พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ หน้า 006-010

                                                            หน้าที่ ๖

                                                                ทุกกฏ
                จีวรเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุยังไม่ได้เสียสละ บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.
                จีวรยังไม่ล่วง ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่าล่วงแล้ว บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.
                จีวรยังไม่ล่วง ๑๐ วัน ภิกษุสงสัย บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                ไม่ต้องอาบัติ
                จีวรยังไม่ล่วง ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ล่วง บริโภค ไม่ต้องอาบัติ.
                                                                อนาปัตติวาร
                [๘] ในภายใน ๑๐ วัน ภิกษุอธิษฐาน ๑ ภิกษุวิกัปไว้ ๑ ภิกษุสละให้ไป ๑ จีวรฉิบหาย ๑
จีวรถูกไฟไหม้ ๑ โจรชิงเอาไป ๑ ภิกษุถือวิสาสะ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                เรื่องพระฉัพพัคคีย์
                [๙] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ไม่ให้คืนจีวรที่เสียสละ บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงไม่ให้คืนจีวรที่เสียสละเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                                                                ทรงสอบถาม
                ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวก
เธอไม่ให้คืนจีวรที่เสียสละ จริงหรือ?
                พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                                                ทรงติเตียน
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น
ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงไม่ให้คืน
จีวรที่เสียสละเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่
ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของพวก
เธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของ
ชุมชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.


                                                            หน้าที่ ๗

                                                ทรงอนุญาตให้คืนจีวรที่เสียสละ
                พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์โดยอเนกปริยายดังนี้ แล้วตรัสโทษแห่งความ
เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ
คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย
ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร
โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุ
ทั้งหลายว่า
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย จีวรที่ภิกษุเสียสละแล้ว สงฆ์ คณะ หรือ บุคคล จะไม่
คืนให้ไม่ได้ ภิกษุใดไม่คืนให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.
                                                จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ.
                                                                __________


                                                            หน้าที่ ๘

                                                ๑. จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๒
                                                เรื่องภิกษุหลายรูป
                [๑๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายฝากผ้าสังฆาฏิไว้แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้ว
มีแต่ผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสก หลีกไปสู่จาริกในชนบท. ผ้าสังฆาฏิเหล่านั้นถูกเก็บไว้นาน
ก็ขึ้นราตกหนาว ภิกษุทั้งหลายจึงผึ่งผ้าสังฆาฏิเหล่านั้น.
                ท่านพระอานนท์เที่ยวตรวจดูเสนาสนะ ได้พบภิกษุเหล่านั้นกำลังผึ่งผ้าสังฆาฏิอยู่ ครั้น
แล้วจึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น ถามว่าจีวร ที่ขึ้นราเหล่านี้ของใคร?
                จึงภิกษุเหล่านั้นแจ้งความนั้นแก่ท่านพระอานนท์แล้ว.
                ท่านพระอานนท์จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงได้ฝากผ้าสังฆาฏิ
ไว้แก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว มีแต่ผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสก หลีกไปสู่จาริกในชนบทเล่า
แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                                                                ทรงสอบถาม
                ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุเหล่านั้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุ
ทั้งหลาย ฝากผ้าสังฆาฏิไว้แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วมีแต่ผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสก หลีกไปสู่
จาริกในชนบท จริงหรือ?
                                ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                                                ทรงติเตียน
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษ
เหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ, ไฉนภิกษุ
โมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้ฝากผ้าสังฆาฏิไว้แก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว มีแต่ผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสก
หลีกไปสู่จาริกในชนบทเล่า การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ
เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้
การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.


                                                            หน้าที่ ๙

                                                ทรงบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้นโดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความ
เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ
คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย
ความสันโดษ ความขัดเกลา ความจำกัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภ
ความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น
แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย
อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อ
ข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิด
ในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑
เพื่อถือตามพระวินัย ๑
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                พระบัญญัติ
                ๒๑.๒. จีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว กฐินเดาะเสียแล้ว ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากไตร
จีวร แม้สิ้นราตรีหนึ่ง เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
                ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วย
ประการฉะนี้.
                                                เรื่องภิกษุหลายรูป จบ.
                                                                พระอนุบัญญัติ
                                                เรื่องภิกษุอาพาธ
                [๑๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธอยู่ในพระนครโกสัมพี. พวกญาติส่งทูต
ไปในสำนักภิกษุนั้นว่า นิมนต์ท่านมา พวกผมจักพยาบาล แม้ภิกษุทั้งหลายก็กล่าวอย่างนี้ว่า
ไปเถิดท่าน พวกญาติจักพยาบาลท่าน.


                                                            หน้าที่ ๑๐

                เธอตอบอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย
ไว้ว่า ภิกษุไม่พึงอยู่ปราศจากไตรจีวร ผมกำลังอาพาธ ไม่สามารถจะนำไตรจีวรไปด้วยได้
ผมจักไม่ไปละ.
                ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                                                ทรงอนุญาตให้สมมติติจีวราวิปวาส
                ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ
เหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติ เพื่อ
ไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรแก่ภิกษุผู้อาพาธ ก็แลสงฆ์พึงให้สมมติอย่างนี้:-
                                                วิธีสมมติติจีวราวิปวาส
                ภิกษุผู้อาพาธนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษา
กว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าอาพาธ ไม่สามารถจะนำ
ไตรจีวรไปด้วยได้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นขอสมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตร-
จีวรต่อสงฆ์ ดังนี้ พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
                ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
                ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้อาพาธ ไม่สามารถจะนำ
ไตรจีวรไปด้วยได้ เธอขอสมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรต่อสงฆ์. ถ้าความ
พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร แก่
ภิกษุมีชื่อนี้ นี่เป็นวาจาประกาศให้สงฆ์ทราบ.
                ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้อาพาธ ไม่สามารถจะนำ
ไตรจีวรไปด้วยได้ เธอขอสมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรต่อสงฆ์. สงฆ์ให้
สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรแก่ภิกษุมีชื่อนี้ การให้สมมติเพื่อไม่เป็นการ
การอยู่ปราศจากไตรจีวรแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่
ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
                การสมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร อันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้
ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘