๕. สันติ ความสงบ

อุทเทส

                  ๑.   สนฺติมคฺคเมว  พฺรูหย
                        สูจงพูนทางแห่งความสงบนั้นแล
มัคควัคค    ธัมมบท

                  ๒.  นตฺถิ  สนฺติปรํ  สุขํ
                        สุขอื่นจากความสงบ  ย่อมไม่มี
สุขวัคค    ธัมมบท

                  ๓.  โลกามิสํ  ปชเห  สนฺติเปกฺโข
                        ผู้เพ่งความสงบ  พึงละอามิสในโลกเสีย
สคาถวัคค    สํยุตฺต
                  สันติ  ย่อมเป็นไปในไตรทวาร  ได้ในบาลีว่า  ใจของผู้นั้นสงบแล้ว  กายและวาจา    ก็ย่อมเป็นอันสงบ
                  การทำที่เว้นจากการเบียดเบียนกัน  การพูดที่เว้นจากวิวาทและผรุสวาท  ใจนึกในทางเมตตา  กรุณา  นี้คือ  กาย  วาจา  ใจ  ที่สงบ  ความสุขอื่นยิ่งไปกว่าความสงบนี้  ย่อมไม่มี
                  โลกามิส  คือ  รูป  เสียง  กลิ่น  รส  โผฏฐัพพะ  เพราะเป็นเครื่องล่อใจให้ติดในโลก    ดุจเหยื่ออันเบ็ดเกี่ยวอยู่  การทำใจมิให้ติดในสิ่งเหล่านั้น  (ชื่อว่า  ละ)  ย่อมเป็นปฏิปทาของท่านผู้รู้  ผู้สงบดีแล้ว  ดังแสดงในชราสูตร  ว่า
                  หยดน้ำย่อมไม่ติดในใบบัวฉันใด  วารีย่อมไม่กำซาบในดอกปทุม  ฉันใด  มุนีย่อมไม่เข้าไปติดในอารมณ์  อันเห็นแล้วก็ดี  อันฟังแล้วก็ดี  อันทราบแล้วก็ดี  ฉันนั้น
                  สันติเป็นได้ทั้งโลกิยะและโลกุตร  ดุจเดียวกับวิสุทธิ  (สันติ)  ที่เป็นโลกิยะได้ในคำว่า
                  บุคคลย่อมถึงความสงบแห่งจิต  ด้วยร้องไห้  ด้วยเศร้าโศก  ก็หาไม่
                  ที่เป็นโลกุตรได้ในคำว่า  ผู้เพ่งสันติ  พึงละโลกามิสเสีย
                  สมเด็จ ฯ  ทรงเรียงสันติต่อจากวิสุทธิ  ทรงอธิบายว่า  จิตวิสุทธิ์แล้วย่อมสงบ  ดุจผ้าฟอกขาวผ่องแล้วย่อมมีนวล

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘