พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ หน้า 711-715

                                                            หน้าที่ ๗๑๑

                [๕๙๑] ครั้งนั้น พระเทวทัตต์พร้อมด้วยบริษัทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มี
พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงสรรเสริญคุณแห่งความมักน้อย ความสันโดษ
ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดย
อเนกปริยาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วัตถุ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความมักน้อย ความสันโดษ
ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนก
ปริยาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่า
ตลอดชีวิต ภิกษุใดอาศัยบ้านอยู่ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาต
ตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีการนิมนต์ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุล
ตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีผ้าคหบดี โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้
ตลอดชีวิต ภิกษุใดเข้าอาศัยที่มุงบัง โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลา
และเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุใดฉันปลาและเนื้อ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น
                พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า อย่าเลย เทวทัตต์ ภิกษุใดปรารถนา ก็จงอยู่ป่า ภิกษุใด
ปรารถนา ก็จงอยู่บ้าน ภิกษุใดปรารถนา ก็จงเที่ยวบิณฑบาต ภิกษุใดปรารถนา ก็จงยินดีการ
นิมนต์ ภิกษุใดปรารถนา ก็จงถือผ้าบังสุกุล ภิกษุใดปรารถนา ก็จงยินดีผ้าคหบดี ดูกรเทวทัตต์
เราอนุญาตรุกขมูลเสนาสนะตลอด ๘ เดือนเท่านั้น  เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์ด้วยอาการ
๓ อย่าง คือ ๑. ไม่ได้เห็น ๒. ไม่ได้ยิน ๓. ไม่ได้รังเกียจ
                [๕๙๒] ครั้งนั้น พระเทวทัตต์ร่าเริงยินดีเป็นอย่างยิ่งว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาต
วัตถุ ๕ ประการนี้ แล้วพร้อมด้วยบริษัท ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำ
ประทักษิณหลีกไป ต่อมา เธอพร้อมด้วยบริษัทเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์ โฆษณาให้ประชาชนเชื่อถือ
ด้วยวัตถุ ๕ ประการว่า อาวุโสทั้งหลาย เราเข้าเฝ้าพระสมณโคดมทูลขอวัตถุ ๕ ประการว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงสรรเสริญคุณแห่งความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา
ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ วัตถุ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา
ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต
ภิกษุใดอาศัยบ้านอยู่ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต


                                                            หน้าที่ ๗๑๒

ภิกษุใดยินดีการนิมนต์ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต
ภิกษุใดยินดีผ้าคหบดี โทษพึงต้องภิกษุนั้น ๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุใด
อาศัยที่มุงบัง โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุ
ใดฉันปลาและเนื้อ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น พระสมณโคดมไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการนี้
พวกเราเท่านั้น สมาทานประพฤติวัตถุ ๕ ประการนี้อยู่
                [๕๙๓] บรรดาประชาชนชาวพระนครราชคฤห์นั้น จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส
มีความรู้ทราม พากันกล่าวนี้ว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้แล เป็นผู้กำจัด
มีความประพฤติขัดเกลา ส่วนพระสมณโคดม เป็นผู้มีความมักมาก ดำริเพื่อความมักมาก
                ส่วนประชาชนจำพวกที่มีศรัทธาเลื่อมใสเป็นบัณฑิต มีความรู้สูง ต่างพากันเพ่งโทษ
ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระเทวทัตต์จึงได้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายข้อห้าม
ในพุทธจักร ของพระผู้มีพระภาคเล่า
                ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็น
ผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า ไฉน พระเทวทัตต์จึงได้ตะเกียกตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายข้อห้ามใน
พุทธจักรเล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
                                                                                ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท
                ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน
เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระเทวทัตต์ว่า ดูกรเทวทัตต์ ข่าวว่า เธอตะเกียก
ตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายข้อห้ามในพุทธจักร จริงหรือ?
                พระเทวทัตต์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ
ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ดูกรโมฆบุรุษ ไฉน เธอจึงได้ตะเกียก
ตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายข้อห้ามในพุทธจักรเล่า
                ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส หรือเพื่อความเสื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น
เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่น ของชนบาง
พวกที่เลื่อมใสแล้ว


                                                            หน้าที่ ๗๑๓

                ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงติเตียนพระเทวทัตต์ โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่ง
ความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ
ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความ
มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภ
ความเพียร โดยอเนกปริยาย แล้วทรงกระทำธรรมีกถา ที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่
เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย
อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะ
บังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง
ไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑
เพื่อถือตามพระวินัย ๑
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                                พระบัญญัติ
                ๑๔. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุใด ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงหรือ
ถือเอาอธิกรณ์อันเป็นเหตุแตกกัน ยกย่องยันอยู่ ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าว
อย่างนี้ว่า ท่านอย่าได้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง หรืออย่าได้ถือเอา
อธิกรณ์อันเป็นเหตุแตกกันยกย่องยันอยู่ ขอท่านจงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์ เพราะว่า
สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศเดียวกันย่อมอยู่ผาสุก
แลภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุนั้น
อันภิกษุทั้งหลาย พึงสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบสามจบ เพื่อให้สละกรรมนั้นเสีย หาก
เธอถูกสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบสามจบอยู่ สละกรรมนั้นเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็น
การดี หากเธอไม่สละเสีย เป็นสังฆาทิเสส.
                                                                เรื่องพระเทวทัตต์ จบ.


                                                            หน้าที่ ๗๑๔

                                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๕๙๔] บทว่า อนึ่ง...ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติ
อย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด  มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์
อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง...ใด.
                บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ที่ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่าภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลาย
แล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ
อรรถว่าเป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า
ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อัน
ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกัน อุปสมบทให้ด้วย
ญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
                สงฆ์ที่ชื่อว่า ผู้พร้อมเพรียง คือมีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสีมาเดียวกัน,
                คำว่า ตะเกียกตะกายเพื่อทำลาย คือ แสวงหาพวก ร่วมเป็นก๊ก ด้วยหมายมั่นว่า
ไฉนภิกษุเหล่านี้ พึงแตกกัน พึงแยกกัน พึงเป็นพรรคกัน.
                คำว่า หรือ...อธิกรณ์อันเป็นเหตุแตกกัน ได้แก่ วัตถุเป็นเหตุกระทำการแตกกัน
๑๘ อย่าง.
                บทว่า ถือเอา คือ ยึดเอา.
                บทว่า ยกย่อง คือ แสดง.
                บทว่า ยันอยู่ คือ ไม่กลับคำ.
                [๕๙๕] บทว่า ภิกษุนั้น ได้แก่ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์.
                บทว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ภิกษุเหล่าอื่น อธิบายว่า ภิกษุเหล่าใดได้เห็น
ภิกษุเหล่าใดได้ยิน ภิกษุเหล่านั้นพึงว่ากล่าวภิกษุผู้ทำลายสงฆ์รูปนั้นว่า ท่านอย่าได้ตะเกียกตะกาย
เพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง หรืออย่าได้ถือเอาอธิกรณ์อันเป็นเหตุแตกกัน ยกย่องยันอยู่ ขอท่าน
จงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์ เพราะว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศ
เดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สอง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม หากเธอสละเสีย


                                                            หน้าที่ ๗๑๕

ได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากเธอไม่สละเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลายทราบแล้วไม่ว่า
กล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงคุมตัวมาสู่ท่ามกลางสงฆ์ แล้วพึงว่ากล่าว
ว่า ท่านอย่าได้ตะเกียกตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง หรืออย่าได้ถือเอาอธิกรณ์อันเป็น
เหตุแตกกันยกย่องยันอยู่ ขอท่านจงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์ เพราะว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน
ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศเดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก ดังนี้ พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สอง
พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม หากเธอสละเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากเธอไม่สละเสีย
ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                วิธีสวดสมนุภาสน์
                [๕๙๖] ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสวดสมนุ-
ภาสน์อย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
                                                                กรรมวาจาสวดสมนุภาสน์
                ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ ตะเกียกตะกายเพื่อทำลาย
สงฆ์ผู้พร้อมเพรียง เธอไม่สละเรื่องนั้น ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง
สวดสมนุภาสน์ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย นี่เป็นญัตติ.
                ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ ตะเกียกตะกายเพื่อ
ทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง เธอไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้
สละเรื่องนั้น การสวดสมนุภาสน์ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่าน
ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
                ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุผู้มี
ชื่อนี้ผู้นี้ ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง เธอไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวด-
สมนุภาสน์ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น การสวดสมนุภาสน์ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้
สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงพูด.
                ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ
ผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง เธอไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวด
สมนุภาสน์ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น การสวดสมนุภาสน์ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้
สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงพูด.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘