ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก สอบในสนามหลวง วันเสาร์ ที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๔

๑.
๑.๑
คำว่า มาร  และ บ่วงแห่งมาร  หมายถึงอะไร ?

๑.๒
บุคคลจะพ้นจากบ่วงแห่งมารด้วยวิธีอย่างไรบ้าง ?
๑.
๑.๑
คำว่า มาร หมายถึงกิเลสกาม คือเจตสิกอันเศร้าหมอง ได้แก่  ตัณหา  ราคะ และอรติ เป็นต้น                      
คำว่า บ่วงแห่งมาร หมายถึงวัตถุกาม ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ

๑.๒
ด้วยวิธี    อย่างคือ
         ๑) สำรวมอินทรีย์    มิให้ความยินดีครอบงำในเมื่อเห็นรูป
              เป็นต้นอันน่าปรารถนา
         ๒) มนสิการกัมมัฏฐาน  อันเป็นปฏิปักษ์แก่กามฉันท์   คือ
              อสุภะและกายคตาสติหรือมรณัสสติ
         ๓) เจริญวิปัสสนา     คือพิจารณาสังขารแยกออกเป็นขันธ์ 
              สันนิษฐานเห็นเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
๒.
๒.๑
ทุกขตา ความเป็นทุกข์แห่งสังขารนั้นกำหนดเห็นด้วยทุกข์กี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?

๒.๒
ความทุกข์ที่เกิดจากการต้องดิ้นรนต่อสู้ในการทำมาหากิน จัดเป็นทุกข์ชนิดไหน ?
๒.
๒.๑
ด้วยทุกข์  ๑๐  อย่างคือ
         ๑) สภาวทุกข์
         ๒) ปกิณกทุกข์ 
         ๓) นิพัทธทุกข์
         ๔) พยาธิทุกข์  
         ๕) สันตาปทุกข์ 
         ๖) วิปากทุกข์
         ๗) สหคตทุกข์
         ๘) อาหารปริเยฏฐิทุกข์
         ๙) วิวาทมูลกทุกข์
        ๑๐) ทุกขขันธ์ 

๒.๒
จัดเป็นอาหารปริเยฏฐิทุกข์
๓.
๓.๑
การพิจารณาแลเห็นสังขารโดยไตรลักษณ์  จัดเป็นวิสุทธิอะไร ?

๓.๒
จงจัดวิสุทธิ ๗  ลงในไตรสิกขา ?
๓.
๓.๑
จัดเป็นทิฏฐิวิสุทธิ  ความหมดจดแห่งความเห็น

๓.๒
         ๑) สีลวิสุทธิ  จัดเป็นศีล
         ๒) จิตตวิสุทธิ  จัดเป็นสมาธิ
         ๓) ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ   
             ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสนวิสุทธิ จัดเป็นปัญญา
๔.
๔.๑
วัฏฏะในบาลีว่า วฏฺฏูปจฺเฉโท หมายถึงอะไร ? วัฏฏะนั้นจะขาดได้อย่างไร ?

๔.๒
บาลีแสดงปฏิปทาแห่งนิพพานว่า " สิญฺจ  ภิกฺขุ  อิมํ  นาวํ " ความว่า  " ภิกษุเธอจงวิดเรือนี้ "  คำว่า เรือ และ วิด ในบาลีนี้หมายถึงอะไร ?
๔.
๔.๑
วัฏฏะ หมายถึง  ความเวียนเกิดด้วยอำนาจกิเลส  กรรม  และวิบาก
วัฏฏะนั้นจะขาดได้ด้วยการละกิเลสอันเป็นเบื้องต้นเสีย

๔.๒
คำว่า เรือ หมายถึงอัตภาพร่างกาย
คำว่า วิด หมายถึงบรรเทากิเลส และบาปธรรมให้เบาบางจนขจัดได้ขาด
๕.
๕.๑
ในส่วนสังสารวัฏฏ์  สัตวโลกตายแล้วมีคติเป็นอย่างไร ?

๕.๒
ในข้อ ๕.๑  นั้นมีอุทเทสบาลีแสดงไว้อย่างไร ?
๕.
๕.๑
สัตวโลกตายแล้วมีคติเป็น    คือสุคติ  และทุคติ              

๕.๒
มีอุทเทสบาลีแสดงว่า
         จิตฺเต  สงฺกิลิฏฺเฐ  ทุคฺคติ  ปาฏิกงฺขา         
         เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว  ทุคติเป็นอันต้องหวัง
           จิตฺเต  อสงฺกิลิฏฺเฐ  สุคติ  ปาฏิกงฺขา         
         เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว  สุคติเป็นอันหวังได้
๖.
๖.๑
คนโทสจริต  มีอุปนิสัยเป็นอย่างไร ? จะแก้ด้วยการเจริญกัมมัฏฐานบทใด ?

๖.๒
การที่ท่านสอนให้เจริญเมตตาในตนก่อนแล้ว จึงแผ่ไปในชนอื่นนั้น
มีเหตุผลอย่างไร ?
๖.
๖.๑
คนที่มีจิตมักฉุนเฉียวโกรธเคืองง่าย ๆ สันดานหนักไปในโทสะ มักก่อทุกข์โทมนัสให้แก่ผู้อื่น จัดเป็นคนโทสจริต มีโทสะเป็นเครื่องประพฤติเป็นปกติของตัว
ควรเจริญกัมมัฏฐาน ๘ ประการ คือวัณณกสิณ ๔ กับพรหมวิหาร ๔

๖.๒
มีเหตุผลดังนี้ คือจะได้ทำตนให้เป็นพยานว่า ตนนี้อยากได้แต่ความสุข  เกลียดชังทุกข์ และภัยต่าง ๆ ฉันใด สัตว์ทั้งหลายอื่น ๆ ก็อยากได้สุข  เกลียดชังทุกข์และภัยต่าง ๆ ฉันนั้น เมื่อเห็นดังนี้แล้ว จิตก็ปรารถนาให้สัตว์ทั้งสิ้นอื่น ๆ มีความสุขความเจริญ                     
๗.
๗.๑
วิปัลลาสคืออะไร ?  จำแนกโดยวัตถุเป็นที่ตั้งมีกี่อย่าง ?  อะไรบ้าง ?

๗.๒
จะถอนวิปัลลาสนั้นได้เพราะเจริญธรรมอะไร ?
๗.
๗.๑
คือ  กิริยาที่ถือเอาโดยอาการวิปริตผิดจากความจริง มี    อย่างคือ
         ๑) วิปัลลาสในของที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
         ๒) วิปัลลาสในของที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข
         ๓) วิปัลลาสในของที่ไม่ใช่ตนว่าเป็นตน
         ๔) วิปัลลาสในของที่ไม่งามว่างาม

๗.๒
วิปัลลาสในของที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง  จะถอนได้ด้วยอนิจจสัญญา
วิปัลลาสในของที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข  จะถอนได้ด้วยทุกขสัญญา
วิปัลลาสในของที่ไม่ใช่ตนว่าเป็นตน  จะถอนได้ด้วยอนัตตสัญญา
วิปัลลาสในของที่ไม่งามว่างาม  จะถอนได้ด้วยอสุภสัญญา
๘.
๘.๑
ผู้เจริญสติปัฏฐานต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง ?

๘.๒
ผู้เจริญสติปัฏฐานสมบูรณ์เต็มที่แล้ว  จะได้รับอานิสงส์เช่นใด ?
๘.
๘.๑
มี        ๑) อาตาปี  มีความเพียรแผดเผากิเลส
         ๒) สมฺปชาโน  มีสัมปชัญญะ
        ๓) สติมา  มีสติ

๘.๒
ได้รับอานิสงส์ ๕ ประการดังนี้
         ๑) ได้ความบริสุทธิ์
         ๒) ได้ข้ามพ้นโสกะและปริเทวะ
         ๓) ได้ความดับไปแห่งทุกข์และโทมนัส
         ๔) ได้บรรลุธรรมที่ถูก
         ๕) ได้ทำให้แจ้งพระนิพพาน
๙.
๙.๑
การพิจารณากองลมหายใจเข้าออก เพียงแต่รู้ว่าสั้นยาว ดังนี้ จัดเป็น
สติปัฏฐานข้อไหน ?

๙.๒
ในธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หัวข้อธรรมที่จะนำมาพิจารณานั้นมีอะไรบ้าง ?
๙.
๙.๑
จัดเป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

๙.๒
มี นิวรณ์ ๕  อุปาทานขันธ์ ๕  อายตนะ ๖  โพชฌงค์ ๗ และอริยสัจ ๔


๑๐.
๑๐.๑
อนิจจสัญญาในคิริมานนทสูตร  มีใจความว่าอย่างไร ?

๑๐.๒
การพิจารณาอาทีนวสัญญาโดยย่อ  ได้แก่พิจารณาอย่างไร ?
๑๐.
๑๐.๑
มีใจความว่า  " ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปในป่าก็ดี ไปที่โคนไม้ก็ดี ไปที่เรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่า รูป เวทนา สัญญา
สังขาร  วิญญาณ ไม่เที่ยง ย่อมเป็นผู้พิจารณาเนือง ๆ โดยความไม่เที่ยงในอุปาทานขันธ์ทั้ง  ๕ "

๑๐.๒
พิจารณาอย่างนี้ว่า  " กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก เหล่าอาพาธย่อมเกิดขึ้นในกายนี้ "





ผู้ออกข้อสอบ
:
๑.
พระธรรมธีรราชมหามุนี
วัดปากน้ำ


๒.
พระเทพวรคุณ
วัดป่าแสงอรุณ  จ.ขอนแก่น
ตรวจ/ปรับปรุง
:
   โดยสนามหลวงแผนกธรรม

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘