อนัตตลักขณสูตร กัณฑ์คำรบ ๕

ประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาแก่พระเบญจวัคคีย์
                  เมื่อท่านโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม   หมดความสงสัย  แน่ใจ  ไม่หวั่นไหว  ไม่ต้องเชื่อใครในคำสอนของพระศาสดา  จึงขอบรรพชาอุปสมบท  ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยพระวาจาว่า  จงเป็นภิกษุมาเถิด  ธรรมเรากล่าวไว้ดีแล้ว  จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด  วิธีนี้เรียกว่า  เอหิภิกขุอุปสัมปทา  ต่อจากนั้น  ทรงสั่งสอน   รูปที่เหลือด้วยปกิณกเทศนา  ท่านวัปปะ  และภัททิยะ  ได้ดวงตาเห็นธรรมทูลขอบวชพร้อมกัน  ต่อจากนั้น  มหานามะ  และอัสสชิ  ได้ดวงตาเห็นธรรมทูลขอบวชเป็นสุดท้าย  ทรงอนุญาตให้ทั้งหมดเป็นภิกษุด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา

                  เมื่อภิกษุเบญจวัคคีย์ดำรงอยู่ในเสขภูมิ  เป็นพระโสดาบันอริยบุคคลแล้ว  มีอินทรีย์แก่กล้าสมควรเจริญวิปัสสนาเพื่ออรหัตผล  จึงตรัสเรียกมารับพระธรรมเทศนา  อนัตตลักขณสูตร  โดยไวยากรณภาษิต  ใจความโดยย่อว่า
                  รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ  (ขันธ์  ๕)  เป็นอนัตตา  คือว่างเปล่าจากตัวตน  บังคับบัญชาไม่ได้  เพราะถ้าเป็นอัตตา  คือมีตัวตน  บังคับบัญชาได้  ก็ต้องได้ตามความปรารถนา  ว่าจงอย่าเจ็บไข้  จงเป็นอย่างนี้  คือเป็นอย่างที่เราต้องการ  จงอย่าเป็นอย่างนั้น  คือ  อย่าเป็นอะไรที่เราไม่ต้องการ
                  ทรงแสดงต่อไปว่า  รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ  ไม่เที่ยง  เป็นทุกข์   มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา  จึงไม่ควรเข้าใจว่า  นั่น  (ขันธ์  ๕)  เป็นของเรา  นั่น  (ขันธ์  ๕)  เป็นเรา  นั่น  (ขันธ์   ๕)  เป็นตัวตนของเรา
                  สุดท้ายทรงสอนเบญจวัคคีย์ให้เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ  ทั้งในอดีต  อนาคต  ปัจจุบัน  อันต่างโดยดีเลวเป็นต้นทุกชนิด   ล้วนแต่ไม่ใช่ของเรา  ไม่เป็นเรา  ไม่ใช่ตัวตนของเรา
                  เมื่อเบญจวัคคีย์เห็นด้วยปัญญาอันชอบ  ตามความเป็นจริงอย่างนี้  จึงเกิดความเบื่อหน่ายในรูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ  ครั้นเบื่อหน่ายจึงคลายกำหนัด  ได้บรรลุอรหัตมรรคปราศจากกิเลสเครื่องย้อมจิตทั้งหมด
                  ครั้งนั้น  มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก   องค์  คือ  พระสัมมาสัมพุทธเจ้า    เบญจวัคคีย์   ด้วยประการฉะนี้

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘