พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ หน้า 286-290

                                                            หน้าที่ ๒๘๖

จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีนั้น
ไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท.
                                                                                เรื่องพระอัชชุกะเมืองเวสาลี
                [๑๗๒] ก็โดยสมัยนั้นแล คหบดีอุปัฏฐากของท่านพระอัชชุกะในเมืองเวสาลี มีเด็กชาย
๒ คน คือ บุตรชายคนหนึ่ง หลานชายคนหนึ่ง ครั้งนั้นท่านคหบดีได้สั่งคำนี้ไว้กะท่านพระอัชชุกะ
ว่า พระคุณเจ้าข้า บรรดาเด็ก ๒ คนนี้ เด็กคนใดมีศรัทธาเลื่อมใส พระคุณเจ้าพึงบอกสถานที่
ฝังทรัพย์นี้แก่เด็กคนนั้น ดังนี้แล้วได้ถึงแก่กรรม ครั้นสมัยต่อมา หลานชายของคหบดีนั้น
เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส จึงท่านพระอัชชุกะได้บอกสถานที่ฝังทรัพย์นั้นแก่เด็กหลานชายๆ นั้น
ได้รวบรวมทรัพย์ และเริ่มบำเพ็ญทานด้วยทรัพย์สมบัตินั้นแล้ว
                ภายหลัง บุตรชายคหบดีนั้น ได้เรียนถามเรื่องนี้กะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่าน
พระอานนท์ ใครหนอเป็นทายาทของบิดาบุตรชายหรือหลานชาย
                ท่านพระอานนท์ตอบว่า คุณ ธรรมดาบุตรชายเป็นทายาทของบิดา
                บุ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระคุณเจ้าอัชชุกะนี้ ได้บอกทรัพย์สมบัติของกระผมให้แก่คู่
แข่งขันของกระผม
                อา. คุณ ท่านพระอัชชุกะไม่เป็นสมณะ
                ลำดับนั้น ท่านพระอัชชุกะได้กล่าวคำนี้กะท่านพระอานนท์ว่า อาวุโส อานนท์ ขอท่าน
ได้โปรดให้การวินิจฉัยแก่กระผมด้วยเถิด
                ก็ครั้งนั้นแล ท่านพระอุบาลีเป็นฝักฝ่ายของท่านพระอัชชุกะท่านจึงถามท่านพระอานนท์ว่า
อาวุโส อานนท์ ภิกษุใดอันเจ้าของทรัพย์สั่งไว้ว่า ขอท่านได้โปรดบอกสถานที่ฝังทรัพย์นี้แก่
บุคคลนั้น ภิกษุนั้นจะต้องอาบัติด้วยหรือ?
                อา. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติสักน้อย โดยที่สุดแม้เพียงอาบัติทุกกฏ
                อุ. อาวุโส ท่านพระอัชชุกะนี้อันเจ้าของทรัพย์สั่งไว้ว่า ขอท่านได้โปรดบอกสถานที่ฝัง
ทรัพย์นี้แก่บุคคลชื่อนี้ จึงได้บอกแก่บุคคลนั้น ท่านพระอัชชุกะไม่ต้องอาบัติ.
                                                                เรื่องเมืองพาราณสี
                [๑๗๓] ก็โดยสมัยนั้นแล สกุลอุปัฏฐากของท่านพระปิลินทวัจฉะในเมืองพาราณสี
ถูกพวกโจรปล้น และเด็ก ๒ คน ถูกพวกโจรนำตัวไป ครั้งนั้นท่านพระปิลินทวัจฉะนำเด็ก ๒ คน
นั้นมาด้วยฤทธิ์แล้วให้อยู่ในปราสาท ชาวบ้านเห็นเด็ก ๒ คน นั้นแล้ว ต่างพากันเลื่อมใสใน


                                                            หน้าที่ ๒๘๗

ท่านพระปิลินทวัจฉะเป็นอย่างยิ่งว่า นี้เป็นฤทธานุภาพของพระปิลินทวัจฉะ ภิกษุทั้งหลายพากัน
เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระปิลินทวัจฉะจึงได้นำเด็กที่ถูกพวกโจรนำตัวไปแล้ว
คืนมาเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ไม่เป็นอาบัติ เพราะวิสัยแห่งฤทธิ์ของภิกษุผู้มีฤทธิ์.
                                                                                เรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพี
                [๑๗๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุ ๒ รูป ชื่อปัณฑกะ ๑ ชื่อกปิละ ๑ เป็นสหายกัน
รูปหนึ่งอยู่ในหมู่บ้าน อีกรูปหนึ่งอยู่ในเมืองโกสัมพี ขณะเมื่อภิกษุนั้นเดินทางจากหมู่บ้านไป
เมืองโกสัมพี ข้ามแม่น้ำในระหว่างทาง เปลวมันข้นที่หลุดจากมือของพวกคนฆ่าหมูลอยติดอยู่
ที่เท้า ภิกษุนั้นได้เก็บไว้ด้วยตั้งใจว่า จักให้แก่พวกเจ้าของๆ โจทภิกษุนั้นว่า ท่านไม่เป็นสมณะ
สตรีเลี้ยงโคคนหนึ่งเห็นภิกษุนั้นข้ามแม่น้ำขึ้นมาแล้ว ได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพ
เมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นคิดว่า แม้โดยปกติ เราก็ไม่เป็นสมณะแล้ว จึงเสพเมถุนธรรมในสตรี
เลี้ยงโคนั้น ไปถึงเมืองโกสัมพีแล้ว แจ้งเรื่องนี้แก่ภิกษุทั้งหลายๆ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติปาราชิก เพราะอทินนาทาน
แต่ต้องอาบัติปาราชิก เพราะเสพเมถุนธรรมฯ
                                                เรื่องสัทธิวิหาริกพระทัฬหิกะเมืองสาคละ
                [๑๗๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุสัทธิวิหาริกของท่านพระทัฬหิกะในเมืองสาคละ ถูกความ
กระสันบีบคั้นแล้ว ได้ลักผ้าโพกของชาวร้านไป แล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระทัฬหิกะว่า กระผม
ไม่เป็นสมณะ จักลาสิกขา ขอรับ
                ท่านพระทัฬหิกะถามว่า คุณทำอะไรไว้ฯ
                ภิกษุนั้นสารภาพว่า ลักผ้าโพกของชาวร้าน ขอรับ
                ท่านพระทัฬหิกะให้นำผ้าโพกนั้นมา แล้วให้ชาวร้านตีราคาเมื่อตีราคาผ้าโพกนั้น ราคา
ไม่ถึง ๕ มาสก ท่านพระทัฬหิกะชี้แจงเหตุผลว่า คุณไม่ต้องอาบัติปาราชิก ดังนี้ ภิกษุนั้นยินดี
ยิ่งนักแล.
                                                                                ปาราชิกสิกขาบท ที่ ๒ จบ.
                                                                                ____________


                                                            หน้าที่ ๒๘๘

                                                                ตติยปาราชิกสิกขาบท
                                                                นิทานปฐมบัญญัติ เรื่องภิกษุหลายรูป
                [๑๗๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตพระนครเวสาลี ครั้งนั้นพระองค์ทรงแสดงอสุภกถา ทรงพรรณนาคุณแห่งอสุภกัมมัฏฐาน
ทรงสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอุสภกัมมัฏฐาน ทรงพรรณนาคุณอสุภสมาบัติเนืองๆ โดยอเนก
ปริยายแก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีก
ออกเร้นอยู่ตลอดกึ่งเดือน ใครๆ อย่าเข้าไปหาเรา นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปให้รูปเดียว
ภิกษุเหล่านั้นรับ รับสั่งแล้ว ไม่มีใครกล้าเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเลย นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาต
เข้าไปถวายรูปเดียว ภิกษุเหล่านั้นสนทนากันว่า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอสุภกถา ทรงพรรณนา
คุณแห่งอสุภกัมมัฏฐาน ทรงสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภกัมมัฏฐาน ทรงพรรณนาคุณแห่งอสุภ-
สมาบัติเนืองๆ โดยอเนกปริยายดังนี้ แล้วพากันประกอบความเพียรในการเจริญอสุภกัมมัฏฐาน
หลายอย่างหลายกระบวนอยู่ ภิกษุเหล่านั้น อึดอัด ระอา เกลียดชังร่างกายของตน ดุจสตรี
รุ่นสาวหรือบุรุษรุ่นหนุ่ม พอใจในการตกแต่งกาย อาบน้ำสระเกล้า มีซากศพงู ซากศพสุนัข
หรือซากศพมนุษย์มาคล้องอยู่ที่คอ พึงอึดอัด สะอิดสะเอียน เกลียดชัง ฉะนั้น จึงปลงชีวิต
ตนเองบ้าง วานกันและกันให้ปลงชีวิตบ้าง บางเหล่าก็เข้าไปหามิคลัณฑิกสมณกุตตก์ ๑ กล่าว
อย่างนี้ว่า พ่อคุณ ขอท่านได้ปลงชีวิตพวกฉันที บาตรจีวรนี้จักเป็นของท่าน ครั้งนั้นมิคลัณฑิก
สมณกุตตก์ อันภิกษุทั้งหลายจ้างด้วยบาตรจีวร จึงปลงชีวิตภิกษุเป็นอันมากแล้ว ถือดาบเปื้อน
เลือดเดินไปทางแม่น้ำวัคคุมุทา ขณะเมื่อมิคลัณฑิกสมณกุตตต์ กำลังล้างดาบที่เปื้อนเลือดนั้นอยู่
ได้มีความรำคาญ ความเดือดร้อนว่า ไม่ใช่ลาภของเราหนอ ลาภของเราไม่มีหนอ เราได้ชั่วแล้ว
หนอ เราไม่ได้ดีแล้วหนอ เราสร้างบาปไว้มากจริงหนอ เพราะเราได้ปลงชีวิตภิกษุทั้งหลาย
ซึ่งเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ขณะนั้นเทพดาตนหนึ่งผู้นับเนื่องในหมู่มาร เดินมาบนน้ำมิได้แตก
ได้กล่าวคำนี้กะเขาว่า ดีแล้ว ดีแล้ว ท่านสัตบุรุษ เป็นลาภท่าน ท่านได้ดีแล้ว ท่านได้สร้างสม
บุญไว้มาก เพราะท่านได้ช่วยส่งคนที่ยังข้ามไม่พ้นให้ข้ามพ้นได้ ครั้นมิคลัณฑิกสมณกุตตก์
ได้ทราบว่าเป็นลาภของเรา เราได้ดีแล้ว เราได้สร้างสมบุญไว้มาก เพราะเราได้ช่วยส่งคนที่ยัง
ข้ามไม่พ้นให้ข้ามพ้นได้ ดังนี้ จึงถือดาบอันคม จากวิหารเข้าไปสู่วิหาร จากบริเวณเข้าไปสู่
#๑ คนโกนผมไว้จุกนุ่งผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง ทำนองเป็นตาเถน ฯ


                                                            หน้าที่ ๒๘๙

บริเวณ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ใครยังข้ามไม่พ้น ข้าพเจ้าจะช่วยส่งให้ข้ามพ้น บรรดาภิกษุเหล่านั้น
ภิกษุเหล่าใด ยังไม่ปราศจากราคะ ความกลัว ความหวาดเสียว ความสยอง ย่อมมีแก่ภิกษุ
เหล่านั้นในเวลานั้น ส่วนภิกษุเหล่าใดปราศจากราคะแล้ว ความกลัว ความหวาดเสียว ความสยอง
ย่อมไม่มีแก่ภิกษุเหล่านั้นในเวลานั้น ครั้งนั้นมิคลัณฑิกสมณกุตตก์ ปลงชีวิตภิกษุเสียวันละ ๑
รูปบ้าง ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง ๔ รูปบ้าง ๕ รูปบ้าง ๖ รูปบ้าง ๗ รูปบ้าง ๘ รูปบ้าง ๙ รูปบ้าง
๑๐ รูปบ้าง ๒๐ รูปบ้าง ๓๐ รูปบ้าง ๔๐ รูปบ้าง ๕๐ รูปบ้าง ๖๐ รูปบ้าง.
                                                                รับสั่งให้เผดียงสงฆ์
                [๑๗๗] ครั้นล่วงกึ่งเดือนนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่ประทับเร้นแล้ว รับสั่ง
ถามท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ เหตุไฉนหนอ ภิกษุสงฆ์จึงดูเหมือนน้อยไป
                ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า เพราะพระองค์ทรงแสดง
อสุภกถา ทรงพรรณนาคุณแห่งอสุภกัมมัฏฐาน ทรงสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภกัมมัฏฐาน
ทรงพรรณนาคุณแห่งอสุภสมาบัติเนืองๆ โดยอเนกปริยายแก่ภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า และ
ภิกษุเหล่านั้นก็พากันพูดว่า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอสุภกถา ทรงพรรณนาคุณแห่งอสุภกัมมัฏฐาน
ทรงสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภกัมมัฏฐาน ทรงพรรณนาคุณแห่งอสุภสมาบัติเนืองๆ โดยอเนก
ปริยาย จึงพากันประกอบความเพียรในการเจริญอสุภกัมมัฏฐาน หลายอย่างหลายกระบวนอยู่
เธอเหล่านั้น อึดอัด ระอา เกลียดชังร่างกายของตน ดุจสตรีรุ่นสาวหรือบุรุษรุ่นหนุ่ม พอใจ
ในการตกแต่งกาย อาบน้ำ สระเกล้า มีซากศพงู ซากศพสุนัข หรือซากศพมนุษย์มาคล้องอยู่
ที่คอ จะพึงอึดอัด สะอิดสะเอียน เกลียดชัง ฉะนั้น จึงปลงชีวิตตนเองบ้าง วานกันและกัน
ให้ปลงชีวิตบ้าง บางเหล่าก็เข้าไปหามิคลัณฑิกสมณกุตตก์ กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อคุณ ขอท่านได้
ช่วยปลงชีวิตพวกฉันที บาตรจีวรนี้จะเป็นของท่าน พระพุทธเจ้าข้า ครั้นมิคลัณฑิกสมณกุตตก์
ได้บาตรจีวรเป็นค่าจ้างแล้ว จึงปลงชีวิตภิกษุเสียวันละ ๑ รูปบ้าง ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง ๔ รูป
บ้าง ๕ รูปบ้าง ๖ รูปบ้าง ๗ รูปบ้าง ๘ รูปบ้าง ๙ รูปบ้าง ๑๐ รูปบ้าง ๒๐ รูปบ้าง ๓๐ รูป
บ้าง ๔๐ รูปบ้าง ๕๐ รูปบ้าง ๖๐ รูปบ้าง ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ภิกษุสงฆ์นี้
จะพึงดำรงอยู่ในพระอรหัตตผลด้วยปริยายใด ขอพระผู้มีพระภาคจงตรัสบอกปริยายอื่นนั้นเถิด
พระพุทธเจ้าข้า


                                                            หน้าที่ ๒๙๐

                พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงเผดียงภิกษุที่อาศัยพระนคร
เวสาลีอยู่ทั้งหมด ให้ประชุมกันที่อุปัฏฐานศาลา
                เป็นดังรับสั่งพระพุทธเจ้าข้า ท่านพระอานนท์รับสนองพระพุทธพจน์แล้ว จึงเผดียง
ภิกษุสงฆ์ที่อาศัยพระนครเวสาลีอยู่ทั้งสิ้น ให้ประชุมที่อุปัฏฐานศาลา แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุสงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว ขอพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดทราบ
กาลอันควร ในบัดนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า.
                                                                ทรงแสดงอานาปานสติสมาธิกถา
                [๑๗๘] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าสู่อุปัฏฐานศาลาประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์
ที่จัดไว้ถวาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้สมาธิในอานาปานสตินี้แล
อันภิกษุอบรมทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาป
อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับพลัน ดุจละอองและฝุ่นที่ฟุ้ง ขึ้นใน
เดือนท้ายฤดูร้อน ฝนใหญ่ที่ตกในสมัยมิใช่ฤดูกาล ย่อมยังละอองและฝุ่นนั้นๆ ให้อันตรธาน
สงบไปได้ โดยฉับพลัน ฉะนั้น
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงเป็น
คุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธาน
สงบไปโดยฉับพลัน
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ตาม อยู่ ณ โคนไม้ก็ตาม อยู่ใน
สถานที่สงัดก็ตาม นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรงดำรงสติบ่ายหน้าสู่กรรมฐาน ภิกษุนั้นย่อมมีสติหายใจ
เข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึกว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึก
ว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึกว่า
หายใจออกสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ย่อม
สำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งปีติหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขารหายใจ
เข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘