พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ หน้า 441-445

                                                            หน้าที่ ๔๔๑

พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ปล่อยสุกกะเป็นไปด้วยความจงใจ เป็นสังฆาทิเสส
แต่อสุจิของพวกเราเคลื่อนโดยฝัน ทั้งเจตนาในความฝันนี้จะว่ามีก็ได้ ชรอยพวกเรา ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เจตนานี้มีอยู่ แต่นั่นเป็นอัพโพหาริก
                                                                ทรงบัญญัติพระอนุบัญญัติ
                ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ
เหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติ
สิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                                พระอนุบัญญัติ
                ๕. ๑. ก. ปล่อยสุกกะเป็นไปด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝันเป็นสังฆาทิเสส.
                                                                เรื่องภิกษุหลายรูป จบ.
                                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๓๐๓] บทว่า เป็นไปด้วยความจงใจ ความว่า รู้อยู่ รู้ดีอยู่ จงใจ ตั้งใจละเมิด
                บทว่า สุกกะ อธิบายว่า สุกกะมี ๑๐ อย่าง คือ สุกกะสีเขียว ๑ สุกกะสีเหลือง ๑
สุกกะสีแดง ๑ สุกกะสีขาว ๑ สุกกะสีเหมือนเปรียง ๑ สุกกะสีเหมือนน้ำท่า ๑ สุกกะสีเหมือน
น้ำมัน ๑ สุกกะสีเหมือนนมสด ๑ สุกกะสีเหมือนนมส้ม ๑ สุกกะสีเหมือนเนยใส ๑
                การกระทำอสุจิให้เคลื่อนจากฐานตรัสเรียกว่า การปล่อย ชื่อว่าปล่อย
                บทว่า เว้นไว้แต่ฝัน คือ ยกเว้นความฝัน
                บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้นได้ ชักเข้าหาอาบัติ
เดิมได้ ให้มานัตได้ เรียกเข้าหมู่ได้ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น
จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของหมวดอาบัติ
นั้นแล แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.


                                                            หน้าที่ ๔๔๒

                                                                                บทภาชนีย์
                                                                                (อุบาย ๔)
                [๓๐๔] ภิกษุปล่อยสุกกะในรูปภายใน ๑ ปล่อยสุกกะในรูปภายนอก ๑ ปล่อยสุกกะ
ในรูปทั้งที่เป็นภายในทั้งที่เป็นภายนอก ๑ ปล่อยเมื่อยังสะเอวให้ไหวในอากาศ ๑
                                                                                (กาล ๕)
                ปล่อยเมื่อเวลาเกิดความกำหนัด ๑ ปล่อยเมื่อเวลาปวดอุจจาระ ๑ ปล่อยเมื่อเวลาปวด
ปัสสาวะ ๑ ปล่อยเมื่อเวลาต้องลม ๑ ปล่อยเมื่อเวลาถูกบุ้งขน ๑
                                                                (ความประสงค์ ๑๐)
                ปล่อยเพื่อประสงค์ความหายโรค ๑ ปล่อยเพื่อประสงค์ความสุข ๑ ปล่อยเพื่อประสงค์เป็น
ยา ๑ ปล่อยเพื่อประสงค์ให้ทาน ๑ ปล่อยเพื่อประสงค์เป็นบุญ ๑ ปล่อยเพื่อประสงค์บูชายัญ ๑
ปล่อยเพื่อประสงค์ไปสวรรค์ ๑ ปล่อยเพื่อประสงค์เป็นพืช ๑ ปล่อยเพื่อประสงค์จะทดลอง ๑
ปล่อยเพื่อประสงค์ความสนุก ๑
                                                                (วัตถุประสงค์ ๑๐)
                ปล่อยสุกกะสีเขียว ๑ ปล่อยสุกกะสีเหลือง ๑ ปล่อยสุกกะสีแดง ๑ ปล่อยสุกกะสีขาว ๑
ปล่อยสุกกะสีเหมือนเปรียง ๑ ปล่อยสุกกะสีเหมือนน้ำท่า ๑ ปล่อยสุกกะสีเหมือนน้ำมัน ๑
ปล่อยสุกกะสีเหมือนนมสด ๑ ปล่อยสุกกะสีเหมือนนมส้ม ๑ ปล่อยสุกกะสีเหมือนเนยใส ๑
                [๓๐๕] บทว่า รูปภายใน ได้แก่รูปที่มีวิญญาณครอง เป็นภายใน
                บทว่า รูปภายนอก ได้แก่รูปที่มีวิญญาณครอง หรือรูปที่ไม่มีวิญญาณครอง เป็นภายนอก
                บทว่า รูปทั้งที่เป็นภายในทั้งที่เป็นภายนอก ได้แก่รูปทั้งสองนั้น
                บทว่า เมื่อยังสะเอวให้ไหวในอากาศ คือเมื่อพยายามในอากาศ องค์กำเนิดเป็นอวัยวะ
ใช้การได้
                บทว่า เมื่อเวลาเกิดความกำหนัด คือเมื่อถูกราคะบีบคั้นแล้ว องค์กำเนิดเป็นอวัยวะ
ใช้การได้
                บทว่า เมื่อเวลาปวดอุจจาระ คือเมื่อปวดอุจจาระ องค์กำเนิดเป็นอวัยวะใช้การได้
                บทว่า เมื่อเวลาปวดปัสสาวะ คือเมื่อปวดปัสสาวะ องค์กำเนิดเป็นอวัยวะใช้การได้
                บทว่า เมื่อเวลาต้องลม คือเมื่อถูกลมโชยแล้ว องค์กำเนิดเป็นอวัยวะใช้การได้


                                                            หน้าที่ ๔๔๓

                บทว่า เมื่อเวลาถูกบุ้งขน คือเมื่อถูกบุ้งขนเบียดเบียนแล้ว องค์กำเนิดเป็นอวัยวะ
ใช้การได้
                บทว่า เพื่อประสงค์ความหายโรค คือเพื่อหวังว่าจักเป็นคนไม่มีโรค
                บทว่า เพื่อประสงค์ความสุข คือเพื่อหวังว่าจักยังสุขเวทนาให้เกิด
                บทว่า เพื่อประสงค์เป็นยา คือเพื่อมุ่งว่าจักเป็นยา
                บทว่า เพื่อประสงค์ให้ทาน คือเพื่อมุ่งว่าจักให้ทาน
                บทว่า เพื่อประสงค์เป็นบุญ คือเพื่อมุ่งว่าจักเป็นบุญ
                บทว่า เพื่อประสงค์บูชายัญ คือเพื่อมุ่งว่าจักบูชายัญ
                บทว่า เพื่อประสงค์ไปสวรรค์ คือเพื่อมุ่งว่าจักได้ไปสวรรค์
                บทว่า เพื่อประสงค์เป็นพืช คือเพื่อมุ่งว่าจักเป็นพืช
                บทว่า เพื่อประสงค์ทดลอง คือเพื่อมุ่งว่าจักทดลองดูว่า สุกกะจักเป็นสีเขียว สีเหลือง
สีแดง สีขาว สีเหมือนเปรียง สีเหมือนน้ำท่า สีเหมือนน้ำมัน สีเหมือนนมสด สีเหมือน
นมส้ม หรือสีเหมือนเนยใส
                บทว่า เพื่อประสงค์ความสนุก คือมีความมุ่งหมายจะเล่น.
                                                                สุทธิกสังฆาทิเสส
                                                                อุบาย ๔ อย่าง
                [๓๐๖] ภิกษุจงใจ พยายาม ในรูปภายใน สุกกะเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
                ภิกษุจงใจ พยายาม ในรูปภายนอก สุกกะเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
                ภิกษุจงใจ พยายาม ในรูปทั้งที่เป็นภายใน ทั้งที่เป็นภายนอก สุกกะเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
                ภิกษุจงใจ พยายาม เมื่อยังสะเอวให้ไหวในอากาศ สุกกะเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
                                                                                กาล ๕ อย่าง
                ภิกษุจงใจ พยายาม เมื่อเวลาเกิดความกำหนัด สุกกะเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
                ภิกษุจงใจ พยายาม เมื่อเวลาปวดอุจจาระ สุกกะเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
                ภิกษุจงใจ พยายาม เมื่อเวลาปวดปัสสาวะ สุกกะเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส


                                                            หน้าที่ ๔๔๔

                ภิกษุจงใจ พยายาม เมื่อเวลาต้องลม สุกกะเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
                ภิกษุจงใจ พยายาม เมื่อเวลาถูกบุ้งขน สุกกะเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
                                                                ความประสงค์ ๑๐ อย่าง
                ภิกษุจงใจ พยายาม เพื่อประสงค์ความหายโรค สุกกะเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
                ภิกษุจงใจ พยายาม เพื่อประสงค์ความสุข สุกกะเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
                ภิกษุจงใจ พยายาม เพื่อประสงค์เป็นยา สุกกะเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
                ภิกษุจงใจ พยายาม เพื่อประสงค์ให้ทาน สุกกะเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
                ภิกษุจงใจ พยายาม เพื่อประสงค์เป็นบุญ สุกกะเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
                ภิกษุจงใจ พยายาม เพื่อประสงค์บูชายัญ สุกกะเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
                ภิกษุจงใจ พยายาม เพื่อประสงค์ไปสวรรค์ สุกกะเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
                ภิกษุจงใจ พยายาม เพื่อประสงค์เป็นพืช สุกกะเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
                ภิกษุจงใจ พยายาม เพื่อประสงค์ทดลอง สุกกะเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
                ภิกษุจงใจ พยายาม เพื่อประสงค์ความสนุก สุกกะเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
                                                                วัตถุประสงค์ ๑๐ อย่าง
                ภิกษุจงใจ พยายาม สุกกะสีเขียวเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
                ภิกษุจงใจ พยายาม สุกกะสีเหลืองเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
                ภิกษุจงใจ พยายาม สุกกะสีแดงเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
                ภิกษุจงใจ พยายาม สุกกะสีขาวเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
                ภิกษุจงใจ พยายาม สุกกะสีเหมือนเปรียงเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
                ภิกษุจงใจ พยายาม สุกกะสีเหมือนน้ำท่าเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
                ภิกษุจงใจ พยายาม สุกกะสีเหมือนน้ำมันเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
                ภิกษุจงใจ พยายาม สุกกะสีเหมือนนมสดเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
                ภิกษุจงใจ พยายาม สุกกะสีเหมือนนมส้มเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
                ภิกษุจงใจ พยายาม สุกกะสีเหมือนเนยใสเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
                                                                สุทธิกสังฆาทิเสส จบ.


                                                            หน้าที่ ๔๔๕

                                                                                ขัณฑจักร
                                                                มีความประสงค์อย่างเดียวเป็นมูล
                [๓๐๗] ภิกษุจงใจ พยายาม เพื่อความหายโรคและเพื่อความสุข สุกกะเคลื่อน ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
                ภิกษุจงใจ พยายาม เพื่อความหายโรคและเพื่อเป็นยา สุกกะเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
                ภิกษุจงใจ พยายาม เพื่อความหายโรคและเพื่อให้ทาน สุกกะเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
                ภิกษุจงใจ พยายาม เพื่อความหายโรคและเพื่อเป็นบุญ สุกกะเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
                ภิกษุจงใจ พยายาม เพื่อความหายโรคและเพื่อบูชายัญ สุกกะเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
                ภิกษุจงใจ พยายาม เพื่อความหายโรคและเพื่อไปสวรรค์ สุกกะเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
                ภิกษุจงใจ พยายาม เพื่อความหายโรคและเพื่อเป็นพืช สุกกะเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
                ภิกษุจงใจ พยายาม เพื่อความหายโรคและเพื่อทดลอง สุกกะเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
                ภิกษุจงใจ พยายาม เพื่อความหายโรคและเพื่อความสนุก สุกกะเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
                                ขัณฑจักร มีความประสงค์อย่างเดียวเป็นมูล จบ.
                                                                                พันธจักร
                                                มีความประสงค์อย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๑
                [๓๐๘] ภิกษุจงใจ พยายาม เพื่อความสุขและเพื่อเป็นยา สุกกะเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
                ภิกษุจงใจ พยายาม เพื่อความสุขและเพื่อให้ทาน สุกกะเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
                ภิกษุจงใจ พยายาม เพื่อความสุขและเพื่อเป็นบุญ สุกกะเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘