พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ หน้า 416-420

                                                            หน้าที่ ๔๑๖

อนิมิตตสมาธิ  ...  อัปปณิหิตสมาธิ  ...  สุญญตสมาบัติ  ... อนิมิตตสมาบัติ  ...  อัปปณิหิตสมาบัติ ...
วิชชา ๓  ... สติปัฏฐาน ๔  ...  สัมมัปปธาน ๔  ... อิทธิบาท ๔  ... อินทรีย์ ๕ ... พละ ๕  ... โพชฌงค์
๗ ... อริยมรรคมีองค์ ๘  ... โสดาปัตติผล  ...  สกทาคามิผล  ... อนาคามิผล  ... อรหัตตผลด้วยอาการ
๓ อย่าง  ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่
เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
                ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายเครื่องยาอันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้แล้ว
ราคะภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... โทสะ
ภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... โมหะภิกษุนั้น
สละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
๔ อย่าง ... ๕ อย่าง  ... ๖ อย่าง  ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว
ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ
๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่
เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
                ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายเครื่องยาอันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้แล้ว
จิตของภิกษุนั้นเปิดจากราคะ ... จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโทสะ  ...  จิตของภิกษุนั้นเปิดจากโมหะ ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒
กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง
ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง  เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
                ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายเครื่องยาอันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้แล้ว
ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้ง ซึ่งปฐมฌานใน
สุญญาคาร ... ซึ่งทุติยฌานในสุญญาคาร ... ซึ่งตติยฌานในสุญญาคาร ... ซึ่งจตุตถฌานในสุญญาคาร
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง  ...  ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าว
เท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น


                                                            หน้าที่ ๔๑๗

๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                เปยยาล ๑๕ หมวด จบ.
                                                                                ปัจจัยปฏิสังยุตวารกถา จบ.
                                                                                อนาปัตติวาร
                [๒๘๑] ภิกษุสำคัญว่าได้บรรลุ ๑ ภิกษุไม่ประสงค์จะกล่าวอวด ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุ
มีจิตฟุ้งซ่าน ๑ ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนา ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติ.
                                                                                วินีตวัตถุ
                                                                                อุทานคาถา
                [๒๘๒] เรื่องสำคัญว่าได้บรรลุมรรคผล ............................. ๑ เรื่อง
เรื่องอยู่ป่า ................. ๑ เรื่อง เรื่องเที่ยวบิณฑบาต .............. ๑ เรื่อง
เรื่องอุปัชฌายะ .............. ๒ เรื่อง เรื่องอิริยาบถ .................. ๔ เรื่อง
เรื่องละสัญโญชน์ ............. ๑ เรื่อง เรื่องธรรมในที่ลับ ............... ๑ เรื่อง
เรื่องวิหาร ................. ๑ เรื่อง เรื่องบำรุง .................... ๑ เรื่อง
เรื่องทำไม่ยาก .............. ๑ เรื่อง เรื่องความเพียร ................ ๑ เรื่อง
เรื่องไม่กลัวความตาย ......... ๑ เรื่อง เรื่องความเสียหาย .............. ๑ เรื่อง
เรื่องความประกอบชอบ ........ ๑ เรื่อง เรื่องปรารภความเพียร ........... ๑ เรื่อง
เรื่องประกอบความเพียร ....... ๑ เรื่อง เรื่องอดกลั้นเวทนา .............. ๒ เรื่อง
เรื่องพราหมณ์ ............... ๕ เรื่อง เรื่องพยากรณ์มรรคผล ............ ๓ เรื่อง
เรื่องครองเรือน ............. ๑ เรื่อง เรื่องห้ามกาม .................. ๑ เรื่อง
เรื่องยินดี .................. ๑ เรื่อง เรื่องหลีกไป ................... ๑ เรื่อง
                อัฏฐิสังขลิกเปรต  เคยเป็นนายโคฆาต ............................. ๑ เรื่อง
                มังสเปสิเปรต    เคยเป็นนายโคฆาต ............................. ๑ เรื่อง
                มังสปิณฑเปรต    เคยเป็นพรานนก ............................... ๑ เรื่อง
                นิจฉวิเปรต      เคยเป็นคนฆ่าแกะ .............................. ๑ เรื่อง


                                                            หน้าที่ ๔๑๘

                อสิโลมเปรต     เคยเป็นคนฆ่าสุกร .............................. ๑ เรื่อง
                สัตติโลมเปรต    เคยเป็นพรานเนื้อ .............................. ๑ เรื่อง
                อุสุโลมเปรต     เคยเป็นนายเพชฌฆาต ........................... ๑ เรื่อง
                สูจิโลมเปรต     เคยเป็นนายสารถี .............................. ๑ เรื่อง
                สูจกเปรต       เคยเป็นคนส่อเสียด ............................. ๑ เรื่อง
                กุมภัณฑเปรต     เคยเป็นผู้พิพากษาโกงชาวบ้าน ..................... ๑ เรื่อง
                คูถนิมุคคเปรต    เคยเป็นชู้กับภรรยาเขา .......................... ๑ เรื่อง
                คูถขาทิเปรต     เคยเป็นพราหมณ์ชั่วช้า ........................... ๑ เรื่อง
                นิจฉวิตถีเปรต    เคยเป็นหญิงนอกใจผัว ........................... ๑ เรื่อง
                มังคุลิตถีเปรต    เคยเป็นหญิงแม่มด .............................. ๑ เรื่อง
                โอกิลินีเปรต     เคยเป็นหญิงขี้หึงเอาไฟครอกหญิงร่วมสามี ............. ๑ เรื่อง
                อสีสกพันธเปรต   เคยเป็นนายโจรเพชฌฆาต ........................ ๑ เรื่อง
เรื่องภิกษุเปรต .............. ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุณีเปรต ................ ๑ เรื่อง
เรื่องสิกขมานาเปรต .......... ๑ เรื่อง เรื่องสามเณรเปรต .............. ๑ เรื่อง
เรื่องสามเณรีเปรต ........... ๑ เรื่อง ซึ่งในครั้งศาสนาพระพุทธกัสสปเธอเหล่านั้นบวชแล้ว
ได้ทำกรรมลามกไว้ เรื่องแม่น้ำตโปทา ๑ เรื่อง เรื่องรบ ณ กรุงราชคฤห์ ๑ เรื่อง เรื่องช้างลงน้ำ
๑ เรื่อง เรื่องพระโสภิตะอรหันต์ ระลึกชาติได้ ๕๐๐ กัล์ป ๑ เรื่อง.
                                                                เรื่องสำคัญว่าได้บรรลุ
                [๒๘๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอวดอ้างคุณวิเศษด้วยสำคัญว่าได้บรรลุแล้วมี
ความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ไม่ต้องอาบัติเพราะสำคัญ
ว่าได้บรรลุ.
                                                                                เรื่องอยู่ป่า
                [๒๘๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ป่าด้วยตั้งใจว่าคนจักยกย่องเราด้วยวิธีนี้ คน
ยกย่องภิกษุนั้นแล้ว เธอมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้อง
อาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุไม่พึงอยู่ป่าด้วยตั้งใจเช่นนั้น ภิกษุใด
อยู่ด้วยตั้งใจเช่นนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.


                                                            หน้าที่ ๔๑๙

                                                                เรื่องเที่ยวบิณฑบาต
                ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเที่ยวบิณฑบาตด้วยตั้งใจว่า คนจักยกย่องเราด้วยวิธีนี้
คนยกย่องภิกษุนั้นแล้ว เธอมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้อง
อาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุไม่พึงเที่ยวบิณฑบาตด้วยตั้งใจเช่นนั้น
ภิกษุใดเที่ยวบิณฑบาตด้วยตั้งใจเช่นนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                เรื่องอุปัชฌายะ ๒ เรื่อง
                [๒๘๕] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า อาวุโส
พวกภิกษุสัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌายะของพวกเรา ล้วนเป็นพระอรหันต์ แล้วมีความรังเกียจ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร?
                ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้าข้า
                ภ. ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
                ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า อาวุโส พวกภิกษุอัน
เตวาสิกของพระอุปัชฌายะของพวกเรา ล้วนเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก แล้วมีความรังเกียจ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร?
                ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้าข้า
                ภ. ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
                                                                เรื่องอิริยาบถ ๔ เรื่อง
                [๒๘๖] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเดินจงกรมอยู่ด้วยตั้งใจว่า คนจักยกย่อง
เราด้วยวิธีนี้ คนยกย่องภิกษุนั้นแล้ว เธอมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุไม่พึงเดิน
จงกรมด้วยตั้งใจเช่นนั้น ภิกษุใดเดินจงกรมด้วยตั้งใจเช่นนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งยืนอยู่ด้วยตั้งใจว่า คนจักยกย่องเราด้วยวิธีนี้ คน
ยกย่องภิกษุนั้นแล้ว เธอมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค  พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า ดูกรภิกษุเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุไม่พึงยืนด้วยตั้งใจเช่นนั้น
ภิกษุใดยืนด้วยตั้งใจเช่นนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.


                                                            หน้าที่ ๔๒๐

                ๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งนั่งอยู่ด้วยตั้งใจว่า คนจักยกย่องเราด้วยวิธีนี้ คน
ยกย่องภิกษุนั้นแล้ว เธอมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุไม่พึงนั่งด้วยตั้งใจเช่นนั้น
ภิกษุใดนั่งด้วยตั้งใจเช่นนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งนอนอยู่ด้วยตั้งใจว่า คนจักยกย่องเราด้วยวิธีนี้ คน
ยกย่องภิกษุนั้นแล้ว เธอมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่าดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุไม่พึงนอนด้วยตั้งใจเช่นนั้น
ภิกษุใดนอนด้วยตั้งใจเช่นนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                เรื่องละสัญโญชน์
                [๒๘๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งพูดอวดอุตตริมนุสสธรรมแก่ภิกษุอีกรูปหนึ่ง
แม้ภิกษุนั้นก็กล่าวอวดอย่างนี้ว่า อาวุโส แม้ผมก็ละสัญโญชน์ได้ แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
                                                                เรื่องธรรมในที่ลับ
                [๒๘๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในที่ลับ พูดอวดอุตตริมนุสสธรรม ภิกษุ
ผู้รู้จิตของบุคคลอื่น ตักเตือนเธอว่า อาวุโส คุณอย่าได้พูดเช่นนั้น เพราะธรรมเช่นนั้น
ไม่มีแก่คุณ ภิกษุนั้นมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ
                ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุอีกรูปหนึ่งอยู่ในที่ลับ พูดอวดอุตตริมนุสสธรรม เทพดาตักเตือน
เธอว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า พระคุณเจ้าอย่าได้พูดเช่นนั้น เพราะธรรมนั้นไม่มีแก่พระคุณเจ้า ภิกษุ
นั้นมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ
เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                                เรื่องวิหาร
                [๒๘๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งพูดกะอุบาสกคนหนึ่งว่า ดูกรอุบาสก ภิกษุผู้อยู่
ในวิหารของท่านนั้น เป็นพระอรหันต์ และภิกษุนั้นก็อยู่ในวิหารของอุบาสกนั้น เธอมีความรังเกียจ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร?
                ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้าข้า
                ภ. ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘