กระทู้ธรรม ธรรมศึกษาชั้นตรี สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๔๓ วันศุกร์ ที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓ พระเทพวิริยาภรณ์ วัดสุทัศนเทพวราราม รองแม่กองธรรมสนามหลวง แต่งเป็นตัวอย่าง

¡µÊÚÊ  ¹µÚ¶Ô  »¯Ô¡ÒÃí.
ÊÔ觷Õè·Óä»áÅéÇ ·Ó¤×¹äÁèä´é.
            บัดนี้ จักได้บรรยายขยายความแห่งกระทู้ธรรมภาษิต ที่ได้อัญเชิญมาเป็นบทตั้ง   ณ เบื้องต้นนั้น พอเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและปฏิบัติธรรมสืบไป
            คนทั้งหลายที่เกิดมาในโลกนี้ ย่อมมีความเป็นไปต่างกันโดยความประพฤติและปฏิบัติ   ซึ่งจัดเป็นกายกรรมมีการกระทำความดีและการกระทำความชั่วเป็นต้น แม้ความปฏิบัติก็ยังมีดี    มีชั่วปะปนกันไปเสมอ แม้การเปล่งวาจาก็ยังมีผิดกันคือ ผรุสวาทบ้าง เป็นมธุรวาทบ้าง โดยที่สุด แม้การคิดหาทางน้ำใจก็ยังต่างกันออกไปอีก มีทั้งคิดดีทั้งคิดชั่ว คือ เป็นสัมมาทิฏฐิบ้าง เป็นมิจฉาทิฏฐิบ้าง ที่เป็นไปต่าง ๆ กันนั้น สิ่งใดอันเป็นฝ่ายที่ดีที่บุคคลทำให้เป็นไปด้วยกายกรรมมีการให้ทาน รักษาศีล เป็นต้น หรือด้วยวาจามีการชักนำบุคคลผู้อื่นให้ตั้งอยู่ในคุณงามความดีที่เป็นประโยชน์แก่ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์เป็นต้น ตลอดจนกระทั่งการอนุสรณ์ถึงพระคุณของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เกิดความเชื่อความเลื่อมใสในพระคุณของพระองค์เป็นอาทิ กุศลธรรมเหล่านี้ สิ่งเป็นอดีตธรรมล่วงไปแล้ว ก็ได้ชื่อล่วงไปดี เพราะเป็นไปโดยไม่เปล่าประโยชน์     นำเอาคุณงามความดีของตนให้ล่วงไปด้วย ไม่ล่วงไปสักว่ากาลเวลาเปล่า ๆ ส่วนสิ่งอันใดที่เป็น ฝ่ายชั่วทำให้ตนให้มัวหมองเดือดร้อนมีประการต่าง ๆ เช่น การทำปาณาติบาต หรืออทินนาทาน เหล่านี้เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ที่บุคคลทำแล้วก็เป็นอันว่าแล้วไป จะกลับตนไปทำใหม่ไม่ได้ มิหนำซ้ำยังนำเอาชีวิตของตนให้ล่วงไปเสียด้วย เหตุฉะนี้ นักปราชญ์ทั้งหลายจึงได้กล่าวตักเตือนไว้ว่า สิ่งใดที่ทำแล้ว ทำคืนไม่ได้ ดังนี้ แต่ทว่าจะไม่มีโอกาสประกอบคุณความดีอีกก็หามิได้ บุคคลทุก ๆ คน อาจจะสามารถที่จะทำความดีแก่ตัวได้อยู่ คือในเบื้องต้นต้องสำรวมระวังกระทำในสิ่งที่ดี มีอาทิดังกล่าวมาแล้วข้างต้น กีดกันความชั่วเสียให้ห่างไกล จะประกอบสิ่งใดก็ให้มีการไตร่ตรองใคร่ครวญให้รู้เสียก่อนว่า สิ่งที่ตนกระทำลงไปแล้วนั้น มีผลเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ประการใด สมดังนัยภาษิตของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าว่า นิสมฺม กรณํ เสยฺโย ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงทำดีกว่า ดังนี้ อรรถรสสุภาษิตบทนี้ ท่านมุ่งสอนให้บุคคลมีสติความรู้สึกตนก่อน ในเมื่อจะทำจะพูดจะคิด สิ่งหนึ่งประการใด เมื่อรู้แล้วให้ประคองใจของตนให้ตรงต่อในทางที่ดีที่ชอบ ซึ่งบัณฑิตชนสรรเสริญให้ เหินห่างหายนะความเสียหาย เมื่อบุคคลดำเนินกายวาจาของตน ให้เป็นไปแต่ในทางที่ชอบถูกต้องตามทำนองคลองธรรมเช่นนี้แล้ว ก็จะไม่แคล้วจากความสำราญ แม้จะนั่ง นอน เดิน ก็มีความสำราญปีติ ชื่นใจเป็นเบื้องหน้า ทุกทิวาราตรีกาล สมด้วยบรรหารพุทธภาษิต ดังมีมาในธรรมบท ขุททกนิกายว่า
ธมฺมจารี สุขํ เสติ 
ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข ดังนี้

            อรรถาธิบายแห่งพุทธภาษิตข้อนี้ แสดงถึงกรณีที่บุคคลทำแล้วถูกต้องดี เป็นธรรมเนื่องมาจากความเป็นผู้มีความยั้งคิด ทำความรู้สึกทุกขณะจิต ไม่ให้หมุนไปสู่ความผิดที่บัณฑิตจะพึงครหา เพราะว่าบรรดาสรรพสิ่งที่บุคคลทำแล้ว จะทำคืนอีกไม่ได้ ทำเมื่อใดก็ล่วงเลยไปเมื่อนั้น    จะทำวันใด เดือนใด ปีใดก็ตาม ไม่เป็นประมาณกำหนดขีดขั้น  สมดังประพันธภาษิตที่ลิขิตไว้ เบื้องต้นนั้นว่า กตสฺส นตฺถิ ปฏิการํ สิ่งที่ทำไปแล้ว ทำคืนไม่ได้ ดังนี้

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘