คำว่า กุศลกรรมบถ แปลได้ ๒ นัย

                    .  แปลว่า   ทางเกิดแห่งกุศลกรรมที่ส่งผลในปฏิสนธิกาลได้
                    .  แปลว่า              กุศลกรรมที่เป็นเหตุเกิดในสุคติภูมิ  และความสุขในสุคติภูมินั้น

                    กุศลกรรมบถ  ๑๐  ประการนี้  ทรงแสดงไว้ในพระสูตรมากมาย  เฉพาะใน  อังคุตตรนิกาย  มีอยู่หลายสูตร  มีชื่อเรียกต่าง ๆ  กันไป   ดังนี้

              ในสาธุสูตร           เรียกว่า           สาธุธรรม  (ธรรมดี)
              ในอริยธรรมสูตร     เรียกว่า           อริยธรรม  (ธรรมของอารยชน)
              ในกุศลสูตร           เรียกว่า           อรรถธรรม  (ธรรมที่ทำลายความชั่ว)
              ในอรรถสูตร                   เรียกว่า           อนาสวธรรม  (ธรรมที่ไม่มีกิเลส)
              ในวัชชสูตร           เรียกว่า           อนวัชชธรรม  (ธรรมที่ไม่มีโทษ)
              ในตปนียสูตร  เรียกว่า  อตปนียธรรม  (ธรรมที่สร้างความร่มเย็น)
              ในอาจยคามิสูตร  เรียกว่า อปจยคามิธรรม  (ธรรมที่ไม่ก่อให้เกิดความทุกข์)
                    ในสาเลยยกสูตร  ปัญจมวรรค  แห่งมูลปัณณาสก์  ทรงเรียกว่า  ธรรมจริยสมจริยา
                    ธรรมจริยา                        แปลว่า              การประพฤติที่เป็นธรรม
                    สมจริยา                แปลว่า              การประพฤติกรรมที่ถูกต้อง
                    ทรงแสดงผลดีที่พึงจะได้รับ  จากการประพฤติธรรมและการประพฤติกรรมที่ถูกต้องนี้ว่า  ใครปรารถนาอะไร  จะเป็นมนุษย์สมบัติ  สวรรค์สมบัติ  พรหมสมบัติ  มรรค  ผล  และนิพพาน  ล้วนสำเร็จสมประสงค์ทั้งสิ้น  ดังข้อความในสาเลยยกสูตรว่า
                    ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย   สัตว์บางพวกในโลกนี้  หลังจากตายจากโลกนี้แล้ว  ย่อมบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์  เพราะเหตุแห่งธรรมจริยาและสมจริยา  ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย  ธรรมจริยาและสมจริยา  ทางกายมี    ทางวาจามี    ทางใจมี 

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘