พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ หน้า 716-720

                                                            หน้าที่ ๗๑๖

                ภิกษุผู้มีชื่อนี้ สงฆ์สวดสมนุภาสน์แล้ว เพื่อให้สละเรื่องนั้น ชอบแก่สงฆ์
เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
                [๕๙๗] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ.
                จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
                จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
                เมื่อต้องอาบัติสังฆาทิเสส อาบัติทุกกฏเพราะบัญญัติ อาบัติถุลลัจจัยเพราะกรรมวาจา
สองครั้ง ย่อมระงับ.
                บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น ชักเข้าหาอาบัติเดิม
ให้มานัต เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัส
เรียกว่า สังฆาทิเสส คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของอาบัตินิกายนั้นแล
แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.
                                                                                บทภาชนีย์
                [๕๙๘] กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ไม่สละ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส.
                กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
                กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
                กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.
                กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัยว่า ต้องอาบัติทุกกฏ.
                กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                                อนาปัตติวาร
                [๕๙๙] ภิกษุผู้ยังไม่ถูกสวดสมนุภาสน์ ๑ ภิกษุผู้สละเสียได้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุ
อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                                สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑๐ จบ.


                                                            หน้าที่ ๗๑๗

                                                                                สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑๑
                                                                เรื่องภิกษุผู้ประพฤติตามพระเทวทัตต์
                [๖๐๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็น
สถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น พระเทวทัตต์ตะเกียกตะกาย
เพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายข้อห้ามในพุทธจักร ภิกษุทั้งหลายพูดอย่างนี้ว่า พระเทวทัตต์พูดไม่ถูก
ธรรม พูดไม่ถูกวินัย ไฉน พระเทวทัตต์จึงได้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายข้อห้าม
ในพุทธจักรเล่า.
                เมื่อภิกษุทั้งหลายพูดอย่างนี้แล้ว พระโกกาลิกะ พระกฏโมรกะติสสกะ พระขัณฑเทวี.
บุตร และพระสมุททัตต์ ได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้พูดอย่างนั้น พระ-
เทวทัตต์พูดถูกธรรม พูดถูกวินัย ก็พระเทวทัตต์กล่าวคล้อยตามความพอใจและความเห็นชอบ
ของพวกเรา พระเทวทัตต์ทราบความพอใจ และความเห็นชอบของพวกเราจึงกล่าว คำนั้นย่อม
ควรแม้แก่พวกเรา.
                บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างพา
กันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุทั้งหลายจึงได้ประพฤติตาม พูดสนับสนุนพระเทวทัตต์
ผู้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์เล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                                                                                ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท
                ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ
เหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า มีพวกภิกษุประพฤติ
ตามผู้พูดสนับสนุนเทวทัตต์ผู้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ จริงหรือ?
                ภิกษุทั้งหลายทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษ
เหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน ภิกษุ
โมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้ประพฤติตาม พูดสนับสนุนพระเทวทัตต์ผู้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์เล่า
การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้น


โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘