อนิจจตา ความไม่เที่ยง กำหนดรู้ได้ ๓ ทาง

                  ๑.   ความเกิดขึ้นในเบื้องต้น  และความสิ้นไปในเบื้องปลาย  ได้ในบาลีว่า
                                    อนิจฺจา  วต  สงฺขารา  อุปฺปาทวยธมฺมิโน
                                    อุปฺปชฺชิตฺวา  นิรุชฺฌนฺติ
                  สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ  มีความเกิดขึ้นและความสิ้นไปเป็นธรรมดา  เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
                  ๒.  ความแปรในระหว่างเกิดและดับ  ได้ในบาลีว่า
                                    อจฺเจนฺติ  กาลา  ตรยนฺติ  รตฺติโย
                                    วโยคุณา  อนุปุพฺพํ  ชหนฺติ.
                  กาลย่อมล่วงไป  ราตรีย่อมผ่านไป  ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป
                  ระยะเวลาในระหว่างเกิดและดับ  เรียกว่า  วัย  แบ่งออกเป็น    คือ
                        ๑.   ปฐมวัย       ระยะเวลาไม่เกิน  ๒๕  ปี
                        ๒.  มัชฌิมวัย   ระยะเวลาอยู่ใน  ๕๐  ปี
                        ๓.  ปัจฉิมวัย     ระยะเวลาพ้น  ๕๐  ปี  ออกไปจนตลอดอายุ
                        ความแปรแห่งสังขารผ่านวัยทั้ง    นั้นเปรียบด้วยเดินข้ามสะพานสูงขึ้น  (ปฐมวัย)  แล้วราบ  (มัชฌิมวัย)  แล้วต่ำลง    (ปัจฉิมวัย)     
                  ๓.  ความแปรแห่งสังขารในชั่วขณะหนึ่ง    คือ  ไม่คงที่อยู่นาน  เพียงในระยะกาลนิดเดียวก็แปรแล้ว  ได้ในคาถามาในวิสุทธิมรรค  ว่า
                                    ชีวิตํ  อตฺตภาโว           สุขทุกฺขา    เกวลา

                                    เอกจิตฺตสมา  ยุตฺตา       ลหุโส  วตฺตเต  ขโณ

                  ชีวิต  อัตตภาพ  และสุขทุกข์ทั้งมวลประกอบกัน  เป็นธรรมเสมอด้วยจิตดวงเดียว  ขณะย่อมเป็นไปพลัน
                  ความแปรเร็วอย่างนี้  ย่อมกำหนดเห็นชัดในนามกาย  (จิตใจ)  เช่น  บางขณะนึกอารมณ์อย่างนั้น  บางขณะนึกอารมณ์อย่างนี้  บางขณะสุข  บางขณะทุกข์  เป็นต้น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘