พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ หน้า 736-740

                                                            หน้าที่ ๗๓๖

พวกภิกษุถึงความพอใจด้วย ถึงความขัดเคืองด้วย ถึงความหลงด้วย ถึงความกลัวด้วย
ย่อมขับภิกษุบางรูป ย่อมไม่ขับภิกษุบางรูป เพราะอาบัติ เช่นเดียวกัน ภิกษุนั้นอัน
ภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย หาได้ถึง
ความพอใจไม่ หาได้ถึงความขัดเคืองไม่ หาได้ถึงความหลงไม่ หาได้ถึงความกลัวไม่
ท่านเองแล เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทราม
ของท่าน เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายอันท่านประทุษร้าย
แล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย ท่านจงหลีกไปเสียจากอาวาสนี้ ท่านอย่าอยู่
ในที่นี้ และภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่อย่างนั้นเทียว
ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลาย พึงสวดสมนุภาสกว่าจะครบสามจบ เพื่อให้สละกรรมนั้นเสีย
หากเธอถูกสวดสมนุภาสากว่าจะครบสามจบอยู่ สละกรรมนั้นเสีย สละได้อย่างนี้ นั่น
เป็นการดี หากเธอไม่สละเสีย เป็นสังฆาทิเสส.
                                                เรื่องภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จบ.
                                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๖๒๒] คำว่า อนึ่งภิกษุ ... บ้านก็ดี นิคมก็ดี แห่งใดแห่งหนึ่ง ความว่า บ้านก็ดี
นิคมก็ดี นครก็ดี ชื่อว่า บ้านและนิคม.
                บทว่า เข้าไปอาศัย ... อยู่ คือจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารเป็นปัจจัย
ของภิกษุไข้ เป็นปัจจัยเกี่ยวเนื่องอยู่ในที่นั้น.
                ที่ชื่อว่า สกุล หมายสกุล ๔ คือ สกุลกษัตริย์ สกุลพราหมณ์ สกุลแพศย์ สกุลศูทร
                บทว่า เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล คือ ประจบสกุลด้วยดอกไม้ก็ดี ผลไม้ก็ดี แป้งก็ดี
ดินก็ดี ไม้สีฟันก็ดี ไม้ไผ่ก็ดี การแพทย์ก็ดี การสื่อสารก็ดี
                บทว่า มีความประพฤติเลวทราม คือ ปลูกไม้ดอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง
รดน้ำเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นรดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยกรองดอกไม้เองบ้าง
ใช้ให้ผู้อื่นร้อยกรองบ้าง.
                [๖๒๓] บทว่า เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย คือ ชนเหล่าใดอยู่เฉพาะหน้า
ชนเหล่านั้น ชื่อว่าได้เห็นอยู่ ชนเหล่าใดอยู่ลับหลัง ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้ยินอยู่.


                                                            หน้าที่ ๗๓๗

                บทว่า และสกุลทั้งหลาย อันเธอประทุษร้ายแล้ว คือ ชนทั้งหลายเมื่อก่อนมี
ศรัทธา อาศัยภิกษุนั้นกลับเป็นคนไม่มีศรัทธา เมื่อก่อนเป็นคนเลื่อมใสอาศัยภิกษุนั้นกลับเป็นคน
ไม่เลื่อมใส
                บทว่า เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย คือ ชนเหล่าใดอยู่เฉพาะหน้า
ชนเหล่านั้น ชื่อว่าได้เห็นอยู่ ชนเหล่าใดอยู่ลับหลัง ชนเหล่านั้น ชื่อว่าได้ยินอยู่
                [๖๒๔] บทว่า ภิกษุนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุลรูปนั้น
                บทว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุเหล่าอื่น อธิบายว่า ภิกษุพวกที่ได้เห็นได้
ยินเหล่านั้น พึงว่ากล่าวภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุลรูปนั้นว่า ท่านแล เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความ
ประพฤติเลวทราม  ความประพฤติเลวทรามของท่านแล เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และ
สกุลทั้งหลาย อันท่านประทุษร้ายแล้ว เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย ท่านจงหลีกไปเสีย
จากอาวาสนี้ ท่านอย่าอยู่ในที่นี้ และภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ พึงว่าภิกษุ
เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ถึงความพอใจด้วย ถึงความขัดเคืองด้วย ถึงความหลงด้วย
ถึงความกลัวด้วย ย่อมขับภิกษุบางรูป ย่อมไม่ขับภิกษุบางรูป เพราะอาบัติเช่นเดียวกัน
                [๖๒๕] บทว่า ภิกษุนั้น ได้แก่ภิกษุผู้ทำกรรมรูปนั้น
                บทว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ภิกษุเหล่าอื่น อธิบายว่า ภิกษุเหล่าใดได้เห็น ภิกษุ
เหล่าใดได้ยิน ภิกษุเหล่านั้น พึงว่ากล่าวภิกษุผู้ทำกรรมรูปนั้นว่า ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น ภิกษุ
ทั้งหลายหาได้ถึงความพอใจไม่ หาได้ถึงความขัดเคืองไม่ หาได้ถึงความหลงไม่ และหาได้ถึง
ความกลัวไม่ ท่านแล เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทราม
ของท่านแล เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลาย อันท่านประทุษร้ายแล้ว
เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย ท่านจงหลีกไปเสียจากอาวาสนี้ ท่านอย่าอยู่ในที่นี้ พึงว่า
กล่าว แม้ครั้งที่สอง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม หากเธอสละเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี
หากเธอไม่สละเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลายได้ยินแล้วไม่ว่ากล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงคุมตัวมาแม้สู่ท่ามกลางสงฆ์แล้วพึงว่ากล่าวว่า ท่านอย่าได้กล่าวอย่าง
นั้น ภิกษุทั้งหลาย หาได้ถึงความพอใจไม่ หาได้ถึงความขัดเคืองไม่ หาได้ถึงความหลงไม่ หา
ได้ถึงความกลัวไม่ ท่านแลเป็นผู้ประทุษร้ายสกุล มีความประพฤติเลวทราม ความประพฤติ


                                                            หน้าที่ ๗๓๘

เลวทรามของท่านแล เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย และสกุลทั้งหลายอันท่านประทุษร้ายแล้ว
เขาได้เห็นอยู่ด้วย เขาได้ยินอยู่ด้วย ท่านจงหลีกไปเสียจากอาวาสนี้ ท่านอย่าอยู่ในที่นี้ พึงว่า
กล่าวแม้ครั้งที่สอง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม หากเธอสละเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี
หากเธอไม่สละเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                วิธีสวดสมนุภาส
                [๖๒๖] ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงสวดสมนุภาส ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสวดสม
นุภาสอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย ญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่า
ดังนี้:-
                                                                กรรมวาจาสวดสมนุภาส
                ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ ถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้ว ใส่ความ
ภิกษุทั้งหลายว่า ลำเอียงด้วยความพอใจ ลำเอียงด้วยความขัดเคือง ลำเอียงด้วยความหลง
ลำเอียงด้วยความกลัว เธอยังไม่สละเรื่องนั้น ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวด
สมนุภาส ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย นี่เป็นญัตติ
                ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้ ถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้ว ใส่
ความภิกษุทั้งหลายว่า ลำเอียงด้วยความขัดเคือง ลำเอียงด้วยความหลง ลำเอียงด้วยความกลัว
เธอยังไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดมมนุภาสภิกษุผู้นี้ชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย การสวด
สมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบ
แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
                ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้
ถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้ว ใส่ความภิกษุทั้งหลายว่า ลำเอียงด้วยความพอใจ ลำเอียงด้วย
ความขัดเคือง ลำเอียงด้วยความหลง ลำเอียงด้วยความกลัว เธอยังไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวด
สมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น การสวดสมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่อง
นั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
                ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้
ถูกสงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแล้ว ใส่ความภิกษุทั้งหลายว่า ลำเอียงด้วยความพอใจ ลำเอียงด้วย
ความขัดเคือง ลำเอียงด้วยความหลง ลำเอียงด้วยความกลัว เธอยังไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวด


                                                            หน้าที่ ๗๓๙

สมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย การสวดสมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละ
เรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
                ภิกษุผู้มีชื่อนี้ อันสงฆ์สวดสมนุภาสแล้ว เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่สงฆ์
เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
                [๖๒๗] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
                จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
                จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
                เมื่อต้องอาบัติสังฆาทิเสส อาบัติทุกกฏเพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัยเพราะกรรมวาจาสอง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘