งกันเถิด. เมื่อเขาพูด
อย่างนั้นแล้ว บุตรคนที่มีศรัทธาเลื่อมใสพูดห้ามว่า เจ้าอย่าได้พูดอย่างนี้ โรงเก็บของนั้น บิดาของ
เราได้ถวายภิกษุณีสงฆ์แล้ว.
                แม้ครั้งที่สอง บุตรคนที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ก็พูดว่า โรงเก็บของของเรา เราจะแบ่งกัน.
ครั้งนั้นแล บุตรคนที่มีศรัทธาเลื่อมใสก็พูดห้ามว่า เจ้าอย่าได้พูดอย่างนี้ โรงเก็บของนั้น บิดาของเรา
ได้ถวายแก่ภิกษุณีสงฆ์แล้ว.
                แม้ครั้งที่สาม บุตรคนที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ก็พูดว่า โรงเก็บของของเรา เราจะแบ่งกัน.
ครั้งนั้นแล บุตรคนที่มีศรัทธาเลื่อมใสจึงคิดว่า ถ้าโรงเก็บของนั้นจักเป็นของเรา เราก็จักถวายแก่
ภิกษุณีสงฆ์ แล้วกล่าวว่า เราจงแบ่งกันเถิด. บังเอิญโรงเก็บของที่เขาทั้งสองแบ่งกันนั้น ได้ตกแก่
บุตรคนที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส.
                ครั้งนั้นแล จึงบุตรคนที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ได้เข้าไปหาภิกษุณีทั้งหลาย แล้วบอกว่า
เชิญแม่เจ้าทั้งหลายออกไปเถิด เจ้าข้า เพราะโรงเก็บของเป็นของข้าพเจ้า.
                เมื่อเขาบอกอย่างนั้นแล้ว ภิกษุณีถุลลนันทาได้พูดว่า นายอย่าพูดอย่างนี้ บิดาของพวกนาย
ได้ถวายแก่ภิกษุณีสงฆ์แล้ว.
                ต่างเถียงกันอยู่ว่า ถวายแล้ว ไม่ได้ถวาย แล้วฟ้องมหาอำมาตย์ผู้พิพาษา. มหาอำมาตย์
ถามว่า แม่เจ้า ใครเล่าจะทราบว่าได้ถวายแล้วแก่ภิกษุณีสงฆ์?
                เมื่อเขาถามอย่างนั้นแล้ว ภิกษุณีถุลลนันทาย้อนถามพวกมหาอำมาตย์เหล่านั้นว่า พวก
ท่านได้เห็นหรือได้ยินบ้างไหมว่า ทานที่เขาถวายกันต้องตั้งพยานด้วย?


                                                            หน้าที่ ๑๙

                จึงมหาอำมาตย์เหล่านั้นพูดว่า แม่เจ้าพูดจริงแท้ แล้วได้ตัดสินโรงเก็บของนั้นให้แก่
ภิกษุณีสงฆ์.
                ครั้นบุรุษนั้นแพ้คดีแล้ว จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ภิกษุณีโล้นเหล่านี้ไม่เป็น
สมณะ เป็นหญิงฉ้อโกง ไฉนจึงได้ให้ผู้พิพากษาริบโรงเก็บของของเราเสียเล่า.
                ภิกษุณีถุลลนันทาได้แจ้งความเรื่องนั้นแก่มหาอำมาตย์. มหาอำมาตย์ได้ให้ปรับไหมบุรุษนั้น.
                ครั้นบุรุษนั้นถูกปรับไหมแล้ว ได้ให้สร้างที่พักอาชีวกไว้ใกล้ๆ สำนักภิกษุณี แล้วส่งพวก
อาชีวกไปอยู่ด้วยสั่งว่า จงช่วยกันกล่าวล่วงเกินภิกษุณีพวกนั้น.
                ภิกษุณีถุลลนันทาได้แจ้งความนั้นแก่มหาอำมาตย์. มหาอำมาตย์ได้ให้จองจำเขาแล้ว. พวก
ชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ครั้งแรกพวกภิกษุณีได้ให้เจ้าหน้าที่ริบโรงเก็บของ
ครั้งที่สองให้ปรับไหม ครั้งที่สามให้จองจำ คราวนี้เห็นทีจะให้ประหารชีวิต. พวกภิกษุณีได้ยิน
ชาวบ้านพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่. บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ...  ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่าไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้ชอบเป็นคนกล่าวหาเรื่องเล่า แล้วแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุ
ทั้งหลายๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทา
ชอบกล่าวหาเรื่อง จริงหรือ?
                ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทา จึงได้ชอบ
กล่าวหาเรื่องเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
                                พระบัญญัติ
                ๙.๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด ชอบกล่าวหาเรื่องกับคหบดีก็ดี บุตรคหบดีก็ดี ทาสก็ดี กรรมกร
ก็ดี โดยที่สุด แม้สมณะปริพาชก ภิกษุณีนี้ต้องธรรมคือสังฆาทิเสส ชื่อนิสสารณียะ มีอันให้
ต้องอาบัติขณะแรกทำ.
                                                                เรื่องอุบาสกกับภิกษุณีถุลลนันทา จบ.


                                                            หน้าที่ ๒๐

                                                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๓๒] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่
ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
                ที่ชื่อว่า กล่าวหาเรื่อง ได้แก่ ที่เขาเรียกว่าผู้ก่อคดี.
                ที่ชื่อว่า คหบดี ได้แก่ บุรุษผู้ครอบครองเรือนคนใดคนหนึ่ง.
                ที่ชื่อว่า บุตรคหบดี ได้แก่ บุตรหรือพี่น้องชายคนใดคนหนึ่ง.
                ที่ชื่อว่า ทาส ได้แก่ ทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย ทาสสินไถ่ ทาสเชลย.
                ที่ชื่อว่า กรรมกร ได้แก่ คนรับจ้าง คนที่ถูกเกณฑ์มา.
                ที่ชื่อว่า สมณะปริพาชก ได้แก่บุรุษคนใดคนหนึ่งผู้เข้าบวชเป็นปริพาชก เว้นภิกษุ
ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร และสามเณรี.
                ภิกษุณีแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ด้วยตั้งใจว่า จักก่อคดี ต้องอาบัติทุกกฏ บอกแจ้ง
เรื่องของคนหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ แจ้งเรื่องของคนที่สอง ต้องอาบัติถุลลัจจัย คดีถึงที่สุด ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส.
                [๓๓] บทว่า มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ ความว่า ต้องอาบัติพร้อมกับล่วงวัตถุ
โดยไม่ต้องสวดสมนุภาส.
                ที่ชื่อว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ขับออกจากหมู่.
                บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้น ให้มานัตเพื่ออาบัตินั้น ชักเข้าหาอาบัติเดิม
เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน ไม่ใช่ภิกษุณีรูปเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่าสังฆา
ทิเสส คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของอาบัตินิกายนั้นแล แม้เพราะเหตุนั้น
จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.
                                อนาปัตติวาร
                [๓๔] ภิกษุณีถูกมนุษย์เกาะตัวไป ๑ ขออารักขา ๑ บอกไม่เจาะตัว ๑ วิกลจริต ๑
ภิกษุณีอาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                                                                สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ จบ.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘