พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ หน้า 751-754

                                                            หน้าที่ ๗๕๑

                ที่ลับหู ได้แก่ สถานที่ซึ่งไม่มีใครสามารถได้ยินถ้อยคำที่พูดตามปกติได้
                คำว่า สำเร็จการนั่ง หมายความว่า เมื่อมาตุคามนั่งแล้ว ภิกษุนั่งใกล้ หรือนอนใกล้
ก็ดี เมื่อภิกษุนั่งแล้ว มาตุคามนั่งใกล้ หรือนอนใกล้ก็ดี นั่งทั้งสองคน หรือนอนทั้งสองคนก็ดี
                [๖๔๗] อุบาสิกาที่ชื่อว่า มีวาจาที่เชื่อได้ คือ เป็นสตรีผู้บรรลุผล ผู้ตรัสรู้ธรรม ผู้เข้าใจ
ศาสนาดี
                ที่ชื่อว่า อุบาสิกา ได้แก่ สตรีผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ผู้ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ผู้ถึง
พระสงฆ์เป็นสรณะ
                บทว่า เห็น คือพบ
                [๖๔๘] อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้เช่นนั้น พึงพูดขึ้นด้วยธรรม ๒ ประการ
อย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วยสังฆาทิเสสก็ดี ด้วยปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุปฏิญาณซึ่งการนั่ง
พึงถูกปรับด้วยธรรม ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ด้วยสังฆาทิเสสบ้าง ด้วย
ปาจิตตีย์บ้าง อีกประการหนึ่งอุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้นั้น กล่าวด้วยธรรมใด ภิกษุนั้น
พึงถูกปรับด้วยธรรมนั้น.
                                                                                ปฏิญญาตกรณะ
                                                                เห็นนั่งกำลังเคล้าคลึง
                [๖๔๙] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็น พระคุณเจ้านั่งกำลังถึงความเคล้าคลึง
ด้วยกายกับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนั่งนั้น พึงปรับตามอาบัติ
                หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย
กับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้านั่งจริง แต่ไม่ได้ถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย ดังนี้
พึงปรับเพราะการนั่ง
                หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย
กับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้านอนอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับ
เพราะการนอน
                หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย
กับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ


                                                            หน้าที่ ๗๕๒

                                                                เห็นนอนกำลังเคล้าคลึง
                [๖๕๐] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลังถึงความเคล้าคลึง
ด้วยกายกับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนอนนั้น พึงปรับตามอาบัติ
                หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย
กับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้านอนจริง แต่ไม่ได้ถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย ดังนี้
พึงปรับเพราะการนอน
                หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย
กับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้านั่งอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับ
เพราะการนั่ง
                หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย
กับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.
                                                                ได้ยินนั่งกำลังพูดเคาะ
                [๖๕๑] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้านั่งกำลังพูดเคาะมาตุคาม
ด้วยวาจาชั่วหยาบ ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนั่งนั้น พึงปรับตามอาบัติ
                หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้านั่งกำลังพูดเคาะมาตุคามด้วย
วาจาชั่วหยาบ ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้านั่งจริง แต่ไม่ได้พูดเคาะมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ
ดังนี้ พึงปรับเพราะการนั่ง
                หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้านั่งกำลังพูดเคาะมาตุคามด้วยวาจา
ชั่วหยาบ ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้านอนอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับ
เพราะการนอน
                หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้านั่งกำลังพูดเคาะมาตุคามด้วยวาจา
ชั่วหยาบ ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.
                                                                ได้ยินนอนกำลังพูดเคาะ
                [๖๕๒] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้านอนกำลังพูดเคาะ
มาตุคาม ด้วยวาจาชั่วหยาบ ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนอนนั้น พึงปรับตามอาบัติ


                                                            หน้าที่ ๗๕๓

                หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้านอนกำลังพูดเคาะมาตุคามด้วย
วาจาชั่วหยาบ ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้านอนจริง แต่ไม่ได้พูดเคาะมาตุคามด้วยวาจาชั่ว
หยาบ ดังนี้ พึงปรับเพราะการนอน
                หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้านอนกำลังพูดเคาะมาตุคามด้วย
วาจาชั่วหยาบ ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้านั่งอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับ
เพราะการนั่ง
                หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้านอนกำลังพูดเคาะมาตุคามด้วย
วาจาชั่วหยาบ ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอนข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้
ไม่พึงปรับ.
                                                                                เห็นนั่งในที่ลับ
                [๖๕๓] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนั่งในที่ลับกับ
มาตุคามผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนั่งนั้น พึงปรับเพราะการนั่ง
                หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนั่งในที่ลับกับมาตุคาม
ผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้านอนอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับเพราะ
การนอน
                หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนั่งในที่ลับกับมาตุคาม
ผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.
                                                                เห็นนอนในที่ลับ
                [๖๕๔] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนอนในที่ลับกับ
มาตุคามผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนอนนั้น พึงปรับเพราะการนอน
                หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนอนในที่ลับกับมาตุคาม
ผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้านั่งอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับเพราะ
การนั่ง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘