ธัมมเทสนาธิฏฐานกถา กัณฑ์ที่ ๓

                  เมื่อพระตถาคตเจ้าได้ตรัสรู้แล้วได้ประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข   ควงไม้อัสสัตถพฤกษ์    วัน  ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท  ทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลมแล้วทรงเปล่งอุทานว่า
                  เมื่อใดธรรมทั้งหลายคือ  โพธิปักขิยธรรมหรืออริยสัจ    มาปรากฏชัดแก่พราหมณ์ผู้เพียรเพ่งอยู่ด้วยฌาน    อย่าง  คือ  อารัมมณุปนิชฌาน  (สมาบัติ ๘)  และลักขณุปนิชฌาน  (วิปัสสนาญาณ)  เมื่อนั้นความสงสัยของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป  เพราะเขาได้ทราบชัดธรรมคือ  กองทุกข์มีสังขาร  เป็นต้น  พร้อมทั้งเหตุมีอวิชชา  เป็นต้น
              ครั้นมัชฌิมยามทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาทอย่างเดียวกันนั้น  แล้วทรงเปล่งอุทานว่า  เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏชัดแก่พราหมณ์ผู้เพียรเพ่งอยู่  เมื่อนั้นความสงสัยของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป  เพราะเขาได้รู้แจ้งความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย
              ครั้นปัจฉิมยาม  ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาทอย่างเดียวกันนั้น  แล้วทรงเปล่งอุทานว่า  เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้เพียรเพ่งอยู่  พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมารพร้อมทั้งเสนาเสียได้  สถิตย์อยู่ในโลกด้วยปรีชาอันชัชวาล  เหมือนพระอาทิตย์ทำท้องฟ้าให้สว่างไสว  ฉะนั้น
                  จากต้นอัสสัตถพฤกษ์ได้เสด็จไปประทับโคนต้นอชปาลนิโครธ    วัน    ที่นั้นทรงปรารภพราหมณ์ผู้มักตวาดคนอื่นว่า  หึ  หึ  แล้วทรงเปล่งอุทานว่า  ผู้ใดมีบาปธรรมอันลอยเสียแล้วไม่ตวาดใครด้วยคำหยาบ  ไม่มีกิเลสย้อมใจ  สำรวมตน  ถึงที่สุดแห่งเวท  (ปุพเพนิวาสานุสติญาณ  จุตูปปาตญาณ  อาสวักขยญาณ)  ผู้นั้นจึงควรกล่าวว่าตนเป็นพราหมณ์โดยธรรม
                  จากโคนต้นอชปาลนิโครธ  ได้เสด็จไปยังต้นมุจจลินท์  ประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข    วัน  ทรงเปล่งอุทานว่า  ความสงัดเป็นเหตุนำมาซึ่งความสุข  สำหรับบุคคลผู้สันโดษ  ผู้ได้สดับและเห็นธรรม  ความไม่เบียดเบียน  คือ  ความสำรวมระวังในสัตว์ทั้งหลาย  เป็นความสุขในโลก  ความสิ้นราคะ  คือ  ความก้าวล่วงกามทั้งหลาย  เป็นความสุขในโลก  การกำจัดอัชมิมานะเสียได้เป็นความสุขอย่างยิ่ง
                  จากต้นมุจจลินท์ได้เสด็จไปยังต้นราชายตนะ  (ไม้เกต)  ประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข    วัน   ที่นั้น  พาณิช    คนพี่น้องชื่อ  ตปุสสะ    ภัลลิกะ    เดินทางไปจากอุกกลชนบท  ได้นำสัตตุผง  สัตตุก้อน  เข้าไปถวาย  แต่เป็นธรรมเนียมว่าพระพุทธเจ้าไม่ทรงรับอาหารบิณฑบาตด้วยพระหัตถ์  และบาตรของพระองค์ก็ไม่มี  ท้าวจาตุมมหาราชจึงนำบาตรศิลามาถวาย  ทรงรับสัตตุผง  สัตตุก้อน  ของพาณิชทั้ง    ด้วยบาตรนั้น  เสร็จแล้วทั้ง    ได้แสดงตนเป็นอุบาสก  ถึงรัตนะ   คือ  พระพุทธเจ้าและพระธรรมว่าเป็นสรณะ  เป็นอุบาสกคนแรกในพระพุทธศาสนา  เรียกว่า  เทฺววาจิกอุบาสก
                  จากต้นราชยตนะนั้น  ได้เสด็จกลับไปยังต้นอชปาลนิโครธอีก    ที่นั้น  ทรงดำริถึงธรรมที่ทรงตรัสรู้ว่า  เป็นของลึกซึ้ง  ยากที่ผู้ยินดีในกามคุณจะรู้ตามได้  แต่ในที่สุดทรงเห็นด้วยพุทธจักษุ  คือ  อินทริยปโรปริยัตตญาณ  ปรีชาหยั่งรู้อินทรีย์  (สัทธา  วิริยะ   สติ  สมาธิ  ปัญญา)  แห่งสัตว์ทั้งหลายและอาสยานุสยญาน  ปรีชาหยั่งรู้อัธยาศัยและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลายว่า  คนในโลกมี    จำพวก  คือ  .  อุคฆติตัญญู  ผู้รู้ผู้เข้าใจได้เร็ว  เปรียบเหมือนดอกบัวที่โผล่พ้นน้ำ  พอได้สัมผัสแสงพระอาทิตย์ก็จะบานได้ทันที  .  วิปจิตัญญู  บุคคลผู้ที่ต้องอธิบายเล็กน้อยจึงเข้าใจ  เปรียบเหมือนดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ำคอยเวลาพ้นจากน้ำนิดหน่อยจึงจะบาน  .  เนยยะ  บุคคลผู้ต้องอาศัยกัลยาณมิตรและการสดับตรับฟังพากเพียรพยายามฝึกฝน จึงเข้าใจเปรียบเหมือนดอกบัวที่ยังอยู่ภายใต้น้ำ  ที่ต้องคอยดูแลรักษาแล้วสามารถบานในวันต่อไป  .  ปทปรมะ  บุคคลผู้ยากที่จะให้เข้าใจ  เพราะประกอบด้วยอันตรายิกธรรม  คือ  วิบาก  กรรม  และกิเลส  เปรียบเหมือนดอกบัว  (๓  ชนิดนั้น)  แต่ได้รับอันตรายจากเต่าและปลา  เป็นต้น  เสียก่อน  จึงไม่มีโอกาสบาน
                  เมื่อทรงเห็นว่า  บุคคลผู้ที่จะตรัสรู้ธรรมมีมากกว่า  จึงตัดสินพระทัยแสดง  พระธรรมเทศนาโปรดเวไนยสัตว์  เรียกว่า  ทรงทำธรรมเทศนาธิษฐาน
                  เมื่อทรงทำธรรมเทศนาธิษฐานแล้วทรงตั้งพระทัยว่า  บริษัท   คือ  ภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก  และอุบาสิกา  ยังไม่มีครบถ้วน  และพรหมจรรย์คือพระธรรมวินัย  ยังไม่กว้างขวางเพียงไร  ในระหว่างนี้พระองค์จะยังไม่ปรินิพพาน  เรียกว่า  ทรงทำอายุสังขาราธิษฐาน

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘