ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นเอก สอบในสนามหลวง วันจันทร์ ที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๔

๑.
๑.๑
อปโลกนกรรมมีกี่อย่าง ?  อะไรบ้าง ?

๑.๒
สงฆ์ผู้ทำสังฆกรรม  มีกำหนดจำนวนไว้อย่างไร ?
๑.
๑.๑
มี    อย่างคือ
๑) นิสสารณา  นาสนะสามเณรผู้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า
๒) โอสารณา รับสามเณรผู้ถูกนาสนะแล้วกลับประพฤติเรียบร้อย ให้เข้าหมู่
         ๓) ภัณฑูกรรม บอกขออนุญาตปลงผมคนผู้จะบวชอันภิกษุจะทำเอง
         ๔) พรหมทัณฑ์  ประกาศไม่ว่ากล่าวภิกษุหัวดื้อว่ายาก
         ๕) กัมมลักขณะ  อปโลกน์แจกอาหารในโรงฉันเป็นต้น

๑.๒
มีกำหนดจำนวนไว้ดังนี้
         จตุวรรค  สงฆ์มีจำนวน    รูป
         ปัญจวรรค  สงฆ์มีจำนวน    รูป
         ทสวรรค  สงฆ์มีจำนวน  ๑๐  รูป
         วีสติวรรค  สงฆ์มีจำนวน  ๒๐  รูป
๒.
๒.๑
วัตถุที่ใช้เป็นนิมิตกำหนดเขตสีมามีกี่อย่าง ?  อะไรบ้าง ?

๒.๒
ปัจจุบันนิยมใช้วัตถุอะไรเป็นนิมิต ? และวัตถุที่จะใช้เป็นนิมิตนั้นได้มีกำหนดไว้อย่างไร ?
๒.
๒.๑
มี    อย่างคือ

         ๑) ภูเขา
         ๒) ศิลา       
         ๓) ป่าไม้               
         ๔) ต้นไม้
         ๕) จอมปลวก   
         ๖) หนทาง             
         ๗) แม่น้ำ              
         ๘) น้ำ

๒.๒
ใช้ศิลาเป็นนิมิต มีกำหนดไว้ดังนี้
         ๑) เป็นศิลาหินแท้  หินปนแร่  ใช้ได้ทั้งหมด
         ๒) เป็นศิลามีก้อนโตไม่ถึงตัวช้าง  ขนาดเท่าศีรษะโคหรือ
              กระบือเขื่อง ๆ
         ๓) เป็นศิลาแท่งเดียว
         ๔) อย่างเล็กขนาดเท่าก้อนน้ำอ้อยหนัก ๓๒ ปะละ ราว ๕ ชั่ง 
              ก็ใช้ได้
๓.
๓.๑
สมานสังวาสสีมา  และติจีวราวิปปวาสสีมา  ได้แก่สีมาเช่นไร ?

๓.๒
ในการถอน  และสมมติ  สีมาทั้ง  ๒ นี้  มีวิธีปฏิบัติก่อนหลังอย่างไร ?
๓.
๓.๑
สีมาที่ทรงพระอนุญาตให้สงฆ์สมมติเป็นแดนมีสังวาสเสมอกัน  ภิกษุ
ผู้อยู่ในเขตนี้มีสิทธิในอันจะเข้าอุโบสถ ปวารณา และสังฆกรรมร่วมกัน
เรียกว่าสมานสังวาสสีมา  สมานสังวาสสีมานี้  ทรงพระอนุญาต
ให้สมมติติจีวราวิปปวาส  ซ้ำลงได้อีก  เว้นบ้าน  และอุปจารบ้าน
อันตั้งอยู่ในสีมานั้น  เมื่อได้สมมติอย่างนี้แล้ว  แม้ภิกษุอยู่ห่างจาก
ไตรจีวรในสีมานั้น  ก็ไม่เป็นอันอยู่ปราศ  เรียกว่าติจีวราวิปปวาสสีมา


๓.๒
ในการถอน ให้ถอนติจีวราวิปปวาสสีมาก่อน ถอนสมานสังวาสสีมาภายหลังในการสมมติ  ให้สมมติสมานสังวาสสีมาก่อน สมมติติจีวราวิปปวาสสีมาภายหลัง
๔.
๔.๑
ภิกษุผู้ควรได้รับสมมติให้เป็นภัตตุทเทสกะ ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติเช่นไร ?

๔.๒
ภัตรที่ควรแจกเฉพาะมีกี่อย่าง ?  อะไรบ้าง ?
๔.
๔.๑
ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้คือ
         ๑) เว้นอคติ    คือฉันทาคติ  โทสาคติ  โมหาคติ  ภยาคติ
         ๒) รู้จักภัตรที่ควรแจกหรือมิควรแจก
         ๓) รู้จักลำดับที่พึงแจก

๔.๒
มี    อย่างคือ
         ๑) อาคันตุกภัตร  อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุอาคันตุกะ
         ๒) คมิยภัตร  อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุผู้จะไปอยู่ที่อื่น
         ๓) คิลานภัตร  อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุอาพาธ
         ๔) คิลานุปัฏฐากภัตร  อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุผู้พยาบาลไข้
            ๕) กุฏิภัตร  อาหารที่เขาถวายแก่ภิกษุผู้อยู่ในกุฏิที่เขาสร้าง
๕.
๕.๑
อภัพบุคคลในอุปสมบทกรรมได้แก่บุคคลเช่นไร ?  โดยวัตถุมีกี่อย่าง ?  อะไรบ้าง ?

๕.๒
ปัจฉิมกิจแห่งการอุปสมบทมีอะไรบ้าง ?  ตอบเพียง ๒ ข้อ
๕.
๕.๑
ได้แก่บุคคลที่ไม่สมควรแก่การอุปสมบท อุปสมบทไม่ขึ้น ถูกห้ามอุปสมบทตลอดชีวิต  โดยวัตถุมี    คือ
          ๑) พวกที่มีเพศบกพร่อง  ไม่รู้ว่าเป็นชายหรือเป็นหญิง
         ๒) พวกประพฤติผิดพระธรรมวินัย เช่น ฆ่าพระอรหันต์ เป็นต้น
         ๓) พวกประพฤติผิดต่อกำเนิดของตน  คือฆ่ามารดาบิดา

๕.๒
มี    ข้อ  (ตอบเพียง ๒ ข้อ) คือ
         ๑) วัดเงาแดดในทันที                    
         ๒) บอกประมาณแห่งฤดู
         ๓) บอกส่วนแห่งวัน                     
         ๔) บอกสังคีติ
         ๕) บอกนิสสัย                 
         ๖) บอกอกรณียกิจ 
๖.
๖.๑
วิวาทาธิกรณ์คืออะไร ?

๖.๒
วิวาทาธิกรณ์นั้น  ระงับด้วยอธิกรณสมถะกี่อย่าง ?  อะไรบ้าง ?
๖.
๖.๑
คืออธิกรณ์ที่เกิดจากการทะเลาะกัน โต้เถียงกัน โดยปรารภพระธรรมวินัย        

๖.๒
ด้วยอธิกรณสมถะ    อย่างคือ
         ๑) สัมมุขาวินัย 
         ๒) เยภุยยสิกา 
๗.
๗.๑
วุฏฐานวิธี  แปลว่าอะไร ?  ประกอบด้วยอะไรบ้าง ?

๗.๒
ในการทำวุฏฐานวิธีแต่ละอย่างนั้น  ต้องการสงฆ์จำนวนเท่าไร ?
๗.
๗.๑
แปลว่าระเบียบเป็นเครื่องออกจากอาบัติ ประกอบด้วย ปริวาส มานัต  ปฏิกัสสนา  และอัพภาน

๗.๒
การให้ปริวาส  ให้มานัต  และทำปฏิกัสสนาต้องการสงฆ์จตุวรรค 
การให้อัพภาน  ต้องการสงฆ์วีสติวรรค
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์  พ.ศ. ๒๕๐๕, (ฉบับที่ ๒)  พ.ศ. ๒๕๓๕
๘.
๘.๑
ตามมาตรา ๑๒  แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์  กำหนดองค์ประกอบของมหาเถรสมาคมไว้อย่างไร ?

๘.๒
มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่อย่างไร ?  ตอบเพียง ๒ ข้อ
๘.
๘.๑
กำหนดไว้ดังนี้
         สมเด็จพระสังฆราช ทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการโดยตำแหน่ง
         สมเด็จพระราชาคณะทุกรูป  เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง  และ
         พระราชาคณะซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้ง มีจำนวน
ไม่เกิน  ๑๒  รูป  เป็นกรรมการ

๘.๒
มีอำนาจหน้าที่อย่างนี้   (ตอบเพียง    ข้อ)    
         ๑) ปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปโดยเรียบร้อยดีงาม
         ๒) ปกครองและกำหนดการบรรพชาสามเณร
         ๓) ควบคุมและส่งเสริมการศาสนศึกษา  การศึกษาสงเคราะห์
             การสาธารณูปการ และการสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์
         ๔) รักษาหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา
         ๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือ
              กฎหมายอื่น
๙.
๙.๑
ตามมาตรา ๒๑  แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์  ให้จัดแบ่งเขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาคไว้อย่างไร ?

๙.๒
พระภิกษุจะต้องรับนิคหกรรมเมื่อทำผิดเช่นไร ? และได้รับนิคหกรรม
ให้สึก  ต้องสึกภายในเวลาเท่าไร ?
๙.
๙.๑
แบ่งดังนี้คือ   ๑) ภาค
             ๒) จังหวัด
             ๓) อำเภอ
             ๔) ตำบล
           ส่วนจำนวนและเขตปกครองดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม

๙.๒
เมื่อกระทำการล่วงละเมิดพระธรรมวินัย  และนิคหกรรมที่จะลงโทษ
แก่ภิกษุจะต้องเป็นนิคหกรรมตามพระธรรมวินัย
ต้องสึกภายใน ๒๔  ชั่วโมง  นับแต่เวลาที่ได้ทราบคำวินิจฉัยนั้น
๑๐.
๑๐.๑
พระภิกษุจะไม่สังกัดอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งเลยได้หรือไม่ อ้างมาตราประกอบด้วย ?

๑๐.๒
เจ้าพนักงาน ตามความในประมวลกฎหมายอาญา ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์  ได้แก่ใคร ?
๑๐.
๑๐.๑
ไม่ได้,  ตามมาตรา  ๒๗ (๓)  แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์  ๒๕๐๕, 
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕

๑๐.๒
ได้แก่พระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์  และไวยาวัจกร เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา (มาตรา  ๔๕)


โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘