พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ หน้า 016-020

                                                            หน้าที่ ๑๖

                จีวรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                จีวรยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็น
นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                จีวรยังไม่ถูกโจรชิงไป ภิกษุสำคัญว่าถูกโจรชิงไปแล้ว เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็น
นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                ทุกกฏ
                [๓๐] ภิกษุไม่สละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์ บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.
                จีวรไม่อยู่ปราศ ภิกษุสำคัญว่าอยู่ปราศ บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.
                จีวรไม่อยู่ปราศ ภิกษุสงสัย บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                ไม่ต้องอาบัติ
                จีวรไม่อยู่ปราศ ภิกษุสำคัญว่าไม่อยู่ปราศ บริโภค ไม่ต้องอาบัติ.
                                                                อนาปัตติวาร
                [๓๑] ในภายในอรุณ ภิกษุถอนเสีย ๑ ภิกษุสละให้ไป ๑ จีวรหาย ๑ จีวรฉิบหาย ๑
จีวรถูกไฟไหม้ ๑ โจรชิงเอาไป  ๑ ภิกษุถือวิสาสะ ๑ ภิกษุได้รับสมมติ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑
ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ.
                                                ___________


                                                            หน้าที่ ๑๗

                                                ๑. จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๓
                                                เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
                [๓๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น อกาลจีวรเกิดแก่ภิกษุรูปหนึ่ง เธอจะทำจีวร
ก็ไม่พอ จึงเอาจีวรนั้นจุ่มน้ำตากแล้วดึงเป็นหลายครั้ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปตาม
เสนาสนะ ทอดพระเนตรเห็นเธอเอาจีวรนั้นจุ่มน้ำตากแล้วดึงเป็นหลายครั้ง จึงเสด็จเข้าไปหา
แล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอจุ่มจีวรนี้ลงในน้ำแล้วดึงเป็นหลายครั้ง เพื่อประสงค์อะไร?
                ภิกษุรูปนั้นกราบทูลว่า อกาลจีวรผืนนี้เกิดแก่ข้าพระพุทธเจ้า จะทำจีวรก็ไม่พอ เพราะ
ฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงได้จุ่มจีวรนี้ตากแล้วดึงเป็นหลายครั้ง พระพุทธเจ้าข้า.
                ภ. ก็เธอยังมีหวังจะได้จีวรมาอีกหรือ?
                ภิ. มี พระพุทธเจ้าข้า.
                                                ทรงอนุญาตอกาลจีวร
                ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ
แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับอกาลจีวร
แล้วเก็บไว้ได้ โดยมีหวังว่าจะได้จีวรใหม่มาเพิ่มเติม.
                [๓๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้รับ
อกาลจีวรแล้วเก็บไว้ได้ โดยมีหวังว่าจะได้จีวรใหม่มาเพิ่มเติม จึงรับอกาลจีวรแล้วเก็บไว้เกิน
หนึ่งเดือน. จีวรเหล่านั้นเธอห่อแขวนไว้ที่สายระเดียง.
                ท่านพระอานนท์เที่ยวจาริกไปตามเสนาสนะ ได้เห็นจีวรเหล่านั้น ซึ่งภิกษุทั้งหลาย
ห่อแขวนไว้ที่สายระเดียง. ครั้นแล้วจึงถามภิกษุทั้งหลายว่า จีวรเหล่านี้ของใครห่อแขวนไว้ที่
สายระเดียง?
                ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า อกาลจีวรเหล่านี้ของพวกกระผม พวกกระผมเก็บไว้ โดยมีหวัง
ว่าจะได้จีวรใหม่มาเพิ่มเติม.


                                                            หน้าที่ ๑๘

                อา. เก็บไว้นานเท่าไรแล้ว?
                ภิ. นานกว่าหนึ่งเดือน ขอรับ.
                ท่านพระอานนท์จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงได้รับอกาลจีวร
แล้วเก็บไว้เกินหนึ่งเดือนเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                                                ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
                ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น
ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุ
รับอกาลจีวรแล้วเก็บไว้เกินหนึ่งเดือน จริงหรือ?
                ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                                                ทรงติเตียน
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษ
เหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนภิกษุ-
โมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้รับอกาลจีวรแล้วเก็บไว้เกินหนึ่งเดือนเล่า การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษ
เหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ
ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น เป็นไปเพื่อความ
ไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
                                                ทรงบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้น โดยอเนกปริยายดั่งนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความ
เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ
คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย
ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร
โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุ
ทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย
อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิด


                                                            หน้าที่ ๑๙

ในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑
เพื่อถือตามพระวินัย ๑
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                พระบัญญัติ
                ๒๒.๓. จีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว กฐินเดาะเสียแล้ว อกาลจีวรเกิดขึ้นแก่
ภิกษุ ภิกษุหวังอยู่ก็พึงรับ ครั้นรับแล้ว พึงรีบให้ทำ ถ้าผ้านั้นมีไม่พอ เมื่อความ
หวังว่าจะได้มีอยู่ ภิกษุนั้นพึงเก็บจีวรนั้นไว้ได้เดือนหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง เพื่อจีวรที่ยัง
บกพร่องจะได้พอกัน ถ้าเก็บไว้ยิ่งกว่ากำหนดนั้น แม้ความหวังว่าจะได้มีอยู่ ก็เป็น
นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ.
                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๓๔] บทว่า จีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว ความว่า จีวรของภิกษุทำสำเร็จแล้วก็ดี
หายเสียก็ดี ฉิบหายเสียก็ดี ถูกไฟไหม้เสียก็ดี หมดหวังว่าจะได้ทำจีวรก็ดี.
                คำว่า กฐินเดาะเสียแล้ว คือเดาะเสียแล้วด้วยมาติกาอันใดอันหนึ่งในมาติกา ๘ หรือ
สงฆ์เดาะเสียในระหว่าง.
                ที่ชื่อว่า อกาลจีวร ได้แก่ผ้าที่เมื่อไม่ได้กรานกฐินเกิดได้ตลอด ๑๑ เดือน เมื่อได้
กรานกฐินแล้ว เกิดได้ตลอด ๗ เดือน แม้ผ้าที่เขาเจาะจงให้เป็นอกาลจีวรถวายในกาล นี่ก็
ชื่อว่าอกาลจีวร.
                บทว่า เกิดขึ้น คือ เกิดแต่สงฆ์ก็ตาม แต่คณะก็ตาม แต่ญาติก็ตาม แต่มิตรก็ตาม
แต่ที่บังสุกุลก็ตาม แต่ทรัพย์ของตนก็ตาม.
                [๓๕] บทว่า หวังอยู่ คือ เมื่อต้องการ ก็พึงรับไว้.
                คำว่า ครั้นรับแล้วพึงรีบให้ทำ คือ พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน
                [๓๖] พากย์ว่า ถ้าผ้านั้นมีไม่พอ คือ จะทำไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งไม่เพียงพอ.


                                                            หน้าที่ ๒๐

                พากย์ว่า ภิกษุนั้นจึงเก็บจีวรนั้นไว้ได้เดือนหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง คือ เก็บไว้ได้เดือน
หนึ่งเป็นอย่างนาน.
                คำว่า เพื่อจีวรที่ยังบกพร่องจะได้พอกัน คือ เพื่อประสงค์จะยังจีวรที่บกพร่องให้
บริบูรณ์.
                พากย์ว่า เพื่อความหวังว่าจะได้มีอยู่ คือ มีความหวังว่าจะได้มาแต่สงฆ์ก็ตาม แต่
คณะก็ตาม แต่ญาติก็ตาม แต่มิตรก็ตาม แต่ที่บังสุกุลก็ตาม แต่ทรัพย์ของตนก็ตาม.
                                                                จีวรที่มีหวัง
                [๓๗] พากย์ว่า ถ้าเก็บไว้ยิ่งกว่ากำหนดนั้น แม้ความหวังว่าจะได้มีอยู่
อธิบายว่า จีวรเดิมเกิดขึ้นในวันนั้น จีวรที่หวังก็เกิดในวันนั้น พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน
                จีวรเดิมเกิดได้ ๒  วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐  วัน.
                จีวรเดิมเกิดได้ ๓  วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐  วัน.
                จีวรเดิมเกิดได้ ๔  วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐  วัน.
                จีวรเดิมเกิดได้ ๕  วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐  วัน.
                จีวรเดิมเกิดได้ ๖  วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐  วัน.
                จีวรเดิมเกิดได้ ๗  วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐  วัน.
                จีวรเดิมเกิดได้ ๘  วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐  วัน.
                จีวรเดิมเกิดได้ ๙  วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐  วัน.
                จีวรเดิมเกิดได้ ๑๐ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐  วัน.
                จีวรเดิมเกิดได้ ๑๑ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐  วัน.
                จีวรเดิมเกิดได้ ๑๒ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐  วัน.
                จีวรเดิมเกิดได้ ๑๓ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐  วัน.
                จีวรเดิมเกิดได้ ๑๔ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐  วัน.
                จีวรเดิมเกิดได้ ๑๕ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐  วัน.
                จีวรเดิมเกิดได้ ๑๖ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐  วัน.
                จีวรเดิมเกิดได้ ๑๗ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐  วัน.
                จีวรเดิมเกิดได้ ๑๘ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐  วัน.
                จีวรเดิมเกิดได้ ๑๙ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐  วัน.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘