ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก สอบในสนามหลวง วันศุกร์ ที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙

  ๑.  อุทเทสแห่งนิพพิทา ดังต่อไปนี้ มีความหมายว่าอย่างไร ?
               . คนเขลา       
               . ผู้รู้    
               . หมกอยู่       
               . หาข้องอยู่ไม่
               จ. โลกนี้
  .          . คนผู้ไร้วิจารณญาณ
               . ผู้รู้โลกตามความเป็นจริง
               . เพลิดเพลินหลงติดอยู่ในสิ่งอันมีโทษ
               . ไม่พัวพันในสิ่งล่อใจ
               . โดยตรง ได้แก่แผ่นดินเป็นที่อยู่อาศัย โดยอ้อม ได้แก่หมู่สัตว์
                   ผู้อาศัย
  .  อุทเทสว่า  เย  จิตฺตํ  สญฺเมสฺสนฺติ   โมกฺขนฺติ  มารพนฺธนา  นั้น 
       การสำรวมจิตทำอย่างไร
?
  .  การสำรวมจิตมี วิธี คือ
               .  สำรวมอินทรีย์มิให้ความยินดีครอบงำ ในเมื่อเห็นรูป ฟังเสียง
                     ดมกลิ่น
ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา
              .  มนสิการกัมมัฏฐานอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันท์ คือ อสุภะ
                     กายคตาสติ
และมรณสติ
              .  เจริญวิปัสสนา พิจารณาสังขารให้เห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง
                     อนัตตา
  .  สังขารในไตรลักษณ์กับในขันธ์   ต่างกันอย่างไร ?
  .  สังขารในไตรลักษณ์ หมายเอารูปธรรมและนามธรรมทั้งหมดที่ปัจจัย
        ปรุงแต่งขึ้น
ส่วนสังขารในขันธ์ หมายเอาเจตสิกธรรมที่ปรุงแต่งจิต
        ให้มีอาการต่างๆ
เว้นเวทนาและสัญญา
  .  ปกิณกทุกข์ คืออะไร ?  จะบรรเทาได้ด้วยวิธีอย่างไร ?
  .  คือ ทุกข์จร เช่น ความเศร้าโศกเสียใจ ความร่ำไรบ่นเพ้อรำพัน ความ
        ไม่สบายกาย
ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ความประสบสิ่งที่
        ไม่พึง      ปรารถนา
    ความพลัดพรากจากของรัก ความผิดหวังเป็นต้น
        จะบรรเทาได้ด้วยการมีสติ ใช้ปัญญาพิจารณา รู้จักปลงรู้จักปล่อยวาง
        ไม่ยึดมั่นถือมั่น
  .  อาหารปริเยฏฐิทุกข์ คืออะไร ?  จะบรรเทาได้ด้วยวิธีอย่างไร ?
  . คือ ทุกข์ในการหาเลี้ยงชีพ เช่น ต้องแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน เมื่อผลประโยชน์
        ขัดกัน ก็ทะเลาะกัน และเมื่อยิ่งแสวงหามากก็เป็นเหตุให้เกิดทุกข์มาก
        จะบรรเทาได้ด้วยการขยันประหยัดอดทนและ อดออม เป็นอยู่ด้วยปัจจัย
        เครื่องเลี้ยงชีพเท่าที่จำเป็น
ตัดสิ่งฟุ้งเฟ้อที่ไม่จำเป็นออกไป ยินดีเท่าที่ตน
        มีอยู่โดยยึดทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักในการดำรงชีวิต
  .  พระบาลีว่า ภิกษุ  เธอจงวิดเรือนี้  เรือที่เธอวิดแล้ว  จักพลันถึง
        จงให้ความหมายคำต่อไปนี้
  ให้ถูกต้องตามพระบาลีนั้น ?
               ก. เรือนี้               
               ข. จงวิด (วิดอะไร)             
               ค. เรือที่วิดแล้ว
               ง.  จักพลันถึง (ถึงอะไร)          
               จ. เรือจักไม่จมใน........
๖.            . อัตภาพร่างกาย
               ข. วิดน้ำ คือมิจฉาวิตก
               ค. อัตภาพที่บรรเทากิเลสให้เบาบางลง   
               ง.  ถึงท่า คือพระนิพพาน  
               จ. ในสังสารวัฏ ฯ
  .  คนสัทธาจริตและคนวิตกจริต มีลักษณะอย่างไร ?  ควรเจริญกัมมัฏฐาน
        อะไร
?
  .  คนสัทธาจริต มีลักษณะเชื่อง่ายขาดเหตุผล คนวิตกจริต มีลักษณะ
        คิดมาก
ฟุ้งซ่าน
        คนสัทธาจริตควรเจริญอนุสสติ ข้างต้น คนวิตกจริตควรเจริญอานาปานสติ ฯ
  . กายคตาสติกัมมัฏฐานกับอสุภกัมมัฏฐาน ต่างกันหรือเหมือนกันอย่างไร ?
       
จงอธิบาย
  .  ต่างกันที่อารมณ์ คือ กายคตาสติ พิจารณาอาการภายในของตนเป็น
        อารมณ์อสุภ
พิจารณาซากศพเป็นอารมณ์
        เหมือนกันตรงที่พิจารณาให้เห็นเป็นปฏิกูล ไม่งามเหมือนกันและเป็น
        ปฏิปักษ์ต่อกามฉันทะ
อีกทั้งเป็นเครื่องกำจัดวิปลาส ข้อที่เห็นว่า
        สวยงามในสิ่งที่ไม่สวยงามได้เหมือนกัน
  .  จงแสดงวิธีเจริญมุทิตา พร้อมทั้งอานิสงส์แห่งการเจริญ พอเป็นตัวอย่าง ?
 .  วิธีเจริญมุทิตานั้นดังนี้ เมื่อได้เห็นหรือได้ยินมนุษย์หรือสัตว์ เป็นอยู่
        สุขสบาย
เจริญรุ่งเรืองด้วยสุขสมบัติ พึงทำจิตใจให้ชื่นชมยินดี แล้ว
        แผ่มุทิตาจิตไปว่า สัตว์ผู้นี้หนอบริบูรณ์ยิ่งนัก
มีสุขสมบัติมาก จงเจริญ
        ยั่งยืนด้วยสุขสมบัติยิ่งๆ
เถิด เมื่อเจริญอยู่เนืองๆ ย่อมได้รับอานิสงส์
        คือ
จะละความริษยาในสมบัติของผู้อื่นได้
๑๐.  การทำวัตรสวดมนต์ เป็นกิจวัตรของพระภิกษุสามเณรและเป็นภาวนากุศล
        จงแสดงวิธีเจริญสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ในบททำวัตรเช้า
       
มาดูพอเป็นตัวอย่าง ?
๑๐.  การสวดนมัสการพระรัตนตรัยก็ดี สวดสรรเสริญคุณพระรัตนตรัยก็ดี
        เป็นการน้อมจิตระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ชื่อว่า
        เจริญพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ จัดเป็นสมถกัมมัฏฐาน ฯ
        สวดสังเวคปริกิตตนปาฐะว่า ชาติปิ ทุกฺขา ชราปิ ทุกฺขา มรณมฺปิ
        ทุกฺขํ
... รูปํ อนิจฺจํ เวทนา อนิจฺจา... รูปํ อนตฺตา เวทนา อนตฺตา...
       
เป็นอาทิ ตั้งสติมีความเพียร ใช้ปัญญาพิจารณาเบญจขันธ์ ยกขึ้นสู่
        สามัญลักษณะ
จัดเป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘