พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ หน้า 301-305

                                                            หน้าที่ ๓๐๑

                                                                                การลอบวาง
                [๑๙๘] ที่ชื่อว่า การลอบวาง ได้แก่ภิกษุวางดาบ หอก ฉมวก หลาว ไม้ฆ้อน หิน
มีด ยาพิษ หรือเชือกไว้ใกล้ๆ ด้วยตั้งใจว่า บุคคลจักตายด้วยของสิ่งนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ
เขาคิดว่า เราจักตายด้วยของสิ่งนั้น แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิด ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย
ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.
                                                                                เภสัช
                [๑๙๙] ที่ชื่อว่า เภสัช ได้แก่ภิกษุให้เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อย ด้วยตั้ง
ใจว่า เขาลิ้มเภสัชนี้แล้วจักตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ  เมื่อเขาลิ้มเภสัชนั้นแล้ว ได้รับทุกขเวทนา
ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.
                                                                การนำรูปเข้าไป
                [๒๐๐] ที่ชื่อว่า การนำรูปเข้าไป ได้แก่ภิกษุนำรูปซึ่งไม่เป็นที่ชอบใจ น่ากลัว น่า-
หวาดเสียวเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาเห็นรูปนี้แล้วจักตกใจตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เข้าเห็นรูป
นั้นแล้วตกใจ ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก
                ภิกษุนำรูปซึ่งเป็นที่ชอบใจ น่ารัก น่าจับใจเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาเห็นรูปนี้แล้ว จักซูบ
ผอมตาย เพราะหาไม่ได้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาเห็นรูปนั้นแล้ว ซูปผอม เพราะหาไม่ได้ ภิกษุ
ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก
                                                                การนำเสียงเข้าไป
                ที่ชื่อว่า การนำเสียงเข้าไป ได้แก่ภิกษุนำเสียงซึ่งไม่เป็นที่ชอบใจ น่ากลัว น่าหวาด
เสียวเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาได้ยินเสียงนี้แล้ว จักตกใจตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขา
ได้ยินเสียงนั้นแล้วตกใจ ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก
                ภิกษุนำเสียงซึ่งเป็นที่ชอบใจ น่ารัก น่าจับใจเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาได้ยินเสียงนี้
แล้ว จักซูบผอมตาย เพราะหาไม่ได้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาได้ยินเสียงนั้นแล้วซูบผอม
เพราะหาไม่ได้ ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก
                                                                การนำกลิ่นเข้าไป
                ที่ชื่อว่า การนำกลิ่นเข้าไป ได้แก่ภิกษุนำกลิ่นซึ่งไม่เป็นที่ชอบใจ น่าเกลียด น่าปฏิกูล
เข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาสูดกลิ่นนี้แล้ว จักตาย เพราะเกลียด เพราะปฏิกูล ดังนี้ ต้องอาบัติ


                                                            หน้าที่ ๓๐๒

ทุกกฏ เมื่อเขาสูดกลิ่นนั้นแล้ว ได้รับทุกขเวทนา เพราะเกลียด เพราะปฏิกูล ภิกษุต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก
                ภิกษุนำกลิ่นซึ่งเป็นที่ชูใจเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาสูดกลิ่นนี้แล้วจะซูบผอมตาย เพราะ
หาไม่ได้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาสูบกลิ่นนั้นแล้วซูบผอมเพราะหาไม่ได้ ภิกษุต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก
                                                                การนำรสเข้าไป
                ที่ชื่อว่า การนำรสเข้าไป ได้แก่ภิกษุนำรสซึ่งไม่เป็นที่ชอบใจ น่าเกลียด น่าปฏิกูล
เข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาลิ้มรสนี้แล้วจักตาย เพราะเกลียด เพราะปฏิกูล ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ
เมื่อเขาลิ้มรสนั้นแล้วได้รับทุกขเวทนา เพราะเกลียด เพราะปฏิกูล ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย
เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก
                ภิกษุนำรสซึ่งเป็นที่ชอบใจเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาลิ้มรสนี้แล้วจะซูบผอม เพราะหา
ไม่ได้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาลิ้มรสนั้นแล้วซูบผอม เพราะหาไม่ได้อีกแล้ว ภิกษุต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก
                                                                การนำโผฏฐัพพะเข้าไป
                ที่ชื่อว่า การนำโผฏฐัพพะเข้าไป ได้แก่ภิกษุนำโผฏฐัพพะ ซึ่งไม่เป็นที่พอใจ มีสัมผัส
ไม่สบายและกระด้างเข้าไปด้วยตั้งใจว่า เขาถูกต้องสิ่งนี้เข้าแล้วจักตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อ
เขาถูกต้องสิ่งนั้นเข้า ได้รับทุกขเวทนา ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก
                ภิกษุนำโผฏฐัพพะซึ่งเป็นที่ชอบใจ มีสัมผัสสบาย และอ่อนนุ่มเข้าไปด้วยตั้งใจว่า เขา
ถูกสิ่งนี้แล้ว จักซูบผอมตาย เพราะหาไม่ได้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาถูกต้องสิ่งนั้นเข้าแล้ว
ซูบผอม เพราะหาไม่ได้ ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.
                                                                การนำธรรมารมณ์เข้าไป
                ที่ชื่อว่า การนำธรรมารมณ์เข้าไป ได้แก่ภิกษุแสดงเรื่องนรกแก่คนผู้ควรเกิดในนรก
ด้วยตั้งใจว่า เขาฟังเรื่องนรกนี้แล้ว จักตกใจตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาฟังเรื่องนรกนั้น
แล้วตกใจ ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.
                ภิกษุแสดงเรื่องสวรรค์แก่คนผู้ทำความดีด้วยตั้งใจว่า เขาฟังเรื่องสวรรค์นี้แล้ว จักน้อม
ใจตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาฟังเรื่องสวรรค์นั้นแล้วคิดว่าเราจักน้อมใจตาย แล้วยังทุกข-
เวทนาให้เกิด ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก.


                                                            หน้าที่ ๓๐๓

                                                                                กิริยาที่บอก
                [๒๐๑] ที่ชื่อว่า กิริยาที่บอก ได้แก่ภิกษุถูกเขาถาม แล้วบอกว่าจงตายอย่างนี้ ผู้ใด
ตายอย่างนี้ ผู้นั้นจะได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือไปสวรรค์ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะการบอก
นั้น เขาคิดว่าเราจักตาย แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิด ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้อง
อาบัติปาราชิก
                                                                                การแนะนำ
                ที่ชื่อว่า การแนะนำ ได้แก่ภิกษุอันเขาไม่ได้ถาม แต่แนะนำว่า จงตายอย่างนี้ ผู้ใด
ตายอย่างนี้ ผู้นั้นจะได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือไปสวรรค์ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะการแนะนำนั้น
เขาคิดว่าเราจักตาย แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิด ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติ
ปาราชิก.
                                                                                การนัดหมาย
                [๒๐๒] ที่ชื่อว่า การนัดหมาย ได้แก่ภิกษุทำการนัดหมายว่า จงปลงชีวิตเขาเสียตาม
คำนัดหมายนั้น ในเวลาเช้าหรือในเวลาเย็น ในเวลากลางคืนหรือกลางวัน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะการนัดหมายนั้น ภิกษุผู้รับคำสั่งปลงชีวิตเขาสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ปลงชีวิต
เขาได้ก่อนหรือหลังคำนัดหมายนั้น ภิกษุผู้สั่งเดิม ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ฆ่า ต้องอาบัติปาราชิก
                                                                                การทำนิมิต
                ที่ชื่อว่า การทำนิมิต ได้แก่ภิกษุทำนิมิตว่า ผมจักขยิบตา ยักคิ้ว หรือผงกศีรษะ ท่าน
จงปลงชีวิตเขาตามนิมิตนั้น ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับสั่ง ปลงชีวิตเขาสำเร็จตามนิมิตนั้น
ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ปลงชีวิตเขาก่อนหรือหลังนิมิตนั้น ภิกษุผู้สั่งเดิม ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุผู้ฆ่า ต้องอาบัติปาราชิก.
                                                                                อนาปัตติวาร
                [๒๐๓] ภิกษุไม่จงใจ ๑ ภิกษุไม่รู้ ๑ ภิกษุไม่ประสงค์จะให้ตาย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑
ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน ๑ ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนา ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ เหล่านี้ ไม่ต้อง
อาบัติ ดังนี้แล.
                                                                                ปฐมภาณวาร
                                                                                ในมนุสสวิคคหปาราชิก จบ


                                                            หน้าที่ ๓๐๔

                                                                                วินีตวัตถุ
                                                                                อุทานคาถา
                [๒๐๔] เรื่องพรรณนา ๑ เรื่อง        เรื่องนั่ง ๑ เรื่อง
เรื่องสาก ๑ เรื่อง                      เรื่องครก ๑ เรื่อง
เรื่องพระผู้เฒ่า ๓ เรื่อง                  เรื่องเนื้อติดคอ ๓ เรื่อง
เรื่องยาพิษ ๒ เรื่อง                     เรื่องสร้างที่อยู่ ๓ เรื่อง
เรื่องอิฐ ๓ เรื่อง                       เรื่องมีด ๓ เรื่อง
เรื่องไม้กลอน ๓ เรื่อง                   เรื่องร่างร้าน ๓ เรื่อง
เรื่องให้ลง ๓ เรื่อง                     เรื่องตก ๒ เรื่อง
เรื่องนึ่งตัว ๓ เรื่อง                     เรื่องนัตถุ์ยา ๓ เรื่อง
เรื่องนวด ๓ เรื่อง                      เรื่องให้อาบน้ำ ๓ เรื่อง
เรื่องให้ทาน้ำมัน ๓ เรื่อง                 เรื่องให้ลุกขึ้น ๓ เรื่อง
เรื่องให้ล้มลง ๓ เรื่อง                   เรื่องให้ตายด้วยข้าว ๓ เรื่อง
เรื่องให้ตายด้วยน้ำฉัน ๓ เรื่อง             เรื่องมีครรค์กับชู้ ๑ เรื่อง
เรื่องหญิงร่วมสามี ๒ เรื่อง                เรื่องฆ่าสองมารดาบุตรตาย ๑ เรื่อง
เรื่องฆ่าสองมารดาบุตรไม่ตาย ๑ เรื่อง       เรื่องให้รีด ๑ เรื่อง
เรื่องให้ร้อน ๑ เรื่อง                    เรื่องหญิงหมัน ๑ เรื่อง
เรื่องหญิงมีปกติคลอด ๑ เรื่อง              เรื่องจี้ ๑ เรื่อง
เรื่องทับ ๑ เรื่อง                       เรื่องฆ่ายักษ์ ๑ เรื่อง
เรื่องส่งไปสู่ที่มีสัตว์ร้ายและยักษ์ดุ ๙ เรื่อง     เรื่องสำคัญแน่ ๔ เรื่อง
เรื่องประหาร ๓ เรื่อง                   เรื่องพรรณนาสวรรค์ ๓ เรื่อง
เรื่องพรรณนานรก ๓ เรื่อง                เรื่องตัดต้นไม้ที่เมืองอาฬวี ๓ เรื่อง
เรื่องเผาป่า ๓ เรื่อง                    เรื่องอย่าให้ลำบาก ๑ เรื่อง
เรื่องไม่ทำตามคำของท่าน ๑ เรื่อง          เรื่องให้ดื่มเปรียง ๑ เรื่อง
                                                เรื่องให้ดื่มยาดองโลณะโสจิรกะ ๑ เรื่อง.


                                                            หน้าที่ ๓๐๕

                                                                                วินีตวัตถุ
                                                                                เรื่องพรรณนา
                [๒๐๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายได้พรรณนาคุณแห่งความ
ตายแก่ภิกษุนั้น ด้วยความกรุณา ภิกษุนั้นถึงมรณภาพแล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจว่า
พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
                                                                                เรื่องนั่ง
                [๒๐๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง นั่งทับเด็กชายที่
ที่เขาเอาผ้าเก่าคลุมไว้บนตั่งให้ตายแล้ว มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก
แล้ว ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกเธอไม่พิจารณาก่อนแล้วอย่านั่งบนอาสนะ รูปใดนั่ง
ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                                เรื่องสาก
                [๒๐๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งปูลาดอาสนะอยู่ที่โรงอาหารในละแวกบ้าน ได้
หยิบสากอันหนึ่งในสากที่เขาพิงรวมกันไว้ สากอันที่สองได้ล้มฟาดลงที่ศีรษะเด็กชายคนหนึ่ง
เด็กชายนั้นตายแล้ว เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร?
                ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้จงใจ พระพุทธเจ้าข้า
                ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ
                                                                                เรื่องครก
                ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งปูลาดอาสนะอยู่ที่โรงอาหารในละแวกบ้าน ได้เหยียบขอน-
ไม้ที่เขานำมาเพื่อทำครก เซไปทับเด็กคนหนึ่งตาย แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก
แล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ
เธอคิดอย่างไร?
                ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้จงใจ พระพุทธเจ้าข้า
                ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘