บทนำ

              ชีวิตของมนุษย์เริ่มเดินทางออกไปจากความเกิด  เดินไปตามเส้นทางแห่งกรรม  มุ่งหน้าสู่จุดหมายปลายทางคือความดับได้แก่ความตาย  ตรงกับพระพุทธพจน์ว่า  สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม  กรรมนั้นมี    อย่าง  คือ  .  กรรมดี  เรียกว่า  กุศลกรรมหรือบุญ  .  กรรมชั่ว  เรียกว่า  อกุศลกรรมหรือบาป  กุศลกรรมและอกุศลกรรมทั้ง    อย่างนี้เอง  ที่ทำให้มนุษย์แตกต่างกัน  โดยมีฐานะที่สูงหรือต่ำ  ดีหรือชั่ว  เป็นต้น  ตามพระพุทธพจน์ว่า  กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีต  แตกต่างกันไป

              กรรมดีนำผู้ทำไปสู่สุคติ  คือไปสู่สถานที่ดี  ต่อจากนั้นก็ช่วยคุ้มครองรักษาผู้นั้นให้พ้นจากภัยอันตรายและอุปสรรคต่าง    พร้อมกับช่วยผลักดันวิถีชีวิตของเขาให้มีความเจริญรุ่งเรือง  มีความก้าวหน้า  และทำให้จิตใจมีความร่มเย็นเป็นสุข  แม้ในสภาพที่คนอื่นเขาอาจรู้สึกเป็นทุกข์

              ส่วนกรรมชั่ว  นำผู้ทำไปสู่ทุคติ  คือไปสู่สถานที่ชั่ว  หรือนำภัยอันตรายและอุปสรรคต่าง ๆ  มาสู่ชีวิต  ทั้งทำให้จิตใจมีความเศร้าหมอง  เร่าร้อนและเป็นทุกข์แม้ในสภาพที่ไม่น่าจะเป็นทุกข์  สำหรับผู้ที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์
              เส้นทางแห่งกรรมดี  อันจะนำไปสู่สุคติ  คือสถานะที่ดี  เรียกว่า  กุศลกรรมบถ  มี  ๑๐  อย่าง  คือ  เว้นจากการฆ่าสัตว์  ลักทรัพย์  ประพฤติผิดในกาม  พูดเท็จ  พูดส่อเสียด  พูดคำหยาบ  พูดเพ้อเจ้อ    อย่างนี้เรียกว่า  สีลสมบัติ  ความไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น  ความไม่คิดร้ายทำลายใคร    อย่างนี้เรียกว่า  จิตตสมบัติ  ความเห็นชอบตามทำนองคลองธรรม  คือไม่คัดค้าน  ไม่ลบล้าง ไม่ทำลาย  สิ่งที่สัตบุรุษมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้นสอนไว้  เรียกว่า  ทิฏฐิสมบัติ  ผู้มีสีลสมบัติ  จิตตสมบัติ  และทิฏฐิสมบัติย่อมได้มนุษยสมบัติ  สวรรคสมบัติ  และนิพพานสมบัติอย่างแน่นอน
              ส่วนเส้นทางแห่งกรรมชั่ว  อันจะนำไปสู่ทุคติ  คือสถานะที่ชั่ว  เรียกว่าอกุศลกรรมบถ  มี  ๑๐  อย่าง  ตรงกันข้ามกับกุศลกรรมบถ  คือ  การฆ่าสัตว์ลักทรัพย์  ประพฤติผิดในกาม  พูดเท็จ  พูดส่อเสียด  พูดคำหยาบ  พูดเพ้อเจ้อ    อย่างนี้  เรียกว่า  สีลวิบัติ  ความโลภอยากได้ของผู้อื่น  ความคิดร้ายทำลายผู้อื่น    อย่างนี้  เรียกว่า  จิตตวิบัติ  ความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม  คือ   การปฏิเสธ  การลบล้างทำลายสิ่งที่สัตบุรุษมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้นสอนไว้  เรียกว่า  ทิฏฐิวิบัติ  บุคคลผู้ประกอบด้วยวิบัติ    ประการนี้  ย่อมประสบกับคติวิบัติ  คือ  ไปเป็นสัตว์ดิรัจฉาน  เปรต  สัตว์นรก  และอสุรกาย
              หนังสือเล่มนี้  จะแสดงกรรมบถทั้ง    อย่าง  โดยแสดงอกุศลกรรมบถ  ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องงดเว้นก่อน  แล้วจึงแสดงกุศลกรรมบถ  ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องประพฤติปฏิบัติสำหรับสาธุชนทั่วไป  เปรียบเหมือนการแต่งกาย  อันดับแรกต้องอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดเสียก่อน  ต่อจากนั้นจึงหาเสื้อผ้าเครื่องประดับที่สวยงามมาสวมใส่  จึงจะเกิดความงามที่สมบูรณ์  หวังว่า  หนังสือเล่มนี้คงจะให้ความรู้  ความเข้าใจหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา  แล้วนำไปสู่การปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่ชาติวุฒิ  วัยวุฒิ  และคุณวุฒิของผู้ศึกษาที่ได้มองเห็นโทษและคุณอย่างถ่องแท้แล้ว

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘