ธรรมจริยาและสมจริยา ทางวาจามี ๔ คือ

­­                    .  บุคคลในโลกนี้  เป็นผู้ละมุสาวาท  เว้นขาดจากมุสาวาท  ไปในสภาก็ดี  ในบริษัทก็ดี  ในท่ามกลางหมู่ญาติก็ดี  ในท่ามกลางเสนาก็ดี  ในท่ามกลางแห่งราชตระกูลก็ดี  ถูกอ้างเป็นพยาน  ซักถามว่า  แน่ะพ่อชาย  ท่านจงมา  ท่านรู้อย่างไร  จงเบิกอย่างนั้น  บุคคลนั้นเมื่อไม่รู้  ก็บอกว่า  ข้าพเจ้าไม่รู้  หรือรู้อยู่ก็บอกว่า  ข้าพเจ้ารู้  เมื่อไม่เห็นก็บอกว่า  ข้าพเจ้าไม่เห็น  หรือเห็นก็บอกว่า  ข้าพเจ้าเห็น  ย่อมไม่กล่าวเท็จทั้งที่รู้  เพราะเหตุแห่งตน  เพราะเหตุแห่งคนอื่น  หรือเพราะเหตุแห่งอามิสสินจ้าง
                    .  เป็นผู้ละคำส่อเสียด  เว้นขาดจากกล่าวส่อเสียด  ฟังข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น   เพื่อทำลายคนหมู่นี้  หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกคนหมู่นี้  เพื่อทำ
ลายคนหมู่โน้น  เป็นผู้สมานคนทั้งหลายที่แตกกันแล้ว  หรือสนับสนุนหมู่คนที่สามัคคีกันอยู่แล้ว  เป็นผู้มีความชื่นชมยินดีในหมู่คนผู้สามัคคีกัน  เป็นผู้กล่าววาจาที่ทำให้คนสามัคคีกัน
                    .  เป็นผู้ละคำหยาบ  เว้นขาดจากการกล่าวคำหยาบ  เป็นผู้กล่าววาจาไม่มีโทษ  เสนาะโสต  เป็นที่รักจับใจ  เป็นคำสุภาพ   เป็นที่ชอบใจ  พอใจของคนจำนวนมาก
                    .  เป็นผู้ละการกล่าวเพ้อเจ้อ  เว้นขาดจากการกล่าวเพ้อเจ้อ  พูดในเวลาที่ควรพูด  พูดคำจริง  พูดอิงอรรถ  อิงธรรม  อิงวินัย  มีหลักฐาน  มีที่อ้างอิง  ไม่พูดมาก   พูดแต่คำที่มีประโยชน์
                    ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย  ธรรมจริยาและสมจริยาทางวาจามี    อย่างนี้แล

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘