อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท

                        ๔๙.   อปฺปมตฺตา  สตีมนฺโต               สุสีลา  โหถ  ภิกฺขโว
                                 สุสมาหิตสงฺกปฺปา                    สจิตฺตมนุรกฺขถ
                 ภิกษุทั้งหลาย  พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท  มีสติ  มีศีลดีงาม  ตั้งความดำริไว้ให้ดี      คอยรักษาจิตของตน
                          (พุทธ)                                    ที.  มหา.    ๑๐  / ๑๔๒.
                        ๕๐.   อปฺปมาทรตา  โหถ                   สจิตฺตมนุรกฺขถ
                                 ทุคฺคา  อุทฺธรถตฺตานํ                ปงฺเก  สนฺโนว  กุญฺชโร
                 ท่านทั้งหลาย  จงยินดีในความไม่ประมาท  คอยรักษาจิตของตน,  จงถอนตนขึ้นจากหล่ม  เหมือนช่างที่ตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น
                          ( พุทธ )                           ขุ.  ธ.   ๒๕  / ๕๘.

                        ๕๑.   อปฺปมาทรโต  ภิกขุ                  ปมาเท  ภยทสฺสิ  วา
                                 สญฺโญชนํ  อณุ  ถูลํ                ฑหํ  อคฺคีว  คจฺฉติ
                                 ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท  หรือเห็นภัยในความประมาท  ย่อมเผาสังโยชน์น้อยใหญ่ไป  เหมือนไฟไหม้เชื้อน้อยใหญ่ไปฉะนั้น
                          ( พุทธ )                           ขุ.  ธ.   ๒๕  / ๑๙.
                        ๕๒.   อปฺปมาทรโต  ภิกฺขุ                  ปมาเท  ภยทสฺสิ  วา
                                 อภพฺโพ  ปริหานาย                  นิพฺพานสฺเสว  สนฺติเก
                  ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท  หรือเห็นภัยในความประมาท  เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะเสื่อม  (ชื่อว่า)  อยู่ใกล้พระนิพพานทีเดียว
                          ( พุทธ )                           ขุ.  ธ.   ๒๕  / ๑๙.
                        ๕๓.   เอวํวิหารี  สโต  อปฺปมตฺโต
                                 ภิกขุ  จรํ  หิตฺวา  มมายิตานิ
                                 ชาติชรํ  โสกปริทฺทวญฺจ
                                 อิเธว  วิทฺวา  ปชเหยฺย  ทุกขํ
                 ภิกษุผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้  มีสติ  ไม่ประมาท  ละความถือมั่นว่าของเราได้แล้วเที่ยวไป  เป็นผู้รู้  พึงละชาติ  ชรา  โสกะ  ปริเทวะ  และทุกข์  ในโลกนี้ได้
                   ( พุทธ )    ขุ.  สุ.   ๒๕ / ๕๓๕.      ขุ.   จู.    ๓๐ / ๙๒.
                        ๕๔.   อุฏฐาเนนปฺปมาเทน                  สญฺญเมน  ทเมน 
                                 ทีปํ  กยิราถ  เมธาวี                 ยํ  โอโฆ  นาภิกีรติ
                  คนมีปัญญา  พึงสร้างเกาะ  ที่น้ำหลากมาท่วมไม่ได้  ด้วยความหมั่น  ความไม่ประมาท  ความสำรวม  และความข่มใจ
                          ( พุทธ )                           ขุ.  ธ.   ๒๕  / ๑๘.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘