เมื่ออนาคตไล่ล่าคุณ

 As The Future Catches You 
:  How Genomics & Other Forces are Changing Your Life, Work, Health & Wealth

By    Juan  Enriquez  (ปี  2001   :  260  หน้า)


บทสรุปย่อ

            หนังสือเล่มนี้ ผู้แต่งต้องการชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการของเทคโนโลยี 3 อย่างที่กำลังครอบงำโลกนี้อยู่ และ       หลายคนก็ยังไม่รู้ตัว คือ Digital Technology, Genomics และ Nano Technology  และสิ่งที่น่าตกใจมากขึ้นไปอีกก็คือเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถมี Convergence ซึ่งกันและกันได้แล้ว  จึงสามารถส่งพลังมหาศาลต่อการเปลี่ยนแปลงของการดำรงชีวิตอยู่ของมนุษย์ในทศวรรษอันใกล้นี้ รวมทั้งจะส่งผลต่อธุรกิจต่างๆ เป็นอย่างมาก

            ผู้ที่เสียเปรียบอันเนื่องมาจาก Technology Illiterate ก็จะยิ่งยากจนลง  ผู้ที่มี Technology Literacy สามารถเข้าใจ Digital Code (0-1-0-1) และ Genetics Code (A-T-C-G) ก็จะสามารถสรรสร้างสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมใหม่ออกมาได้เรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์   ทีวี  รถยนต์  อาหารการกิน  ยารักษาโรค  และชิ้นส่วนอวัยวะมนุษย์ เป็นต้น

            ดังนั้นดดปัจจัยที่จะมีผลต่อความมั่นคงและความมั่งคั่งของประเทศจึงมีมากกว่าเรื่องของการศึกษา  ประชาธิปไตย  ความสามารถในการแข่งขัน  การเปิดโอกาสทางเศรษฐกิจให้ผู้คน แต่ยังประกอบด้วย "เทคโนโลยี"    อีกด้วย

หมายเหตุ       :     ผู้ที่สนใจเฉพาะเรื่องการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี สามารถเลือกอ่านเฉพาะหน้า
                                ที่มีเครื่องหมาย ** กำกับข้างหมายเลขหน้าเท่านั้นได้ (10 หน้า)


**
 
 
 
            Mixing Apples, Orange and Floppy Disks


              Digital Code  ซึ่งประกอบไปด้วย Code 0-1-0-1 …  แต่สามารถสร้างสรรข้อมูล  ข่าวสาร  และสิ่งต่างๆ บนโลกนี้ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์, Computer, TV, Music และทำให้ประเทศเล็กๆ เช่น ไต้หวัน, ฟินแลนด์, สิงคโปร์ ร่ำรวยอย่างมหาศาล เป็นเพราะประเทศเหล่านี้เข้าใจ "Change" และมี "Technology Literacy" ในระดับสูง

              ในปี  1995  มนุษย์สามารถถอดรหัสภาษาของ Genetic Code ซึ่งมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรีย, แมลง, พืช, สัตว์ และมนุษย์  โดย Genetic Code นี้  จะประกอบด้วยตัวอักษรใหญ่ 4 ตัว   คือ A-T-C-G เหมือนโครงสร้างภาษาของ Digital Code
                        
              ดังนั้น ในอนาคตอันใกล้ ผู้ที่เข้าใจ Genetic Literacy ( Code : A-T-C-G ) และสามารถใช้ประโยชน์จากการคิดค้น Code เหล่านี้ได้เหมือน Digital Code ( 0-1-1-0-0-1-1… ) อาจสามารถสรรสร้างสิ่งต่างๆ ได้อย่างมหาศาล
"If you change this code, just as if you change the code in floppy disk or on a CD, you change the message, the product and the outcome."

              ตัวอย่างการรักษาโรคในปัจจุบันซึ่งเป็น Treatment แบบ "Emergency Prevention" ก็จะเปลี่ยน         ไปสู่แบบ "Deliberate and Personalized Prevention"  เหมือนการรักษาฟัน  (ที่เน้นในเรื่องป้องกัน เช่น การขูด   หินปูน, การอุดฟันรักษารากฟัน หรือเคลือบฟลูออไรด์ เป็นต้น) โดยการปรับจาก Genetic Code นี้ ยารักษาโรค   ก็จะไม่ใช่แบบ "ต้องกิน ต้องฉีด"  แต่จะเป็นแบบผสมในอาหาร  น้ำดื่ม  เครื่องสำอาง หรือกระทั่งสบู่ที่ใช้อาบน้ำ    ในชีวิตประจำวัน

              จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจเลย หากวันนี้ P&G กำลังคิดที่จะ Merge รวมกับบริษัทยายักษ์ใหญ่ หรือ     บริษัท L'oreal  ซึ่งมีการจ้าง "Molecular Biologist" เข้าทำงานมากขึ้น  และบริษัทอย่าง  Mosanto, Dupont,  Novartis, IBM,  Hoechst,  Compaq,  GlaxoSmithKline  ซึ่งมี  Core Business  แตกต่างกัน  จึงกำลังคิดเรื่อง  Partnering … Merging ... Growing

              วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2001  มนุษย์ประสบผลสำเร็จในการค้นพบ "แผนที่พันธุกรรมของมนุษย์" ซึ่งจะ     มีผลทำให้พัฒนาการบนโลกนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากทีเดียว แผนที่พันธุกรรมนี้จะประกอบไปด้วย Code ต่างๆ คือ  A-T-C-G  ซึ่งก็เป็น  Genetic Code  เช่นกัน

ดังนั้น  แผนที่ที่ทุกคนสนใจในขณะนี้จึงไม่ใช่ World Map (ซึ่งประกอบไปด้วยทวีป  แม่น้ำ  ทะเล  ภูเขา หรือเมืองต่างๆ)  แต่เป็น Genetic Map 

"These map are changing the way we look at all life  because they provide blueprint crucial to almost every business."

              วันที่ 31 มกราคม 2001 รัฐบาลอังกฤษได้ออกกฎหมายรับรองการ Cloning ชิ้นส่วนตัวอ่อนของ    มนุษย์แล้ว
Lack of technology literacy is one of the reason of the gap between the richest and the poorest countries in the world which is growing so quickly …Why there is a  390 : 1 gap.


            The  390 : 1 Gap



ประเทศที่เคยยิ่งใหญ่หลายประเทศในอดีตกาล  บัดนี้ได้ล่มสลายไป หรือไม่ก็ไม่สามารถดำรงคงอยู่ได้อย่างยิ่งใหญ่อีกแล้ว เช่น

คศ. 1200  ขอม (หรือ เขมรปัจจุบัน) ถือเป็นประเทศที่มั่งคั่ง ร่ำรวยประเทศหนึ่งของโลก เช่น นครวัด
คศ. 1500 เปรู และเม็กซิโก เหนือกว่ายุโรปมาก
คศ. 1600  Switzerland of the Middle East คือ เลบานอน และ  Switzerland of Africa คือ ยูกันดา
แต่ด้วยสงครามเผ่าพันธุ์ และการเมืองภายในกันเอง และละเลยเรื่องของ "การพัฒนาเทคโนโลยี" ประเทศ หรืออาณาจักรเหล่านี้หลายแห่งก็สูญสลายไป หรือไม่วันนี้ก็ยากจนมาก
หรืออย่างในปี 1840 โลกเพิ่งเริ่มต้นยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม  ประเทศจีน และอินเดียครองสัดส่วนการค้าทั้งโลกนี้ถึง 40% โดยสินค้าหลัก คือ ผ้าไหม  เพชรพลอย  และมรกต
แต่ในขณะเดียวกันฟากฝั่งยุโรปและอเมริกา เริ่มต้นการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยการ "Industrialize and Standardize"  ซึ่งจีนและอินเดียไม่ได้ทำ สัดส่วนการครองการค้าโลกของประเทศทั้งสองจึงเหลือเพียง 3.4%

คศ. 1800    คิวบา และอาร์เจนติน่า ร่ำรวยกว่าอเมริกา แต่อเมริกามุ่งมั่นเรื่องการให้การศึกษาผู้คน      สร้างโครงสร้างพื้นฐาน สะสมทุน รับเอาเทคโนโลยีมาใช้ในภาคการเกษตรและสิ่งทอ  อเมริกาจึงแซงหน้าประเทศเหล่านี้

คศ. 1860    สินค้าญี่ปุ่นเป็นสัญลักษณ์ของ Bad Quality แต่ปัจจุบันเป็น World Class Quality และผลิตสินค้าขายมากเป็น 5 เท่าของทวีปอเมริกาใต้ทั้งทวีป

              ปัจจุบัน Gap ระหว่างประเทศร่ำรวย กับประเทศยากจน จึงไม่ใช่  5 : 1  แต่เป็น 390 : 1  และจะยิ่งมากขึ้นด้วย "IT and Genetic Revolution"  และในไม่ช้า Gap นี้อาจเป็นถึงมากกว่า 1,000 :  1  เท่าก็ได้


**
 
            The  New  Rich  and  The  New  Poor


ความแตกต่างในเรื่องของ "การศึกษา" โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ "Scientific Literacy" นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเรื่องของความมั่งคั่ง

เมื่อ 50 ปีที่แล้ว เม็กซิโก ผลิตสินค้าได้เป็น 2 เท่าของไต้หวัน  แต่ในปี 1974 ไต้หวันทุ่มเทให้กับเรื่องของการศึกษามาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านวิทยาศาสตร์ในระดับมหาวิทยาลัย จึงก่อให้เกิดการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม  ขึ้นมาทั้งในเรื่องของ Computer และ Chip และวันนี้ไต้หวันผลิตสินค้าได้เป็น 4 เท่าของเม็กซิโก เป็นผลให้ Hourly Wage สูงกว่า Maxico กว่า 2 เท่า




              World Economy ทุกวันนี้เปลี่ยนไปจากเดิมจากภาคการเกษตรมุ่งสู่ภาคบริการมากขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะของ Knowledge Economy
 
     "The knowledge component become more important, and manual worker labour has less valuable."
"Today, a kid with a smart idea, a couple of friends, and some luck can made a lot of money very quickly."
(เช่น Jeff Bozos ผู้สร้าง amazon.com )

 
Empire of The mind

 
              เหตุที่เป็นเช่นนี้  เนื่องจากนักพัฒนาในประเทศใหญ่ ที่มีทรัพยากรธรรมชาติมาก  มี "ตรรกะความคิด" ที่มุ่ง
แต่จะนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้อย่างไร  ->  แล้วสะสมทุน  ->   ให้การศึกษาแก่ประชากร     ซึ่งเป็น Logic ที่ผิด 
ในยุค Global Economy เราควรมุ่งให้การศึกษาแก่ประชากรมากกว่า -> การมุ่งจะใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร 

Data  Drives  Empires


                  
            ตัวอักษรแบบ Letter Alphabet สามารถทำให้มนุษย์สื่อสารกันได้ แต่ Digital Alphabet (0-1-0-1) ทำให้มนุษย์สื่อสารกันได้มากขึ้น และสามารถแปลงรหัสเพื่อส่งผ่านสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น เช่น เพลง รูปภาพ หนัง และสิ่งเสมือนต่างๆ (Virtual Realities) ทำให้การสื่อสารต่างๆ เป็นไปได้เร็วมากกว่าในอดีตเป็นล้านเท่า

            ดังนั้น  เราจึงได้เห็นพลังอำนาจของ Digital Alphabet ที่ทำให้ AOL สามารถทำ M&A กับบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Time & Warner และ CNN ได้

            Genetics . . .  The Next Dominant Language


            ภาษาที่จะครองโลกต่อไปในอนาคต คือ Genetic Language (A-T-C-G) ซึ่งมีพัฒนาการเริ่มมาตั้งแต่ปี       ทศวรรษ 1850 ที่ Gregor Mendel ได้คิดค้นทดลองผสมพันธุ์เกสรต้นถั่ว และพบว่าในพันธุ์ต้นถั่วนั้นจะมียีนส์ที่ Dominate และถ่ายทอดไปยังต้นถั่วในรุ่นถัดไปได้

            ในทางการแพทย์ก็มีการค้นพบเช่นกันว่าโรคบางโรคสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้เช่นกัน แม้แต่ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ก็เชื่อในเรื่องนี้ (Eugenics) โดยเชื่อว่าชนผ่าอารยันดีที่สุด และต้องฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวให้หมดไปจากโลกนี้

            ความรู้ในเรื่อง Genetics นี้ ได้ช่วยให้มนุษย์ไม่อดตายด้วยเช่นกัน โดยหากการเกษตรไม่มีพัฒนาการเรื่อง  การตัดเติม/ต่อแต่งพันธุ์พืชแล้วอาหารคงไม่พอเลี้ยงพลโลกเป็นแน่ หากยังผลิตได้เท่าเดิม (ปี 1800 พลโลกมี 1,000 ล้านคน, 1927 มี 2,000 ล้านคน และปี 1999 มี 6,000 ล้านคน . . . มากขึ้นเรื่อยๆ เป็นทวีคูณ)

            Genetics นี้ มีได้ในธรรมชาติตลอดเวลาเพียงแต่เราไม่ได้สังเกตุ เช่น ดอกไม้  ผลไม้  ก็มีการกลายพันธุ์     (Mutation) รวมทั้งสุนัขที่เราเลี้ยงอยู่ทุกวันนี้ในอดีตก็คือหมาป่านั่นเอง  รวมถึงโรคภัยต่างๆ ต่างก็มีพัฒนาการของมันอย่างไม่หยุดนิ่งเช่นกัน

            จนในปี 1953 นักวิทยาศาสตร์ 2 ท่าน คือ Jame Watson และ Francis Crick ก็ได้ ค้นพบ DNA ที่เป็นตัว    ถ่ายทอดคุณลักษณะ/พันธุกรรมต่างๆ จากบรรพบุรุษสู่คนรุ่นปัจจุบัน  โดยนี้มีได้ในสัตว์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นหนอน  ปลา  นก  แมลง  และมนุษย์เอง DNA

            ในที่สุดปี 2000 มนุษย์ก็ได้ค้นพบ "แผนที่พันธุกรรม" ซึ่งประกอบไปด้วย DNA ของมนุษย์ และสามารถ     อ่าน Code นั้นออกมาได้ทั้งหมดแล้ว ภายใต้  "Code  A-T-C-G"




**
 
            โครงสร้างโมเลกุลของ DNA มีลักษณะคล้ายขั้นบันได โดยรอบๆ จะประกอบด้วยน้ำตาลและฟอสเฟต และมีองค์ประกอบ 4 ตัว (A-T-C-G) ในการก่อรูปโครงสร้าง DNA นี้ขึ้นมา ดังนี้

 ประเด็นที่น่าสนใจ คือ  Digital Alphabet  01100011011101011  สามารถแปลงเป็นภาษาและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย  ดังนั้น หากนักวิทยาศาสตร์ค้นพบ "การเลือกและสลับ" ตัวอักษร A-T-C-G ได้ ก็สามารถปรับใช้เป็นประโยชน์ได้อย่างมหาศาลเช่นกัน

            ลองจินตนาการถึงกลอนที่เชคสเปียร์แต่ง  ซึ่งมนุษย์ทุกคนต่างก็รู้ถึงจำนวนอักษรและคำในภาษาอังกฤษ   เท่ากัน แต่เช็คสเปียร์สามารถร้อยเรียงกลอน และบทประพันธ์ได้ไพเราะมากกว่าใคร  Genetics Language ก็เช่นกัน  ทุกคนรู้ตัวอักษร A-T-C-G  เหมือนกันกับ Digital Code แต่หากใครสามารถเลือกตัวอักษรและร้อยเรียงได้อย่าง    เหมาะสมเขาก็อาจประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ ได้อย่างมหาศาล และสร้างความร่ำรวยได้อย่างรวดเร็ว

            Genetics is a Hockey Stick


            พัฒนาการต่อเนื่องจากการค้นพบ DNA ได้นำไปสู่การจดลิขสิทธิ์ต่างๆ ในเรื่องของ Genetics จนในปี 1996 มีการขอจดลิขสิทธิ์ด้าน Genetics ต่างๆ ถึง 500,000 ชนิด  จากเพียง 4,000 ชนิด ในปี 1991  รวมทั้งมีการจดลิขสิทธิ์สัตว์ที่ผ่านการตกแต่ง Gene กว่า 100 ชนิดแล้ว

            ยิ่งเมื่อ Digital Language ถูกผูกโยงเข้ากับ Genetics Language ทำให้ในวันนี้นักวิทยาศาสตร์ด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเภสัชกร  นักการพลังงาน  เครื่องสำอาง  เกษตรอุตสาหกรรมต่างๆ ก็สามารถมีข้อมูลมากมายมหาศาลที่จะนำไปสู่การคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ได้อีกมากมาย  และพวกนักวิทยาศาสตร์เหล่านี้ต่างก็เดินทางมุ่งสู่รัฐ/เมืองต่างๆ เหล่านี้ เช่น Maryland,  Boston,  Sanfrancisco และ Sandiego ซึ่งเป็นแหล่งชุมนุมของนักวิทยาศาสตร์ด้าน Genetics ของโลกไปแล้ว

            ดังนั้น การผสมผสานระหว่าง Digital + Genetics Convergence  และมีการ Interchangeable กัน  จึงมีพลังมหาศาลและสามารถปรับประยุกต์สิ่งต่างๆ ได้บนฐานของ DNA ที่ค้นพบในปี 1953 ได้
            (ในเชิงเปรียบเทียบ  การที่เราได้ใช้แผนที่โลกในการค้นหาและสืบค้นสิ่งต่างๆ ได้มากมาย  การค้นพบแผนที่พันธุกรรมของมนุษย์ก็สามารถทำให้มนุษย์ค้นพบสิ่งประดิษฐ์/นวัตกรรมใหม่ๆ ได้เช่นกัน)

**
 
 
 
            The Most Powerful Information System



ปี 1990         แชมป์โลกหมากรุก Garry Kasparov เอาชนะคอมพิวเตอร์ของ IBM (ชื่อ Deep Thought) ได้  แต่ใน     ที่สุดเขาก็ต้องกลับมาพ่ายแพ้แก่คอมพิวเตอร์ของ IBM ที่ชื่อ Big Blue ในปี 1997  ซึ่งเป็นการพบกันเป็นครั้งที่ 3 จนได้  และทุกวันนี้ก็ยังไม่มีมนุษย์คนไหนเอาชนะคอมพิวเตอร์ในเกมหมากรุกได้

ปี 2010         เป็นปีที่ IBM เชื่อว่าคอมพิวเตอร์จะสามารถประมวลผลได้เทียบเท่าสมองมนุษย์

            ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า Digital and Genetics Revolution สามารถทำให้สมองของมนุษย์ทำงานได้เร็วมากยิ่งขึ้นไปอีกเป็นล้านๆ เท่า  เนื่องจาก Biology ทุกวันนี้ถูกผสมผสานด้วย Applied Math, Statistics, Computer Science and Robotics และจะกลายเป็น "Bioinformatics and Biocomputing" ในที่สุด

            Craig Venture และทีมงานแห่งสถาบัน The Institute for Genomic Research and Celera ก็เป็นผู้หนึ่ง      ที่กำลังมุ่งมั่นสนใจในเรื่องนี้โดยเฉพาะการผลิต Supercomputer ที่มีความเร็วเป็น Petabytes -> Exabytes -> Zettabytes  และ Yottabytes ในที่สุด  และนี่เป็นจุดเริ่มต้นของ Digital-Genomics Convergence เท่านั้น

            ขณะนี้มีความเป็นไปได้ที่ Silicon Chip สามารถผนวกเข้ากันกับ DNA ของมนุษย์ได้ และกลายเป็น Organics Memory Chips  ซึ่งในที่สุดแล้วก็จะสามารถบรรลุสู่แนวทางที่ IBM เคยตั้งความหวังไว้ คือ การผลิต Computer ที่ SMASH  :  Simple, Many, And Self-Healing  นั่นหมายความว่า ในกรณีที่เกิดความผิดปกติตัวคอมพิวเตอร์จะ      ต่อเข้ากับ Internet ด้วยตนเองแล้วแก้ไขความผิดปกติเองได้

            ในปัจจุบัน Celera ก็ส่งกำลังมุ่งวิจัยคอมพิวเตอร์ที่นอกเหนือจากการปรับผสมเข้ากับ "Genomics" แล้ว ยังมุ่งไปสู่การปรับเข้ากับสาร Protein เป็น "Proteomics" ต่อไปด้วย

            Gene Chips ในคอมพิวเตอร์ที่สามารถผลิตได้อาจพลิกโฉมเรื่องยาที่ใช้รักษาจากเดิมเป็นแบบ Treatment ก็จะเป็นในเชิง Preventive ดังนั้น ในชีวิตประจำวันของเราก็จะมีระบบป้องกันโรคต่างๆ ผ่านการกินอาหารผสม  การใช้สบู่อาบนี้  เครื่องสำอาง  หรือการกินยาเม็ดป้องกันเป็นกิจวัตรแทนที่การรักษาเมื่อเกิดโรคไปเลย


**
 

            Nano  World


            Nano Technology เป็นเทคนิคในการผลิตชิ้นส่วนขนาดเล็กมากขนาด 1/1,000 เมตร (Nano Scale) ดังนั้น มนุษย์จึงสามารถพิมพ์ Encyclopedia Britanica ทั้งเล่มได้ เพียงเท่า "หัวเข็มหมุด"  และวันนี้ญี่ปุ่นสามารถสร้างรถยนต์ที่มีกลไลเหมือนรถยนต์จริงในขนาดเท่า "เมล็ดข้าว" ได้แล้ว

            ในเดือนพฤศจิกายน 2000  นักวิทยาศาสตร์แห่ง Cornell U. สามารถสร้าง Nanosubs ซึ่งมีขนาดเท่าไวรัส   เท่านั้น  ซึ่งในไม่ช้าอาจสามารถสร้าง Nanonurse ที่สามารถค้นหาเซลล์ที่ก่อให้เกิดโรคในร่างกายเราได้ และรักษาให้โดยถ่ายอณูของยาใส่ให้เลย

            ดังนั้น  The 4 Revolutions ซึ่งประกอบไปด้วย Genomics, Proteomics, Biocomputing และ Nano Tech จึงสามารถก่อให้เกิดนวัตกรรม/สิ่งประดิษฐ์ได้มากมายในยุคของ Knowledge Economy นี้
 
            ตัวอย่างในปี 2000  Eduardo Kac ได้นำเสนอกระต่ายขาวที่ชื่อ Alba ซึ่งมีคุณสมบัติเรืองแสงเป็นสีเขียวได้ในแสง Black Light เนื่องจากในตัวกระต่ายนี้มี DNA บางตัวที่ปลูกถ่ายมาจากของปลาดาวเรืองแสง Gene

            Revolution… in a few Zip Codes


            ในยุคสมัยของเทคโนโลยี  ไม่เพียงแต่เราคิดค้นความรู้ใหม่ แต่ต้องรู้จักปกป้องและประยุกต์ใช้มันด้วย  ดังนั้น "การจดลิขสิทธิ์"  หรือ  "สิทธิบัตร"  จึงเป็นสิ่งสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ หรือการสร้างนวัตกรรมต่างๆ

            จำนวนสิทธิบัตรที่มีอยู่ถือเป็นมาตรวัดอย่างหนึ่งในหลายๆ อย่างที่บ่งบอกถึงความสามารถในการแข่งขัน

            ในปี  1985/1998  เรียบเทียบการจดสิทธิบัตรในสหรัฐอเมริการะหว่าง 2 ประเทศคือ เม็กซิโก กับ เกาหลีใต้


 

 ปี 1985                ปี 1998


 

เม็กซิโก                    35                        77
เกาหลีใต้                   50                    3,362

            ภายใต้การเน้นเรื่องการศึกษา และการสะสมความรู้ทำให้วันนี้เกาหลีใต้มี Real GDP สูงกว่าเม็กซิโกถึง 8 เท่า  ซึ่งอาจพิจารณาได้จากตัวเลขการพิมพ์หนังสือใหม่ของเม็กซิโกระหว่างปี 1990-1996  จากเดิม  21,500 เล่ม ลดเหลือเพียง  11,762 เล่มเท่านั้น




 What matters in modern economic is knowledge.


 
      One can get a sense of how knowledge-intensive an economy is by dividing  :


Value - Added Exports
 
                                                                  Commodity Exports
 
                If you do not export knowledge, you do not get rich



 
                         "Technology Accelerates Trends"

                         It took the telephone 35 years to get into 1/4 of US home
                        
TV  took                         20 Years
Radio                            22 Years
PCs                                16 Years
The Internet                    7 Years


**
 
 

            Technology is not kind . . .  It does not say 'Please'



            ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมามีการทำ M&A ระหว่างบริษัทในกลุ่ม Telecommunications, Internet, Software และ Finance ค่อนข้างมาก  นั่นเป็นผลจาก "Digital Revolution" แต่ก็มี M&A ของบริษัทในกลุ่ม Pharmaceuticals,  Chemicals และ Agribusiness ด้วยเช่นกัน  ซึ่ง M&A ในกลุ่มหลังนี้เป็นเรื่องของพลังการปรับประยุกต์ใช้ Genetics Code  ซึ่งเป็นพลังโอกาสที่ประมาทไม่ได้เลย

            ลองนึกถึง "เมล็ดพันธุ์"  ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ "Genetic Program" ในการแปรเปลี่ยนสสาร/พลังงานจากดิน   น้ำ  แสงอาทิตย์ให้เป็นไม้  ดอกไม้  และผลไม้จนได้  ดังนั้น ใครก็ตามที่มีความสามารถในการอ่านและเข้าใจ "Seed's Genetic Code"  ได้ ย่อมสามารถที่จะแปรเปลี่ยน "เมล็ดพันธุ์"  ให้มันเป็นอะไรก็ได้

            วันนี้เราจึงได้พบเห็นการปรับเปลี่ยนใน Agribusiness ซึ่งเป็นลักษณะของ "Plant Reprogramming"       อย่างมากมาย เช่น
              -    ปี  1999  Monsanto และ Dupont ขายเมล็ดถั่วเหลืองได้ถึง 40% ของทั้งหมดที่ผลิตในอเมริกา และเกือบ 80% ของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด
            -    Dow Chemical ผลิตข้าวโพดที่เป็นสสารแบบ biodegradableplastic
            -    Dupont ผลิตเส้นใย Polyester ได้คล้ายเส้นไหม
            -    กล้วยหอม และมะเขือเทศถูกปรับผสมให้สามารถมีส่วนผสมของวัคซีนที่กินแล้วป้องกันโรคต่างๆ ได้ด้วย เช่น อหิวาต์  โรคไวรัสตับอักเสบ
            -    ยารักษาโรคหัวใจล้มเหลวสกัดมาจากต้น Foxglove หรือแอสไพรินได้มาจากสารสกัดในต้นนุ่น เป็นต้น

            ในทางสัตวศาสตร์ก็มีการปรับเปลี่ยนยีนส์พันธุกรรมได้เช่น ลิง ชื่อ ANDi  (Inserted   DNA . . . spelled  backward)  ก็เป็นสิ่งที่ถูกปลูกถ่าย DNA ของมนุษย์ลงไป หรือการพยายามปลูกถ่ายเอนไซม์มนุษย์ใส่หมู เพื่อต้องการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะหมูเช่น หัวใจ  ตับ  ไต มาใส่คน

            ดังนั้น Knowledge-Driven Agribusiness จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ และประเทศที่ไม่สามารถตามติดเรื่องนี้ได้ทันจึงมีโอกาสที่จะจนลงไปเรื่อยๆ
 
                                                Technology is not kind . . .  It does not wait . . .  It does not say please
                                                It slams into existing system . . .
                                                And often destroys them . . .
                                                While creating a new system . . .
    
**
 
 
            Sleepless . . .  (and Angry) in Seattle


            การแข่งขันในโลกทุกวันนี้หากใครไม่มี "Market-Savvy" และ "Technology Literate" ก็ยากที่จะดำรงอยู่ในโลกทุนนิยมที่เต็มไปด้วยการแข่งขันนี้ได้ นั่นหมายความว่า "Best Brains" เป็นสิ่งที่สำคัญและหายาก รวมทั้ง Brain ดีๆ ของมนุษย์เพียงไม่กี่คนก็สามารถสร้าง Output ได้มากกว่ามนุษย์ในอีกหลายล้านคนในหลายร้อยประเทศได้




            แม้ว่าราคาหุ้นในตลาด NASDAQ  ของ Genmics Co. จะร่วงลงตามภาวะฟองสบู่แตกในอเมริกาเมื่อปี 2001 แต่มันก็อาจเป็นแค่ชั่วคราวก็ได้

            เพราะบริษัทเคมีภัณฑ์ใหญ่ๆ หลายแห่งต่างก็ยังกลัว Genomic Co. อยู่เพราะเทคโนโลยีพัฒนาไปได้เร็วมาก และจะประมาทไม่ได้  เนื่องจากมีตัวอย่างให้เห็นในอุตสาหกรรมทางด้าน Computer มากมายที่บริษัทเกิดขึ้นทีหลัง    แต่สามารถ Acquire หรือมีมูลค่ากิจการมากกว่าบริษัทใหญ่ที่เก่าแก่ และตั้งมาช้านานได้ เช่น

Microsoft, Intel VS. IBM
AOL VS. Time Warner
Yahoo, Amazon VS. The New York Times or Any other medias
eBay VS. Sears Roebuck



            So, the digital economy leverages brains fast.

            รวมทั้งแม้จะเกิดภาวะฟองสบู่ของ Internet แตก และ Market Cap. ของบริษัทเหล่านี้จะลดลงไปบ้าง แต่ IT Revolution  ก็ยังไม่ได้หยุดตามไปด้วยภายใต้ Speed ที่ไม่ได้ตกลง

              Countries . . . Business . . .  Governments
                That seek to protect . . . to maintain the status quo . . .
                Are bound to get poorer quickly . . .
                As technology flourishes in other regions.

            กลับมาที่ตัวเลขการจดทะเบียนสิทธิบัตรในสหรัฐอเมริกาของ Genomics ในปี 2000 มี  25,000 รายการ     เพิ่มขึ้นถึง  5%  จากปี 1999  เลยทีเดียว  ซึ่งมากกว่าธุรกิจทางด้านคอมพิวเตอร์ และ Internet เสียอีก  จนทำให้   สำนักงานจดทะเบียนสิทธิบัตร ต้องจ้างพนักงานตรวจสอบเพิ่มขึ้นถึง 80 คน เพื่อรองรับงานด้านนี้ นั่นแสดงถึงพัฒนาการของ Genomics นี้ไม่ได้ตกลง แต่กลับ Speed เร็วยิ่งขึ้น


            High Tech . . .  High Pay . . .  High Mobility


            ในสหรัฐอเมริกามีความแตกต่างของเงินเดือนอันเนื่องมาจากพื้นฐานการศึกษาโดยคนที่มีพื้นฐานมาทางด้าน High Tech จะได้รับเงินเดือนที่สูงกว่าอาชีพอื่นๆ (All Occupations) อย่างน้อย 2-3 เท่า



 
            ดังนั้นเรื่องของ Educational Disparities ทางด้าน Digital Divides และจึงเป็น Hot Topic ที่ควรให้ความสนใจอย่างยิ่ง (ตัวอย่างในประเทศเกาหลีใต้คนที่จบ High School แล้ว ต้องสอบ Standardized  Test และคนที่ได้คะแนนสูงๆ จะไม่มีสิทธิเลือกมหาวิทยาลัยเอง แต่จะถูกส่งเข้า Korea University และเด็กก็ยังไม่มีโอกาสเลือก Major คณะที่จะเรียน   เพราะ Major คณะที่จะเรียนก็จะขึ้นกับ Score Test ที่ได้   จึงพบว่านักศึกษาดีๆ จะไม่ค่อยได้เรียนทางด้าน Law มากนัก   นี่เองจึงเป็นสาเหตุให้ประเทศเกาหลีใต้วันนี้มีความเจริญก้าวหน้าและพัฒนา   ทางด้านเทคโนโลยีค่อนข้างมาก) Technology Illiteracy

            ความยากจนก็เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งของการศึกษาเพราะคนจนมีโอกาสในการศึกษาค่อนข้างน้อย เพราะต้องรีบออกมาทำงานหาเลี้ยงชีพ  ซึ่งหนีไม่พ้นงานประเภทต้องใช้แรงงาน และรายได้น้อยก็จะยิ่งจนลงไปอีก เช่น ประเทศอัฟริกาและลาตินอเมริกา

            และจากผลของการที่มีนักศึกษาไปเรียนต่อในอเมริกามากๆ ในขณะนี้ เมื่อเรียนจบแล้ว หลายคนก็จะใช้ชีวิตต่อในอเมริกา โดยอเมริกาจะจูงใจโดยออก Work Permit ประเภท H1-B high-tech work visa ให้ตามที่บริษัทเอกชนในอเมริกาเรียกร้อง

            ดังนั้น การรักษาความเป็นผู้นำทางด้าน Technology ของอเมริกาในวันนี้ส่วนหนึ่งจึงเป็นนโยบายในการ "Attracting extraordinary talent people from other countries"



            The Digital - Genomics Diaspora


            มนุษย์หลายพันล้านคนบนผืนโลกนี้ ไม่มีโอกาสเลือกในการดำรงชีวิตเท่าไรนัก เช่นคนในประเทศพม่านั้น    การจะมี PC แม้เพียงเครื่องเดียวก็ยังต้องขออนุญาติมิฉะนั้นติดคุก 15 ปี

            แต่อย่างไรก็ตามก็พอจะมีมนุษย์อีกหลายๆ คนที่สามารถสร้าง "ทางเลือกในการดำรงชีวิต" ได้ เช่น มีสัดส่วน  พลเมืองถึงเกือบ 10% ในยุโรปและอเมริกาเหนือที่เป็น Foreign-Born มาจากต่างถิ่น ซึ่งหลายคนอาจจะเป็นผู้อพยพ   ลี้ภัยแต่หลายคนก็เป็นประเภท "Best & Brightest" เช่นกัน

            โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกาคนประเภทหลังนี้ สามารถทำงานอยู่ได้ในประเทศโดยไม่ต้องมี Visa หรือคอยหนีพวก Immigration เนื่องจากใน Knowledge Economy, You can work at home
·          8%   ของพนักงานบริษัท Sun Microsystems ทำงานที่บ้านแบบ Part-time
·          1 คน จาก 3 คน ของชาวแคลิฟอร์เนีย ทำงาน 5-9 อย่างในเวลาเดียวกัน
·          รายได้ต่อปีของกลุ่ม Home-Only Teleworkers มากถึง $50k มากกว่ารายได้เฉลี่ยทั่วไปถึง 2 เท่า

            คนเหล่านี้ไม่สนใจว่ากำลังทำงานให้ใคร, ไม่สนใจว่าประเทศไหน และอยู่ใน Time-Zone อะไร (เมือง Bangalore ของอินเดียวันนี้เป็นเมืองผลิต Software เป็นอันดับสองของโลก)

            White-collar workers in other countries
                Are leaving their homelands . . .
                Physically or Virtually (via the internet)
                To work in places where they are treated better
                And . . . often . . . Those who leave . . .  are the most valuable.

Part of the answer is that . . .
Technology empowers individuals . . .
And makes it hard to prevent democracy . . .
Which in turn allow people to ask . . .
  
Do I really wish to remain a shareholder of this state?

So, Governments have far less leeway . . .
If they abuse their power . . .
If they ignore citizen-shareholders
They will tear apart the state.

·          Lee Kuan Yew ends his memoirs with "Will Signapore the independent city-state disappear?         The island will not, but the sovereign nation . . . could vanish."
·          อินเดียแม้จะเป็นประเทศประชาธิปไตยที่ใหญ่โต และมี Technical School ที่มีชื่อเสียงดีมากถึง 6 แห่ง แต่     นักศึกษาที่จบส่วนใหญ่ก็มักไม่ค่อยอยู่ทำงานในอินเดียเพราะรู้สึกติดขัดในจารีต และกฎระเบียบบางอย่างของประเทศ
·          ใน Silicon Valley ขณะนี้เต็มไปด้วย "ICs" (Not integrated circuits. . . Indian and China) ซึ่งเป็นระดับ Senior executive ถึง 1 ใน 4 ของบริษัท Hi-Tech ในนั้น

            ดังนั้น  วันนี้สหรัฐอเมริกาจึงยังมี Growth อยู่ส่วนหนึ่งก็เพราะคนต่างชาติเหล่านี้ที่มีพลังความรู้ทางด้าน      Hi-Tech (The Technologically literate have a global passport and their citizenship is now a market)

·          Education . . . Democracy . . . Technology. . . Competitiveness
. . . Individual economic opportunity . . .
All these overused . . . Seemingly trite words. . .
Have become matters of National Security.

·          Nations and Civilization do not prosper, or even survive very long if they can't provide the fundamental pillars of a Knowledge-Based Economy


**
 
Time Warp



            เทคโนโลยีทุกวันนี้สามารถจะ Cloning สิ่งมีชีวิตต่างๆ ได้ทุก Species แม้ว่าในบางประเทศและบางรัฐ        ในสหรัฐอเมริกาจะมีกฎหมายห้ามการ Cloning มนุษย์ก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงก็คือว่าในวันนี้นักวิทยาศาสตร์และบริษัท    เอกชนบางแห่งกำลังแข่งขันกันอย่างเอาเป็นเอาตายในการจะและ Rewrite พวก Genomes ประเภทต่างๆ อยู่ Decode

            อย่างไรก็ตาม เรื่องการต่อต้านการ Cloning มนุษย์จากกลุ่มเคร่งศาสนา หรือนักศีลธรรมต่างๆ ก็ไม่ใช่เรื่อง   น่าห่วงนัก เพราะเมื่อเทคโนโลยีและโลกเปลี่ยนไปความคิดของคนก็ต้องเปลี่ยนไปด้วย

            ในอดีต เมื่อตอนมีการประดิษฐ์ "เด็กหลอดแก้ว" คนแรกของโลกที่ชื่อ Louise Jay Brown เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 1978 ก็มีการต่อต้านกันมาก แต่มาในวันนี้ 3 ใน 4 ของชาวอเมริกันกลับยอมรับในเรื่องนี้กันแล้ว

            และโลกนี้ก็มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้งในเรื่อง Genomics โดยเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 1997 ได้มีการ Cloning ลูกแกะชื่อ Dolly Parton ขึ้น ใน Scotland จาก Adult cell ของแกะที่มีชีวิตอยู่ นั่นหมายความว่า               นักวิทยาศาสตร์สามารถที่จะสร้างร่าง Copy ของตัวเราเองจาก Adult Cell ของตัวเราเองได้เช่นกัน

            ปัจจุบันนี้ก็มีการพยายามปลูกถ่ายอวัยวะหมูบางส่วน เช่น หัวใจ  ตับ  ไต  มาเปลี่ยนถ่ายให้คนไข้ที่ต้องการเปลี่ยนอวัยวะ

            การค้นพบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในขณะนี้ที่เกี่ยวข้องกับ Genomics คือการค้นพบ "แผนที่พันธุกรรมของมนุษย์" เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2001 และเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก โดยค้นพบว่าร่างกายมนุษย์นี้ประกอบขึ้นด้วย Gene 26,588 ตัว และ Gene แต่ละกลุ่มต่างก็มีหน้าที่แตกต่างกันไปในร่างกายมนุษย์ และนี่เป็นจุดเริ่มต้นในการที่นักวิทยาศาสตร์จะหา Gene ทดแทน Gene ของมนุษย์ จากสิ่งมีชีวิต Species อื่นๆ ด้วย  เนื่องจากมีบาง Basic cell ที่เหมือนกันอยู่

            แผนที่พันธุกรรม (Gene Map) นี้จะสามารถเปิดโลกทัศน์ใหม่ทางเทคโนโลยีได้มาก  แม้แต่ Sam Broader หนึ่งในสมองชั้นเลิศของโลก เป็นนักวิจัยด้าน Aids และอดีตเคยเป็นหัวหน้าสถาบัน National Cancer Institute ก็ยัง  หันมารับตำแหน่ง Celera's Chief Medical Officer  แห่งสถาบัน Celera ซึ่งสนใจเรื่องนี้อยู่  โดยมุ่งหวังที่จะค้นหายีนส์ที่จะก่อให้เกิดมะเร็งได้ก่อนล่วงหน้า และผลิตวัคซีนสกัดกั้น

            ยุคนี้จึงเป็นยุคของ "Digital-Genomics Era"  ซึ่งจะเป็นผลให้การค้นพบแผนที่พันธุกรรม (Gene Map) เมื่อ  วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2001 เป็นจุดแบ่งระหว่างศักราชของ "ก่อน กับ หลัง" การค้นพบแผนที่พันธุกรรมมนุษย์นี้






เกี่ยวกับผู้แต่งหนังสือ


            Juan Enriquez  ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง Director of the Life Sciences Project at Harvard Business School  โดยขณะนี้เขากำลังก่อตั้งสถาบัน  Interdisciplinary Centre อยู่  และสนใจศึกษาในเรื่องของ Life Science Revolution  จะมีผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไร

            เขาเคยเขียนบทความลง Harvard Business Review ชื่อ "Transforming Life, Transforming Business" และได้รับรางวัลบทความดีเด่นจาก Mckinsey Award ด้วย

            Juan Enriquez เป็นชาวเม็กซิโก และเคยเป็น CEO of Mexico City's Urban Development Corporation เขาเป็นผู้หนึ่งที่มักจะออกมาวิพากษ์รัฐบาลเม็กซิโกในเรื่องการปฏิรูประบบการเมืองและเศรษฐกิจอยู่เสมอ

            Juan Eriquez ใช้เวลา 4 ปี ในการศึกษาวิจัย และได้รับการช่วยเหลือข้อมูล และผลการวิจัยจากเพื่อนใน Harvard University ค่อนข้างมาก  ก่อนจะเขียนเป็นหนังสือ  As The Future Catches You  เล่มนี้ขึ้นมา

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘