อธิบายอกุศลกรรมบถ โดยอาการ ๕

              .  โดยธรรม  คือ  โดยสภาวธรรม
              กรรมบถ    คือ  กายกรรม    และวจีกรรม    โดยสภาวธรรม  ได้แก่  เจตนา  อธิบายว่า  ต้องมีเจตนาในการทำ  การพูด  จึงจะเป็นกรรมบถได้  ถ้าไม่มีเจตนาไม่เป็นกรรมบถ  ส่วนมโนกรรม    มีอภิชฌาเป็นต้น  เกิดร่วมกับเจตนา  จึงจะเป็นมโนกรรมได้  มีแต่เฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง  ไม่จัดเป็นมโนกรรม
              .  โดยโกฏฐาสะ  คือ  โดยเป็นส่วนแห่งธรรมต่าง 
              อกุศลกรรมบถ    คือ  กายกรรม    วจีกรรม    มิจฉาทิฏฐิ    เป็นกรรมบถอย่างเดียว  ไม่เป็นมูลคือรากเหง้าแห่งอกุศลเหล่าอื่น  ส่วนอภิชฌา  ได้แก่โลภะ  พยาบาท  ได้แก่โทสะ  ดังนั้น  ทั้ง    อย่างนี้  เป็นทั้งอกุศลกรรมบถ  เป็นทั้งมูลคือรากเหง้าของอกุศลเหล่าอื่นด้วย

              .  โดยอารมณ์  คือ  สิ่งที่ใจเข้าไปยึดแล้ว  เป็นเหตุให้ทำกรรมนั้น ๆ
              ปาณาติบาต  มีสังขารคือชีวิตของสัตว์เป็นอารมณ์  หมายความว่า  การฆ่าสัตว์  เป็นการทำลายชีวิตของผู้อื่น  ถ้าทำลายสิ่งไม่มีชีวิต  ก็ไม่จัดเป็นการฆ่าสัตว์

                  อทินนาทาน  มีสัตว์หรือสังขารเป็นอารมณ์  หมายความว่า  สิ่งที่ถูกลักขโมยนั้นอาจเป็นมนุษย์  สัตว์  หรือสิ่งของก็ได้
                  กาเมสุมิจฉาจาร  มีสังขารคือผัสสะเป็นอารมณ์  หมายความว่า  กาเมสุมิจฉาจาร  จะสำเร็จได้ต้องมีการสัมผัสทางกาย
                  มุสาวาท  ปิสุณวาจา  และสัมผัปปลาปะ  มีสัตว์หรือสังขารเป็นอารมณ์  หมายความว่า  เรื่องที่พูดเท็จ  พูดส่อเสียด  และพูดเพ้อเจ้อนั้น  อาจเป็นเรื่องของคนสัตว์  หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ  ก็ได้
              ผรุสวาจา  มีสัตว์เป็นอารมณ์  หมายความว่า  การพูดคำหยาบนั้น  ต้องพูดกับผู้ที่เข้าใจความหมายเท่านั้น  จึงจัดเป็นกรรมบถ  ถ้าพูดกับผู้ที่ไม่เข้าใจ  ไม่จัดเป็นกรรมบถ
                  อภิชฌา  มีสัตว์และสังขารเป็นอารมณ์  หมายความว่า  สิ่งที่โลภอยากได้นั้น  เป็นมนุษย์  สัตว์  หรือสิ่งของก็ได้
                  พยาบาท  มีสัตว์เป็นอารมณ์  หมายความว่า  การปองร้ายที่จัดเป็นพยาบาทนั้น  ต้องปองร้ายมนุษย์  หรือสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น
              มิจฉาทิฏฐิ  มีสังขารคือธรรมอันเป็นไปในภูมิ    เป็นอารมณ์  ได้แก่  กามาวจรภูมิ  รูปาวจรภูมิ  และอรูปาวจรภูมิ  หมายความว่า  ความเห็นที่จัดเป็นมิจฉาทิฏฐินั้น  ต้องเห็นผิดไปจากความเป็นจริง  เช่น  โลกอื่นไม่มี  บาปไม่มี  บุญไม่มี  เห็นสิ่งที่ไม่เที่ยง  ว่าเป็นของเที่ยง  เป็นต้น
              .  โดยเวทนา  คือ  เวทนา   อย่าง  ได้แก่  สุขเวทนา  ๑ ทุกขเวทนา ๑ อุเบกขาเวทนา 
                  ปาณาติบาต  มีทุกขเวทนาอย่างเดียว  หมายความว่า  ในขณะฆ่าสัตว์  จิตใจของผู้กระทำ   ย่อมประกอบด้วยความโกรธ
                  อทินนาทาน  มีเวทนา    หมายความว่า  ในขณะลักทรัพย์  จิตใจของผู้ลักขโมย  อาจจะมีความสุข  ความทุกข์  หรือรู้สึกเฉย ๆ  ก็ได้
              กาเมสุมิจฉาจาร  มีเวทนา    คือ  สุขเวทนากับอุเบกขาเวทนา  หมายความว่า  จิตใจของผู้กำลังประพฤติผิดในกามนั้น  มีแต่ความสุข  หรือรู้สึกเฉย ๆ  เท่านั้น

              มุสาวาท  ปิสุณวาจา  และสัมผัปปลาปะ  มีเวทนา    หมายความว่า  ในขณะที่พูดเท็จ  พูดส่อเสียด  หรือพูดเพ้อเจ้อนั้น  จิตใจของผู้พูด  อาจมีความรู้สึกดีใจเสียใจ  หรือเฉย    ก็ได้
              ผรุสวาจา  มีทุกขเวทนาอย่างเดียว  หมายความว่า  คำพูดที่จะจัดว่า  หยาบคายนั้น  ผู้พูดต้องพูดด้วยจิตที่โกรธ  หากพูดด้วยจิตเมตตาปรารถนาดี  ไม่จัดเป็นผรุสวาจา
              อภิชฌา  มิจฉาทิฏฐิ  มีเวทนา    คือ  สุขเวทนากับอุเบกขาเวทนา  หมายความว่า  ในขณะที่โลภอยากได้ของผู้อื่น  หรือมีความเห็นผิดนั้น  จิตใจของผู้นั้น  จะมีแต่ความสุข  หรือรู้สึกเฉย    ไม่รู้สึกโกรธหรือเสียใจเลย
              พยาบาท  มีทุกขเวทนาอย่างเดียว  หมายความว่า  ในขณะที่ปองร้ายผู้อื่นนั้น  จิตใจของผู้ปองร้าย  ย่อมมีแต่ความโกรธอย่างเดียว

              .  โดยมูล  คือ  อกุศลมูล    ได้แก่  โลภมูล    โทสมูล    โมหมูล 
                  ปาณาติบาต           มีมูล    คือ  โทสมูล  โมหมูล
                  ทินนาทาน            มีมูล    คือ  โทสมูล  โมหมูล  หรือ  โลภมูล  โมหมูล
              กาเมสุมิจฉาจาร      มีมูล    คือ  โลภมูล  โมหมูล
                  มุสาวาท  ปิสุณวาจา  และสัมผัปปลาปะ           มีมูล    คือ  โทสมูล  โมหมูล  หรือ  โลภมูล  โมหมูล
              ผรุสวาจา              มีมูล    คือ  โทสมูล  โมหมูล
              อภิชฌา  พยาบาท  มีมูล    คือ  โมหมูล
              มิจฉาทิฏฐิ               มีมูล    คือ  โลภมูล  โมหมูล

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘