อุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ )

อุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ )
 
เครื่องปรับอากาศ
( แอร์ ) ของบ้านพักอาศัย ประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ ที่สำคัญ 9 ส่วน ดังนี้
1. แผงท่อทำความเย็น        (Cooling Coil)
2. คอมเพรสเซอร์               (Compressor)
3. แผงท่อระบายความร้อน (Condenser Coil)
4. พัดลมส่งลมเย็น            (Blower)
5. พัดลมระบายความร้อน   (Condenser Fan)
6. แผ่นกรองอากาศ
( แอร์ )              (Air Filter)
7. หน้ากากเครื่องที่มีแผ่นเกล็ดกระจายลมเย็น (Louver)
8. อุปกรณ์ควบคุมสำหรับการเปิด-ปิดเครื่อง ตั้งค่าอุณหภูมิห้องตั้งความเร็วของพัดลมส่งลมเย็น ตั้งเวลาการทำงานของเครื่อง เป็นต้น อุปกรณ์ควบคุมนี้อาจติดตั้งอยู่ที่ตัวเครื่องปรับอากาศ
( แอร์ ) เอง หรือแยกเป็นอุปกรณ์ต่างหากเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการควบคุมระยะไกล (Remote Control)  จากบริเวณอื่นๆ ภายในห้องปรับอากาศ ( แอร์ )
9. อุปกรณ์ป้อนสารทำความเย็น (Metering Device) 

2. หลักการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ )
               วัฎจักรการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ )  เริ่มตั้งแต่ผู้ใช้เปิดเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ )  สารทำความเย็น ซึ่งเป็นของเหลว (ไม่มีสี กลิ่นและรสในปริมาณที่พอเหมาะจะไหลผ่านอุปกรณ์ป้อนสารทำความเย็นเข้าไปยังแผงท่อทำความเย็นซึ่งติดตั้งอยู่ภายในห้องพัดลมส่งลมเย็นจะดูดอากาศ ( แอร์ ) ร้อนและชื้นภายในห้องผ่านแผ่นกรองอากาศ ( แอร์ )  ซึ่งติดตั้งอยู่ด้านหน้าของแผงท่อทำความเย็น เพื่อกรองเอาฝุ่นละอองขนาดใหญ่ออกไป  จากนั้นอากาศ ( แอร์ ) ร้อนชื้นจะคายความร้อนให้แก่สารทำความเย็นภายในแผงท่อทำความเย็น ทำให้มีอุณหภูมิและความชื้นลดลงและถูกพัดลมส่งลมเย็นกลับเข้ามาสู่ห้องอีกครั้งหนึ่ง โดยผ่านแผ่นเกล็ดกระจายลม เพื่อให้ลมเย็นแพร่ไปสู่ส่วนต่างๆ ของห้องอย่างทั่วถึง สำหรับสารทำความเย็นเหลวภายในแผงท่อทำความเย็น เมื่อได้รับความร้อนจากอากาศ ( แอร์ ) ภายในห้องจะระเหยกลายเป็นไอ และไหลเข้าสู่คอมเพรสเซอร์ ซึ่งไอที่ได้นี้จะถูกส่ง ต่อไปยังแผงท่อระบายความร้อนซึ่งติดตั้งอยู่นอกอาคาร พัดลมระบายความร้อนจะดูดอากาศ ( แอร์ )  ภายนอกมาระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น ทำให้ไอสารทำความเย็นกลั่นตัวกลับเป็นของเหลวอีกครั้งหนึ่ง และไหลออกจากแผงท่อระบายความร้อนไปสู่อุปกรณ์ป้อนสารทำความเย็นวนเวียนเป็นวัฎจักร      เช่นนี้ตลอดเวลา จนกว่าอุณหภูมิในห้องจะถึงระดับที่ตั้งไว้ อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิก็จะส่งสัญญาณให้เครื่องคอมเพรสเซอร์หยุดทำงานชั่วขณะหนึ่ง จึงประหยัดไฟฟ้าส่วนที่ป้อนให้คอมเพรสเซอร์ทำงานได้ แต่พัดลมส่งลมเย็นยังคงทำหน้าที่ส่งลมให้ภายในห้อง จนเมื่ออุณหภูมิในห้องให้คอมเพรสเซอร์ทำงานโดยอัดสารทำความเย็นป้อนเข้าไปในแผงท่อทำความเย็นใหม่ดังนั้นถ้าเพิ่มสูงกว่าระดับที่ตั้งไว้อุปกรณ์ควบคุมก็จะส่งสัญญาณ ไม่ให้เย็นจนเกินไป ก็จะช่วยประหยัดค่าไฟได้ ซึ่งตามปกติควรตั้งไว้ที่ 25  C  
เครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) แบบแยกส่วน (Split Type) ตัวเครื่องแบ่ง เป็น 2 ส่วน คือ 

                1.)  ส่วนที่อยู่ภายในห้องเรียกว่า แฟนคอยล์ยูนิต (Fan Coil Unit) มีหน้าที่ทำความเย็น ประกอบด้วยพัดลมส่งลมเย็น แผ่นกรองอากาศ
( แอร์ )  หน้ากากพร้อมเกล็ด     กระจายลมเย็น
                2.)  อุปกรณ์ควบคุมที่ติดตั้งภายนอกห้อง เรียกว่า คอนเดนซิ่งยูนิต (Condensing Unit) ประกอบด้วยคอมเพรสเซอร์แผงท่อระบายความร้อนและพัดลมระบายความร้อนทั้งสองส่วนเชื่อมต่อกันด้วยท่อสารทำความเย็น  เครื่องแบบนี้นิยมใช้กันทั่วไปสำหรับบ้านเดี่ยวตามหมู่บ้าน บ้านชานเมือง บ้านในเมืองหรือตึกแถว ซึ่งมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิต ตัวแฟนคอยล์ยูนิต โดยมีทั้งแบบติดเพดาน ติดผนัง หรือแบบตั้งพื้น เครื่องแบบติดเพดานเหมาะกับห้องที่มีขนาดใหญ่ หรือเป็นห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ค่อนข้างยาว หรือไม่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการติดตั้งบนพื้นห้อง เครื่องแบบติดผนังเหมาะกับห้องทั่วไป ลักษณะห้องค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส ส่วนเครื่องตั้งพื้นนั้นเหมาะกับห้องขนาดเล็ก เช่น ห้องนอนขนาดเล็กหรือห้องรับแขกขนาดเล็ก

การเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ประหยัดพลังงาน
-          ศึกษาหลักการทำงานเพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ในแต่ละรุ่น      
-          เลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ที่ ได้รับเครื่องหมายรับรองคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม  
-          เลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ที่ติดฉลากแสดงว่ามีประสิทธิภาพ และรุ่นที่มีประสิทธิภาพสูง
-          เครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ขนาดไม่เกิน 25,000 บีทียู/ชมควรเลือกซื้อเครื่องที่ ติดฉลากแสดงค่าประสิทธิภาพหมายเลข 5
-          เครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ที่มีขนาดใหญ่กว่า 25,000 บีทียู/ชม.ควรเลือกซื้อเครื่องที่มีการใช้ไฟไม่เกิน 1.40 กิโลวัตต์ต่อ 1 ตัน
-          ความเย็นหรือมีค่า EER (Energy Efficiency Ratio) ไม่น้อยกว่า 8.6 บีทียู ชม./วัตต์ โดยดูรายละเอียดได้จากผู้จำหน่าย
-          มีคู่มือการใช้งานเพื่อการประหยัดพลังงานและการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ
-          เลือกขนาดให้เหมาะสมกับขนาดของครัวเรือน  และพื้นที่ใช้สอย
-          เลือกเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ที่เหมาะสมกับพื้นที่ห้องโดยทั่วไป โดยขนาดความสูงของห้องปกติสูงไม่เกิน 3 เมตร ควรเลือกดังนี้
         พื้นที่     13-15   ตร..    ควรใช้ขนาด         8,000  บีทียู
         พื้นที่     16-17   ตร..    ควรใช้ขนาด       10,000  บีทียู
         พื้นที่          20   ตร..    ควรใช้ขนาด       12,000   บีทียู
         พื้นที่     23-24   ตร..    ควรใช้ขนาด       14,000  บีทียู
         พื้นที่          30   ตร..    ควรใช้ขนาด       18,000   บีทียู
         พื้นที่          40   ตร..    ควรใช้ขนาด       24,000   บีทียู
-           หรือเลือกโดยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้งานต่าง ๆ  ของเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ที่ใช้ทำความเย็นให้แก่ห้องต่างๆ ภายในบ้าน โดยเฉลี่ย ความสูงของห้อง โดยทั่วไปที่ 2.5-3 เมตร อาจประมาณคร่าวๆ จากค่าต่อไปนี้
-          ห้องรับแขก ห้องอาหาร ประมาณ 15 ตร../ตันความเย็น
-          ห้องนอนที่เพดานห้องเป็นหลังคา ประมาณ 20 ตร../ตันความเย็น
-          ห้องนอนที่เพดานห้องเป็นพื้นของอีกชั้นหนึ่งประมาณ 23 ตร../ตันความเย็น

การใช้เครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ให้มีการประหยัดพลังงาน

-          ศึกษาคู่มือการใช้งานอย่างละเอียด ทำความเข้าใจถึงหลักการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้า
-          ปฏิบัติตามขั้นตอนการใช้งานเพื่อการประหยัดพลังงานอย่างเคร่งครัด 

การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ )

                การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ที่ผิดวิธีโดยเฉพาะในเครื่องแบบแยกส่วน นอกจากจะทำให้เครื่องทำความเย็นได้น้อยลงแล้วยังสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามากขึ้นอีกด้วยจึงควรให้ความสนใจดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
                1.ควรติดตั้งแฟนคอยล์ยูนิต และคอนเดนซิ่งยูนิตของเครื่องแบบแยกส่วนให้ใกล้กันมากที่สุด จะทำให้เครื่องไม่ต้องทำงานหนักในการส่งสารทำความเย็นให้ไหลไปตามท่อ ทั้งยังลดค่าใช้จ่ายในการเดินท่อและหุ้มฉนวนตลอดจนลดโอกาสการรั่วของสารทำความเย็น
 
                2.หุ้มท่อสารทำความเย็นจากคอนเดนเซอร์ไปยังแผงท่อทำความเย็น (Cooling Coil) ของเครื่องแบบแยกส่วนด้วยฉนวนที่มีความหนาประมาณ 0.5 นิ้ว หรือตามที่ผู้ผลิตแนะนำ เพื่อป้องกันมิให้มีสารทำความเย็นภายในท่อแลกเปลี่ยนความร้อนกับอากาศ
( แอร์ ) ภายนอกตามเส้นท่อ
 
                3.ตำแหน่งติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิต(หรือเครื่องปรับอากาศ
( แอร์ ) แบบติดหน้าต่าง)ควรอยู่ในที่ร่มไม่ถูกแสงแดดโดยตรง แต่อากาศ ( แอร์ ) ภายนอกสามารถถ่ายเทได้สะดวก ไม่ควรอยู่ในที่อับลม หรือคับแคบ ที่ว่างโดยรอบเครื่องต้องเพียงพอตามที่ผู้ผลิตแนะนำ
 
               4.ในสถานที่ซึ่งมีการติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิต (หรือเครื่องแบบหน้าต่าง)หลายๆชุด ต้องระวังอย่าให้ลมร้อนที่ระบายออกจากเครื่องชุดหนึ่งเป่าเข้าหาเครื่องอีกชุดหนึ่ง ควรให้ลมร้อนจากแต่ละเครื่องเป่าออกได้โดยสะดวก

               5. ในบางสถานที่ซึ่งมีลมพัดแรงตลอดเวลาในทิศทางเดียว ควรติดตั้งคอนเดนซิ่ง ยูนิต (หรือเครื่องปรับอากาศ
( แอร์ ) แบบติดหน้าต่างให้อากาศ ( แอร์ ) ร้อนระบายออกจากตัวเครื่องอยู่ในทิศเดียวกับ กระแสลม อย่าให้ปะทะกับลมธรรมชาติ เพราะจะทำให้เครื่องระบายความร้อนได้ลำบาก
 
               6.ตำแหน่งติดตั้งแฟนคอยล์ยูนิต (หรือเครื่องปรับอากาศ
( แอร์ ) แบบติดหน้าต่างต้องให้ลมเย็นที่จ่ายออกจากตัวเครื่องสามารถกระจายไปทั่วทั้งห้อง
ลักษณะอาการต่างๆ ที่ไม่พึงประสงค์ รายละเอียดและวิธีการแก้ไข
                -               คอล์ยร้อนเสียงดัง     เสียงที่ดังมาจากคอย์ลร้อนนั้นอาจเกิดได้จากหลายกรณีเช่น โครงแอร์เสียงดัง พัดลมคอย์ล
ร้อนแตก ลูกปืนมอเตอร์เสีย ซึ่งกรณีดังกล่าวนี้เรามีวิธีสังเกตและวิธีการแก้ไขดังนี้ 
1.             โครงแอร์เสียงดัง  จะมีอาการสั่นของโครงแอร์เนื่องมาจากการทำงานของคอมเพรสเซอร์ เพราะถ้าคอมเพรสเซอร์มีอายุ       การใช้งานที่นานมากก็จะทำให้คอมเพรสเซอร์ทำงานไม่นิ่งจึงทำให้เกิดการสั่นของโครงแอร์ได้ หรืออีกกรณีที่เป็นแอร์                 เก่าก็อาจเสียงดังได้เนื่องมาจากการขันสกรูไม่แน่นเวลาแอร์ทำงานจึงให้เกิดเสียงดังได้                                              
วิธีการแก้ไข  ถ้าแอร์สียงดังอันเกิดมาจากการทำงานของคอมเพรสเซอร์ก็ใหเราเปลี่ยนลูกยางรองฐานคอมเพรสเซอร์ใหม่ ถ้าเกิดจากการที่ขันสกรูไม่แน่นก็ให้ทำการขันสกรูใหม่ให้แน่น
2.             พัดลมคอย์ลร้อนแตก จะมีเสียงดังมากสาเหตมาจากการเสื่อมสภาพของใบพัดคอย์ลร้อนเพราะใบพัดคอย์ลร้อนนั้นจะเป็นพลาสติก หรือ อลูมิเนียม เมื่อเราใช้ไปนานๆ ก็จะทำให้ใบพัดนี้กรอบและจะแตกในที่สุดหรืออีกกรณีก็เกิดมาจากการแกว่งของมอเตอร์คอย์ลร้อนจึงทำให้ใบพัดหมุนไปโดนกับโครงแอร์ก็จะทำให้ใบพัดนั้นแตกได้เช่นกัน
วิธีการแก้ไข  ถ้าพัดลมคอย์ลร้อนแตกเนื่องมาจากการฉีกขาดของใบพัดก็ให้เราทำการปิดแอร์ทันทีเพื่อทำการเปลี่ยนใบพัดใหม่
3.        ลูกปืนมอเตอร์เสีย   จะมีเสียงดังไม่มากนักแต่ถ้าปล่อยเอาไว้นานๆ จะทำให้พัดลมคอย์ลร้อนแตกได้สาเหตเนื่องมาจากการเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งานเพราะลูกปืนนั้นต้องหมุนตลอดเวลาและร้อนจึงทำให้ลูกปืนนั้นเสื่อมสภาพได้เร็วหรืออีกกรณีคือ จารบีที่ใส่ไว้ไม่เกิดการแห้งหรือไม่หล่อลื่นดังนั้นเวลาหมุนจึงทำให้เกิดเสียงดัง
วิธีการแก้ไข  ให้ทำการถอดโครงแอร์ออกเพื่อทำการเปลี่ยนลูกปืนใหม่แต่กรณีนี้ต้องใช้เวลาพอสมควรเพราะต้องถอดอุปกรณ์หลายชิ้น
-               แอร์ไม่เย็น   สาเหตุของแอร์ที่ไม่เย็นนั้นเกิดมาจากหลายกรณีเช่น น้ำยาขาด น้ำยาเกิน คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน
พัดลมคอย์ล ร้อนไม่ทำงาน เทอร์มอมิเตอร์เสีย
1.        น้ำยาขาด   ให้เราสังเกตบริเวณท่อทองแดงที่ออกมาจากคอย์ลร้อนจะมีน้ำแข็งเกาะอยู่นั้นเป็นอาการเนื่องมาจากการรั่วของน้ำยาในระบบมีหลายกรณีที่รั่วคือ รั่วที่คอย์ลร้อน รั่วที่ท่อส่งน้ำยา รั่วที่วาวล์ หรือรั่วที่คอย์ลเย็น หากเกิดกรณีเช่นนี้ก็จะทำให้เกิดผลเสียตามมาอีกมากมายหลายกรณี หากนานเกินไปอาจะถึงขั้นต้องเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์
วิธีการแก้ไข  ให้เราหมั่นสังเกตว่าแอร์เราเย็นตามปรกติหรือไม่ถ้าไม่เย็นเนื่องมาจากการรั่วของน้ำยาก็ให้ทำการซ่อมรั่วโดยเร่งด่วน โดยปรกติเราควรมีการเช็คแอร์ประจำปีบ้าง
2.        คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน  เกิดมาจากหลายกรณีเช่น น้ำยาในระบบขาดเนื่องมาจากเกิดการรั่วของระบบจึง  ทำให้(Low presser) ตัดเพื่อป้องกันคอมเพรสเซอร์เสียหาย หรือคอมเพรสเซอร์ร้อนจนเกินไปจึงทำให้ (Over load) ตัดเพื่อป้องกันคอมเพรสเซอร์เสียหายเช่นกันแต่ถ้าแอร์ตัวดังกล่าวไม่มีระบบป้องกันคอมเพรสเซอร์ก็จะทำให้คอมเพรสเซอร์เสียหายได้ และในกรณีที่เกิดการช๊อตกันระหว่างขดลวดในคอมเพรสเซอร์เนื่องมาจากน้ำยาในระบบขาดถึงขั้นวิกฤติ อีกกรณีคือน้ำมันในคอมเพรสเซอร์แห้งกรณีนี้ต้องเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์อย่างดียว
      วิธีการแก้ไข  หากคอมเพรสเซอร์ไม่ทำงานในกรณีที่ตัวป้องกันคอมเพรสเซอร์ตัดก็ให้ทำการซ่อมรั่วให้เรียบร้อยก่อนการเปิดใช้แอร์ แต่ถ้าเป็นในกรณีที่เกิดจากการช๊อตของขดลวดหรือนำมันในคอมเพรสเซอร์แห้งให้ทำการเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์ใหม่
3.        พัดลมคอย์ลร้อนไม่ทำงาน เกิดมาจากหลายกรณีเช่น เกิดการช๊อตกันระหว่างขดลวด หรือตัวเก็บประจุเสียจะมีอาการคือมอเตอร์จะหมุนช้าหรือไม่หมุนเลย
วิธีการแก้ไข  หากเกิดจาการช๊อตกันของขดลวดในระบบให้ทำการเปลี่ยนมอเตอร์ตัวใหม่ ถ้าเกิดมาจากตัวเก็บเสียก็ให้ทำการเปลี่ยนตัวเก็บประจุตัวใหม่
4.        เทอร์มอมิเตอร์เสีย  เนื่องมาจากตัวเทอร์มอมิเตอร์นั้นทำมาจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จึงมีอายุการใช้งานได้ไม่นานเหมือนสวิตซ์ธรรมดา และเทอร์มอมิเตอร์บางรุ่นก็สามารถที่จะเปลี่ยนจากอุณหภูมิที่เป็นองศาเซลเซียสมาเป็นองศาฟาเรนไฮร์โดยอัตโนมัติ หรือบางทีลายแผ่นปริ๊นต์สกปรกหรือขาด จึงทำให้ไม่สามารถกดเทอร์มอมิเตอร์เพื่อสั่งให้แอร์ทำงงานได้
วิธีการแก้ไข   ก่อนทำการใช้เทอร์มอมิเตอร์ควรอ่านคู่มือการใช้ให้เข้าใจเสียก่อน และถ้าเกิดมาจากการเสียของเทอร์มอ -มิเตอร์ก็ให้ทำการส่งกลับศูนย์ซ่อม





โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘