ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นเอก สอบในสนามหลวง วันพฤหัสบดี ที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๓

. สังฆกรรม กับวินัยกรรม มีกำหนดบุคคลและสถานที่ต่างกันหรือ
เหมือนกันอย่างไร ?
. ต่างกันดังนี้ สังฆกรรม ต้องประชุมสงฆ์ครบองค์ตามกำหนดแห่งกรรมนั้น ๆ
ต้องทำในสีมา เว้นไว้แต่อปโลกนกรรม ทำนอกสีมาก็ได้ ส่วนวินัยกรรม
ไม่ต้องประชุมสงฆ์ และทำนอกสีมาก็ได้ ฯ
. นิมิตที่อยู่รอบโรงอุโบสถ มีไว้เพื่อประโยชน์อะไร ? จงเขียนคำทักนิมิตใน
ทิศตะวันตกเฉียงใต้มาดู ?
. มีไว้เพื่อเป็นเครื่องหมายกำหนดเขตการทำสังฆกรรม ฯ
ทกฺขิณาย อนุทิสาย กึ นิมิตฺตํ ฯ
. จงอธิบายความหมายของวิสุงคามสีมา และสัตตัพภันตรสีมา
. วิสุงคามสีมา หมายถึงเขตแห่งสามัคคีที่สงฆ์ได้รับพระราชทานพระบรม
ราชานุญาตยกให้เป็นแผนกหนึ่งจากบ้าน ฯ สัตตัพภันตรสีมา หมายถึงเขต
แห่งสามัคคีในป่าหาคนตั้งบ้านเรือนไม่ได้ชั่ว ๗ อัพภันดร (๔๙ วา)
โดยรอบ นับแต่ที่สุดแห่งสงฆ์ออกไป ฯ

. กฐิน เป็นสังฆกรรมอะไร ? การรับกฐิน ตลอดจนถึงการกราน ต้องทำ
ในสีมาเท่านั้น หรือทำนอกสีมาก็ได้ ?
. เป็นญัตติทุติยกรรม ฯ
การรับกฐิน การอปโลกน์เพื่อให้ผ้ากฐิน และการกรานกฐินทำในสีมาหรือ
นอกสีมาก็ได้ การสวดญัตติทุติยกรรมวาจาให้ผ้ากฐิน ต้องทำในสีมาเท่านั้น ฯ
. บุรพกิจที่พึงทำเป็นเบื้องต้นก่อนแต่อุปสมบท คืออะไรบ้าง ? ในกิจ
เหล่านั้น กิจที่ต้องทำเป็นการสงฆ์ มีอะไรบ้าง ?
. คือ ให้บรรพชา ขอนิสสัย ถืออุปัชฌายะ ขนานชื่อมคธแห่งอุปสัมปทาเปกขะ
และบอกนามอุปัชฌายะ บอกบาตรจีวร สั่งให้อุปสัมปทาเปกขะออกไปยืน
ข้างนอก สมมติภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้ซักซ้อมอุปสัมปทาเปกขะถึงอันตรายิกธรรม
เรียกอุปสัมปทาเปกขะเข้าในสงฆ์ ให้ขออุปสมบท สมมติภิกษุรูปหนึ่ง
สอบถามอุปสัมปทาเปกขะถึงอันตรายิกธรรมในสงฆ์ ฯ
มี สมมติภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้ซักซ้อมอุปสัมปทาเปกขะถึงอันตรายิกธรรม เรียก
อุปสัมปทาเปกขะเข้าในสงฆ์ สมมติภิกษุรูปหนึ่งสอบถามอุปสัมปทาเปกขะ
ถึงอันตรายิกธรรมในสงฆ์ ฯ
. อุปสัมปทาเปกขะจะสำเร็จเป็นพระภิกษุได้ เมื่อพระกรรมวาจาจารย์สวดถึง
บาลีบทใด ?
. ถึงบทว่า โส ภาเสยฺย ท้ายอนุสาวนาที่ ๓ ฯ
. ติณวัตถารกวินัยมีอธิบายอย่างไร ? ใช้ระงับอธิกรณ์อะไร ?
. อธิบายว่า กิริยาที่ให้ประนีประนอมกันทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่ต้องชำระสะสาง
หาความเดิม เป็นดังกลบไว้ด้วยหญ้า ฯ ใช้ระงับอาปัตตาธิกรณ์ที่ยุ่งยากยืดเยื้อ
ไม่ร้จู บและเป็นเรื่องสำคัญอันจะเป็น เครื่องกระเทือนทั่วไป เว้นครุกาบัติและ
อาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ ฯ
. ลิงคนาสนา คืออะไร ? บุคคลที่ทรงพระอนุญาตให้ทำลิงคนาสนามี
กี่ประเภท ? ใครบ้าง ?
. คือ การให้ฉิบหายเสียจากเพศ ฯ
มี ๓ ประเภท ฯ
คือ ภิกษุต้องอันติมวัตถุแล้ว ยังปฏิญญาตนเป็นภิกษุ ๑ บุคคลผู้อุปสมบท
ไม่ขึ้น ได้รับอุปสมบทแต่สงฆ์ ๑ สามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ มีเป็น
ผู้มักผลาญชีวิตเป็นต้น ๑ ฯ
. ศาสนสมบัติมีกี่ประเภท ? อะไรบ้าง ? การจะนำผลประโยชน์จาก
ศาสนสมบัติไปใช้จ่าย มีหลักเกณฑ์อย่างไร ?
. มี ๒ ประเภท ฯ
คือ ศาสนสมบัติกลาง และ ศาสนสมบัติวัด ฯ
มีหลักเกณฑ์อย่างนี้คือ ศาสนสมบัติกลาง ใช้จ่ายในกิจการของสงฆ์ทั่วไป
ตามพระวินัยโดยอนุมัติของสงฆ์ ศาสนสมบัติวัด ใช้จ่ายในกิจการของ
วัดนั้น ๆ แต่จะนำศาสนสมบัติของวัดหนึ่งไปใช้อีกวัดหนึ่งไม่ได้ ฯ
๑๐. ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ หรือที่ศาสนสมบัติกลาง จะสามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้
หรือไม่ ? มีหลักปฏิบัติอย่างไร ?
๑๐. สามารถโอนได้ ฯ
มีหลักปฏิบัติตามความในมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์
.. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒)
.. ๒๕๓๕ (มาตรา ๓๔ การโอนกรรมสิทธิ์ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ หรือ
ที่ศาสนสมบัติกลาง ให้กระทำได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ เว้นแต่เป็นกรณี
ตามวรรคสอง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘