วิริยวรรค คือ หมวดความเพียร

                        ๔๑.   โกสชฺชํ  ภยโต  ทิสฺวา              วิริยารมฺภญฺจ  เขมโต
                                 อารทฺธวิริยา  โหถ                    เอสา  พุทฺธานุสาสนี
                  ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านเป็นภัย     และเห็นการปรารภความเพียรเป็นความปลอดภัย     แล้วปรารภความเพียรเถิด     นี้เป็นพุทธานุศาสนี
                          (พุทธ)                             ขุ.  จริยา.  ๓๓ / ๕๙๕
                        ๔๒.   ตุมฺเหหิ  กิจฺจํ  อาตปฺปํ              อกฺขาตาโร  ตถาคตา
                                 ปฏิปนฺนา  ปโมกฺขนฺติ               ฌายิโน  มารพนฺธนา
                                 ท่านทั้งหลายต้องทำความเพียรเอง  ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอก  ผู้มีปกติเพ่งพินิจดำเนินไปแล้ว  จักพ้นจากเครื่องผูกของมาร
                          (พุทธ)                             ขุ.   .  ๒๕ / ๕๑.
                        ๔๓.   นิทฺทํ  ตนฺทึ  วิชิมฺหิตํ                อรตึ  ภตฺตสมฺมทํ
                                 วิริเยน  นํ  ปณาเมตฺวา             อริยมคฺโค  วิสุชฺฌติ.
                  อริยมรรคย่อมบริสุทธิ์  เพราะขับไล่ความหลับ  ความเกียจคร้าน  ความบิดขี้เกียจ     ความไม่ยินดี  และความเมาอาหารนั้นได้ด้วยความเพียร
                          (พุทธ)                             สํ.  ส.  ๑๕ / ๑๐.
                        ๔๔.   โย    วสฺสสตํ  ชีเว                กุสีโต  หีนวีริโย
                                 เอกาหํ  ชีวิตํ  เสยฺโย                วิริยํ  อารภโต  ทฬฺหํ
                  ผู้ใดเกียจคร้าน  มีความเพียรเลว  พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี  แต่ผู้ปรารภความเพียรมั่นคง  มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว  ประเสริฐกว่าผู้นั้น
                                 (พุท)                                    ขุ.   .  ๒๕ / ๓๐
                        ๔๕.   สพฺพทา  สีลสมฺปนฺโน               ปญฺญวา  สุสมาหิโต
                                 อารทฺธวิริโย  ปหิตตฺโต             โอฆํ  ตรติ  ทุตฺตรํ
                   ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล  มีปัญญา  มีใจมั่งคงดีแล้ว  ปรารภความเพียร  ตั้งตนไว้ในกาลทุกเมื่อ  ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก
                          (พุทธ)                             สํ.  ส.    ๑๕ / ๗๔

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘