ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันเสาร์ ที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๔

๑.
๑.๑
กาม  และกามคุณ  มีอธิบายอย่างไร ?

๑.๒
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ทั้ง ๕ นี้ เพราะเหตุไรจึงเรียกว่า กามคุณ ?
๑.
๑.๑
กาม ได้แก่ ความใคร่ ความน่าปรารถนา ความพอใจ แบ่งเป็น
กิเลสกาม  และวัตถุกาม
ส่วนกามคุณ ได้แก่อารมณ์ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มี รูป  เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ  ซึ่งเป็นวัตถุกามนั่นเอง

๑.๒
เพราะเป็นกลุ่มแห่งกาม  และเป็นสิ่งที่ให้เกิดความสุข  ความพอใจได้
๒.
๒.๑
คำว่า  อธิปเตยยะ  แปลว่าอะไร ?  มีอะไรบ้าง ?

๒.๒
บุคคลผู้ถือความถูกต้องเป็นใหญ่ ทำด้วยอำนาจเมตตา กรุณา เป็นต้น
จัดเข้าในอธิปเตยยะข้อไหนได้หรือไม่ ?
๒.
๒.๑
แปลว่า  ความเป็นใหญ่  มี    คือ 
         ๑) อัตตาธิปเตยยะ  ความมีตนเป็นใหญ่
         ๒) โลกาธิปเตยยะ  ความมีโลกเป็นใหญ่
         ๓) ธัมมาธิปเตยยะ  ความมีธรรมเป็นใหญ่

๒.๒
จัดเข้าในธัมมาธิปเตยยะได้
๓.
๓.๑
ปาฏิหาริย์คืออะไร ? พระพุทธเจ้าทรงยกย่องปาฏิหาริย์อะไรว่าเป็นอัศจรรย์ยิ่งกว่าปาฏิหาริย์อื่น ?

๓.๒
พุทธจริยา  และพุทธิจริต  ต่างกันอย่างไร ?
๓.
๓.๑
คือ การกระทำที่ให้บังเกิดผลเป็นอัศจรรย์ ทรงยกย่องอนุสาสนีปาฏิหาริย์ว่าเป็นอัศจรรย์ยิ่งกว่าปาฏิหาริย์อื่น

๓.๒
พุทธจริยา  คือพระจริยาของพระพุทธเจ้า
พุทธิจริต  คือผู้มีความรู้เป็นปกติ
๔.
๔.๑
กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา เพราะเหตุไรจึงเรียกว่า โอฆะ โยคะ อาสวะ ?

๔.๒
กิจในอริยสัจแต่ละอย่างนั้นมีอะไรบ้าง ?
๔.
๔.๑
เรียกว่า  โอฆะ  เพราะเป็นดุจกระแสน้ำอันท่วมใจสัตว์
เรียกว่า  โยคะ  เพราะประกอบสัตว์ไว้ในภพ
เรียกว่า  อาสวะ  เพราะเป็นสภาพหมักหมมอยู่ในสันดาน

๔.๒
มี    คือ
         ๑) ปริญญา  กำหนดรู้ทุกขสัจ
         ๒) ปหานะ  ละสมุทัยสัจ
         ๓) สัจฉิกรณะ  ทำให้แจ้งนิโรธสัจ
         ๔) ภาวนา  ทำมัคคสัจให้เกิด
๕.
๕.๑
กรรมฝ่ายอกุศลจัดเป็นมารอะไรในมาร ๕  ?  เพราะเหตุไรจึงได้ชื่อว่ามาร ?

๕.๒
สุทธาวาสมีกี่ชั้น ?  อะไรบ้าง ?  เป็นที่เกิดของใคร ?
๕.
๕.๑
จัดเป็นอภิสังขารมาร,  ที่ได้ชื่อว่ามารเพราะทำให้เป็นผู้ทุรพล

๕.๒
มี    ชั้นคือ
         ๑) อวิหา
         ๒) อตัปปา
         ๓) สุทัสสา
         ๔) สุทัสสี
         ๕) อกนิฏฐา
         เป็นที่เกิดของพระอนาคามี
๖.
๖.๑
อัญญสัตถุทเทสคืออะไร ?  หมายถึงผู้ประพฤติเช่นไร ?

๖.๒
อัญญสัตถุทเทสต่างจากสังฆเภทอย่างไร ?
๖.
๖.๑
คือถือศาสดาอื่น  หมายถึงภิกษุผู้ไปเข้ารีตเดียรถีย์ คือหันเหไปนับถือศาสนาอื่นทั้งที่ยังถือเพศบรรพชิตอยู่  ต้องห้ามมิให้อุปสมบทอีก

๖.๒
ต่างกัน คืออัญญสัตถุทเทสนั้น ละทิ้งศาสนาเดิมของตน เปลี่ยนไปนับถือศาสนาอื่น  แต่ไม่ทำลายพวกเดิมของตน
ส่วนสังฆเภทนั้น ยังอยู่ในศาสนาเดิมของตน  แต่ทำลายพวกตนเองให้แตกแยกเป็นพรรคเป็นพวก
๗.
๗.๑
อะไรเรียกว่า  อนุสัย ?  เพราะเหตุไรจึงได้ชื่อเช่นนั้น ?

๗.๒
การจ้องตาต่อตากับหญิงสาวแล้วชื่นใจ จัดเป็นเมถุนสังโยคได้หรือไม่ ? เพราะเหตุไร ?
๗.
๗.๑
กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน เรียกว่าอนุสัย  เพราะกิเลสทั้ง ๗  อย่างล้วนเป็นกิเลสอย่างละเอียดที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน บางทีไม่แสดงอาการที่แท้จริงออกมาให้ปรากฏ ต่อเมื่อมีอารมณ์ภายนอกอย่างใดอย่างหนึ่งมายั่วยวน ก็แสดงออกมาให้ปรากฏและทำจิตให้ขุ่นมัว  เมื่อไม่มีอารมณ์มายั่วยวน ก็นอนสงบนิ่งอยู่ประหนึ่งว่าเป็นผู้ไม่มีกิเลส  เป็นอยู่เช่นนี้  จึงได้ชื่อว่าอนุสัย

๗.๒
ได้  เพราะอาการเช่นนั้นอิงอาศัยกาม
๘.
๘.๑
พระพุทธคุณ  บทว่า  อรหํ  แปลว่าอย่างไรได้บ้าง ?

๘.๒
พระสงฆ์ดีอย่างไร  จึงจัดว่าเป็นนาบุญของโลก ?
๘.
๘.๑
แปลว่า  เป็นผู้เว้นไกลจากกิเลสและบาปธรรม 
         เป็นผู้หักกำแห่งสังสารจักร
         เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนเขา 
         เป็นผู้ควรรับความเคารพนับถือของเขา
         เป็นผู้ไม่มีข้อลับ ไม่ได้ทำความเสียหายอันจะพึงซ่อนเพื่อ
          มิให้คนอื่นรู้

๘.๒
พระสงฆ์เป็นผู้บริสุทธิ์  ทักขิณาที่บริจาคแก่ท่าน ย่อมมีผลานิสงส์
ดุจนาที่มีดินดีและไถดี พืชที่หว่านที่ปลูกลงย่อมเผล็ดผลไพบูลย์ จึง
ชื่อว่านาบุญของโลก
๙.
๙.๑
กรรมหมายถึงการกระทำเช่นไร ?

๙.๒
ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม  และอุปปัชชเวทนียกรรม  คือกรรมเช่นไร ?
๙.
๙.๑
หมายถึงการกระทำทางกาย วาจา ใจ ที่มีเจตนาจงใจทำ เป็นได้
ทั้งฝ่ายดี  ฝ่ายชั่วหรือเป็นกลาง ๆ

๙.๒
ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม  คือกรรมให้ผลในภพปัจจุบัน
อุปปัชชเวทนียกรรม  คือกรรมให้ผลในภพที่จะเกิดถัดไป
๑๐.
๑๐.๑
สัทธรรมในจรณะ ๑๕ คืออะไรบ้าง ?

๑๐.๒
พาหุสัจจะ  ความเป็นผู้ได้ฟังมาก  หมายถึงฟังอะไร ?  ประกอบด้วยองค์เท่าไร ?  อะไรบ้าง ?
๑๐.
๑๐.๑
คือ       สัทธา  ความเชื่อ
         หิริ  ความละอายแก่ใจ
         โอตตัปปะ  ความเกรงกลัวผิด
         พาหุสัจจะ  ความเป็นผู้ได้ฟังมาก
         วิริยะ  ความเพียร
         สติ  ความระลึกได้
         ปัญญา  ความรอบรู้



๑๐.๒
หมายถึงฟังธรรม ซึ่งไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ประกอบด้วยอรรถ ด้วยพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ประกอบด้วยองค์    คือ
        ๑) พหุสฺสุตา  ได้ยินได้ฟังมาก
         ๒) ธตา  ทรงจำได้
         ๓) วจสา  ปริจิตา  ท่องไว้ด้วยวาจา
         ๔) มนสานุเปกฺขิตา  เอาใจจดจ่อ
         ๕) ทิฏฺฐิยา  สุปฏิวิทฺธา  ขบด้วยทิฏฐิ




ผู้ออกข้อสอบ
:
๑.
พระราชปัญญาเมธี
วัดไตรมิตรวิทยาราม


๒.
พระศรีมงคลเมธี
วัดอาษาสงคราม
จ.สมุทรปราการ
ตรวจ/ปรับปรุง
:
   โดยสนามหลวงแผนกธรรม

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘