วิธีเจริญวิปัสสนาตามนัยอรรถกถา

                ในอรรถกถาท่านแบ่งบุคคลผู้เจริญวิปัสสนาเป็น    ประเภท  คือ
                ๑.   สมถยานิก    ผู้เจริญวิปัสสนาที่ได้ฌานมาแล้ว
                ๒.   วิปัสสนายานิก           ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน ๆ  ไม่ได้ฌานมาก่อน
                  สมถยานิก  ใช้ฌานเป็นบาทในการเจริญวิปัสสนา  คือ  เข้าฌานออกฌานแล้วพิจารณาองค์ฌานทั้ง    คือ  วิตก  วิจาร  ปีติ  สุข  เอกัคคตาว่าเป็นของไม่เที่ยง  เป็นทุกข์     เป็นอนัตตา
              ส่วนวิปัสสนายานิกบุคคล  ต้องเจริญวิปัสสนาตามหลักวิสุทธิ    คือ  เริ่มแรกชำระศีลตามสมควรแก่ภาวะของตนให้บริสุทธิ์  ทำใจให้เป็นสมาธิ  ด้วยขณิกสมาธิ  หรืออุปจารสมาธิแล้วเจริญ  ทิฏฐิวิสุทธิ  ทำความเห็นให้บริสุทธิ์ว่า  ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้  กล่าวโดยย่อก็มีแต่รูปกับนามเท่านั้น  ละสัตตูปลัทธิความถือผิดว่าเป็นสัตว์  สัตตสัญญา  ความสำคัญผิดว่าเป็นสัตว์เสียให้ได้
                  ต่อจากนั้น  เจริญกังขาวิตรณวิสุทธิ  ทำลายความสงสัยเกี่ยวกับตนเองในกาลทั้ง       โดยกำหนดรู้เหตุและปัจจัยของนามรูปให้แจ้งชัดว่า
                        อวิชชา  ตัณหา  อุปาทาน  กรรม  อาหาร  เป็นเหตุเป็นปัจจัยของรูปธรรม
              อวิชชา  ตัณหา  อุปาทาน  กรรม  ผัสสะ  เป็นเหตุเป็นปัจจัยของนามธรรม  คือ  เวทนา  สัญญา  สังขาร
                  วิชชา  ตัณหา  อุปาทาน  กรรม  นามและรูป  เป็นเหตุเป็นปัจจัยของนามธรรม  คือ  วิญญาณ  (วิญญาณ  ๖)
                  เมื่อเข้าใจได้แน่ชัดเช่นนี้  ย่อมสาวไปถึงอดีตและอนาคตว่า  นามรูปในอดีตที่ผ่านมาก็ดี  ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตก็ดี  ก็ล้วนแต่เกิดเพราะเหตุและปัจจัยเหมือนกับนามรูปในปัจจุบันนี่เอง
                  ต่อจากนั้นพึงเจริญมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ  โดยกำหนดรู้ว่าความหลงปลื้มใจอยู่กับความรู้  ความสุข  ความสงบที่เกิดใหม่เป็นต้น  ไม่ใช่ทางแห่งมรรคผล  แล้วไม่หลงปลื้มอยู่กับสิ่งเหล่านั้นมากำหนดรู้นามรูปโดยความเป็นของไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  เป็นอนัตตา
                  ต่อจากนั้นพึงเจริญปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ  ยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาญาณทั้ง    มี    อุทยัพพยญาณ  เป็นต้น  มีสัจจานุโลมิกญาณเป็นที่สุด
            เมื่อวิปัสสนาจิตดำเนินไปถึงสัจจานุโลมิกญาณ  ญาณที่รู้เห็นตามวิปัสสนาญาณ       (อุทยัพพยญาณ  จนถึงสังขารุเปกขาญาณ)  แล้วโคตรภูญาณอันเป็นญาณสุดท้ายของความเป็นปุถุชนก็เกิดขึ้น  แต่ไม่ได้ทำหน้าที่กำหนดรู้รูปนามตามวิปัสสนาญาณทั้ง    จึงไม่นับเป็นปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ  และไม่นับเป็นญาณทัสสนวิสุทธิ  เพราะไม่ได้ทำหน้าที่ละกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหาน  แต่ถึงการนับว่า  วิปัสสนาเพราะตกอยู่ในกระแสของวิปัสสนา  ก็เกิดขึ้น  ต่อจากนั้น  ญาณทัสสนวิสุทธิ  คือมรรคจิต  อันทำกิจในอริยสัจ    คือ  กำหนดรู้ทุกข์  ละสมุทัย  ทำนิโรธ      (นิพพาน)  ให้แจ้ง  ทำมรรคให้เจริญก็เกิดขึ้น  ละกิเลสตามสมควรแก่มรรคนั้น ๆ  ได้เด็จขาดเป็นสมุจเฉทปหาน  ต่อจากนั้นผลจิตเกิดขึ้น    ครั้ง  หรือ    ครั้ง  ต่อจากนั้น  ปัจจเวกขณญาณ     ญาณพิจารณา  (๑)  (๒)  ผล  (๓)  กิเลสที่ละแล้ว  (๔)  กิเลสที่เหลืออยู่  (๕)  นิพพาน  นี้สำหรับพระโสดาบัน  พระสกทาคามี  พระอนาคามี  ส่วนพระอรหันต์  มีปัจจเวกขณญาณ    คือ     (๑)  พิจารณามรรค  (๒)  พิจารณาผล  (๓)  พิจารณากิเลสที่ละแล้ว  (๔)  พิจารณานิพพาน
                 การเจริญวิปัสสนาของผู้เป็นวิปัสสนายานิก  มีวิธีปฏิบัติตามลำดับโดยย่อดังกล่าวมานี้  ส่วนผู้ปรารถนาที่จะศึกษาความพิสดาร  พึงศึกษาจากหนังสือธรรมสมบัติ  หมวดที่    ๑๐

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตัวอย่างกระทู้ธรรม ธรรมศึกษาชั้นตรี 5

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันเสาร์ ที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘