พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ หน้า 526-530

                                                            หน้าที่ ๕๒๖

                                                                                เรื่องพยายามแต่มิได้จับต้อง
                ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งพยายามว่าจะจับสตรี แต่มิได้จับต้อง เธอได้มีความรังเกียจ
ว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี-
พระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                                สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๒ จบ.
                                                                ______________________


                                                            หน้าที่ ๕๒๗

                                                                สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓
                                                                เรื่องพระอุทายี
                [๓๙๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกะคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีอยู่ในวิหารชายป่า สตรีเป็นอันมาก
ได้พากันไปสู่อาราม มีความประสงค์จะชมวิหาร จึงเข้าไปหาท่านพระอุทายีกราบเรียนว่า พวกดิฉัน
ประสงค์จะชมวิหารของพระคุณเจ้า เจ้าค่ะ
                จึงท่านพระอุทายีเชิญสตรีเหล่านั้นให้ชมวิหารแล้ว กล่าวมุ่งวัจจมรรค ปัสสาวมรรค ของ
สตรีเหล่านั้น ชมบ้าง ติบ้าง ขอบ้าง อ้อนวอนบ้าง ถามบ้าง ย้อนถามบ้าง บอกบ้าง สอนบ้าง
ด่าบ้าง สตรีเหล่านั้นจำพวกที่หน้าด้าน ฐานนักเลง ไม่มียางอาย บ้างก็ยิ้มพราย บ้างก็พูดยั่ว
บ้างก็ซิกซี้ บ้างก็เย้ยกับท่านพระอุทายี ส่วนจำพวกที่มีความละอายใจ ก็เลี่ยงออกไป แล้วโพน-
ทะนาภิกษุทั้งหลายว่า ท่านเจ้าข้า คำนี้ไม่สมควร ไม่เหมาะ แม้สามีดิฉันพูดอย่างนี้ ดิฉันยังไม่
ปรารถนา ก็นี่จะประโยชน์อะไรด้วยท่านพระอุทายี
                ภิกษุทั้งหลาย บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อ
สิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุทายีจึงได้พูดเคาะมาตุคาม ด้วยวาจาอัน
ชั่วหยาบเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
                                                                                ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท
                ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน
เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วตรัสสอบถามท่านพระอุทายีว่า ดูกรอุทายี ข่าวว่าเธอพูดเคาะมาตุคาม
ด้วยวาจาอันชั่วหยาบ จริงหรือ?
                ท่านพระอุทายีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ
ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเธอจึงได้พูดเคาะมาตุคาม ด้วยวาจา
อันชั่วหยาบเล่า
                ดูกรโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยายเพื่อคลายความกำหนัด ไม่ใช่เพื่อมี
ความกำหนัด เพื่อความพราก ไม่ใช่เพื่อความประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่เพื่อมีความถือ


                                                            หน้าที่ ๕๒๘

มั่น มิใช่หรือ เมื่อธรรมชื่อนั้น อันเราแสดงแล้ว เพื่อคลายความกำหนัด เธอยังจักคิดเพื่อมี
ความกำหนัด เราแสดงเพื่อความพราก เธอยังจักคิดเพื่อความประกอบ เราแสดงเพื่อความไม่ถือ
มั่น เธอยังจักคิดเพื่อมีความถือมั่น
                ดูกรโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยายเพื่อเป็นที่สำรอกแห่งราคะ เพื่อ
เป็นที่สร่างแห่งความเมา เพื่อเป็นที่ดับสูญแห่งความระหาย เพื่อเป็นที่หลุดถอนแห่งอาลัย เพื่อ
เป็นที่เข้าไปตัดแห่งวัฏฏะ เพื่อเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับทุกข์
เพื่อปราศจากตัณหาเครื่องร้อยรัด มิใช่หรือ
                ดูกรโมฆบุรุษ การละกาม การกำหนดรู้ความหมายในกาม การกำจัดความระหายในกาม
การเพิกถอนความตรึกอันเกี่ยวด้วยกาม การระงับความกลัดกลุ้มเพราะกาม เราบอกไว้แล้วโดย
อเนกปริยาย มิใช่หรือ
                ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น
เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่
เลื่อมใสแล้ว
                พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระอุทายีโดยอเนกปริยายดั่งนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความ
เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ
คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย
ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใสแล้ว การไม่สะสม การปรารภความเพียร
โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุ
ทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจ
ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่ม
บุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดใน
ปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑
เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือ
ตามพระวินัย ๑
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-


                                                            หน้าที่ ๕๒๙

                                                                                พระปฐมบัญญัติ
                ๗. ๓. อนึ่ง ภิกษุใด กำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว พูดเคาะมาตุคาม
ด้วยวาจาชั่วหยาบ เหมือนชายหนุ่มพูดเคาะหญิงสาวด้วยวาจาพาดพิงเมถุน เป็น-
สังฆาทิเสส.
                                                                เรื่องพระอุทายี จบ.
                                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๓๙๘] บทว่า อนึ่ง...ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติอย่างใด
มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระ
ก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง...ใด
                บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ที่ชื่อว่า  ภิกษุ เพราะอรรถ
ว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ
โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญาชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ
อรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้เจริญ ชื่อว่า
ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ
อรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบท
ให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียง
กันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุถกรรมอันไม่กำเริบควรแก่ฐานะนี้ พระผู้มีพระภาคทรงประสงค์ว่า
ภิกษุ ในอรรถนี้
                ที่ชื่อว่า กำหนัดแล้ว คือมีความยินดี มีความเพ่งเล็ง มีจิตปฏิพัทธ์
                บทว่า แปรปรวนแล้ว ความว่า จิตแม้อันราคะย้อมแล้ว ก็แปรปรวน แม้อันโทสะ
ประทุษร้ายแล้ว ก็แปรปรวน แม้อันโมหะให้ลุ่มหลงแล้วก็แปรปรวนแต่ที่ว่า แปรปรวนแล้ว
ในอรรถนี้ ทรงประสงค์จิตอันราคะย้อมแล้ว
                ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่หญิงมนุษย์ ไม่ใช่หญิงยักษ์ ไม่ใช่หญิงเปรต ไม่ใช่สัตว์
ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นหญิงที่รู้เดียงสา สามารถทราบถ้อยคำที่เป็นสุภาษิต ทุพภาษิต วาจาชั่วหยาบ
และสุภาพ


                                                            หน้าที่ ๕๓๐

                วาจาที่ชื่อว่า ชั่วหยาบ ได้แก่ วาจาที่พาดพิงวัจจมรรค ปัสสาวมรรค และเมถุนธรรม
                บทว่า พูดเคาะ คือที่เรียกกันว่า ประพฤติล่วงเกิน
                คำว่า เหมือนชายหนุ่มหญิงสาว ได้แก่เด็กชายรุ่นกับเด็กหญิงรุ่น คือหนุ่มกับสาว
ชายบริโภคกามกับหญิงบริโภคกาม
                บทว่า ด้วยวาจาพาดพิงเมถุน ได้แก่ถ้อยคำที่เกี่ยวด้วยเมถุนธรรม
                บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น ชักเข้าหาอาบัติเดิม
ให้มานัต เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้นจึงตรัสเรียก
ว่า สังฆาทิเสส คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของอาบัตินิกายนั้นแล
แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.
                                                                                บทภาชนีย์
                                                                                มาติกา
                [๓๙๙] มุ่งมรรคทั้งสอง พูดชม ก็ดี พูดติ ก็ดี พูดขอ ก็ดี พูดอ้อนวอน ก็ดี ถาม
ก็ดี ย้อนถาม ก็ดี บอก ก็ดี สอน ก็ดี ด่า ก็ดี
                [๔๐๐] ที่ชื่อว่า พูดชม คือ ชม พรรณนา สรรเสริญ มรรคทั้งสอง
                ที่ชื่อว่า พูดติ คือ ด่า ว่า ติเตียน มรรคทั้งสอง
                ที่ชื่อว่า พูดขอ คือ พูดว่า โปรดให้แก่เรา โปรดยกให้แก่เรา ควรจะให้แก่เรา ดังนี้
เป็นต้น
                ที่ชื่อว่า พูดอ้อนวอน คือ พูดว่า เมื่อไรมารดาของเธอจักเลื่อมใส เมื่อไรบิดาของเธอจัก
เลื่อมใส เมื่อไรเทวดาของเธอจักเลื่อมใส เมื่อไรโอกาสดีจักมีแก่เธอ เมื่อไรเวลาดีจักมีแก่เธอ
เมื่อไรยามดีจักมีแก่เธอ เมื่อไรฉันจักได้เมถุนธรรมของเธอ ดังนี้เป็นต้น
                ที่ชื่อว่า ถาม คือ ถามว่า เธอให้เมถุนธรรมแก่สามีอย่างไร ให้แก่ชู้อย่างไร ดังนี้เป็นต้น
                ที่ชื่อว่า ย้อนถาม คือ สอบถามดูว่า ข่าวว่า เธอให้เมถุนธรรมแก่สามีอย่างนี้หรือ ให้
แก่ชู้อย่างนี้หรือ ดังนี้เป็นต้น
                ที่ชื่อว่า บอก คือ ถูกเขาถามแล้วบอกว่า เธอจงให้อย่างนี้ เมื่อให้อย่างนี้ จักเป็นที่รัก
ใคร่และพอใจของสามี ดังนี้เป็นต้น
                ที่ชื่อว่า สอน คือ เขาไม่ได้ถาม บอกเองว่า เธอจงให้อย่างนี้ เมื่อให้อย่างนี้ จักเป็น
ที่รักใคร่และพอใจของสามี ดังนี้เป็นต้น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘