พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ หน้า 256-260

                                                            หน้าที่ ๒๕๖

                                                                นิมิตตกัมมวิภาค
                [๑๒๐] ที่ชื่อว่า การทำนิมิต มีอธิบายว่า ภิกษุทำนิมิตว่า เราจักขยิบตา จักยักคิ้ว
หรือจักผงกศีรษะ ท่านจงลักทรัพย์นั้น ตามนิมิตนั้น ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลัก
ลักทรัพย์นั้นได้ ตามนิมิตนั้น ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ภิกษุลักลักทรัพย์นั้นได้ก่อนหรือ
หลังนิมิตนั้น ภิกษุผู้ทำนิมิตไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลักต้องอาบัติปาราชิก.
                                                                อาณัตติกประโยค
                [๑๒๑] ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลักเข้าใจทรัพย์
นั้นแน่ จึงลักทรัพย์นั้นมา ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป
                ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลักเข้าใจทรัพย์นั้นแน่
แต่ลักทรัพย์อย่างอื่นมา ภิกษุผู้สั่ง ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลัก ต้องอาบัติปาราชิก
                ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลักเข้าใจทรัพย์อย่างอื่น
แต่ลักทรัพย์นั้นมา ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป
                ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลักเข้าใจทรัพย์อย่างอื่น
จึงลักทรัพย์อย่างอื่นมา ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลัก ต้องอาบัติปาราชิก
                ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงบอกแก่ภิกษุชื่อนี้ว่า ภิกษุชื่อนี้จงไปบอกแก่ภิกษุผู้มีชื่ออย่างนี้ว่า
ภิกษุผู้มีชื่ออย่างนี้จงไปลักทรัพย์ชื่อนี้มา ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับสั่งบอกแก่ภิกษุ
นอกนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลักรับคำภิกษุผู้สั่งเดิม ต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุผู้ลัก ลักทรัพย์
มาได้ ต้องอาบัติปาราชิกทุกรูป
                ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงบอกแก่ภิกษุชื่อนี้ว่า ภิกษุชื่อนี้จงไปบอกแก่ภิกษุผู้มีชื่ออย่างนี้ว่า
ภิกษุผู้มีชื่ออย่างนี้จงไปลักทรัพย์ชื่อสิ่งนี้มา ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับสั่ง ๆ ภิกษุอื่นต้อง
อาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลัก รับคำ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลัก ลักทรัพย์นั้นมาได้ ภิกษุผู้สั่งเดิม
ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้สั่งต่อและภิกษุผู้ลัก ต้องอาบัติปาราชิก
                ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับสั่งนั้นไปแล้วกลับมา
บอกอีกว่า ผมไม่อาจลักทรัพย์นั้นได้ ภิกษุผู้สั่งนั้นสั่งใหม่ว่าท่านสามารถเมื่อใด จงลักทรัพย์นั้น
เมื่อนั้น ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลัก ลักทรัพย์นั้นมาได้ ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป


                                                            หน้าที่ ๒๕๗

                ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้สั่งนั้น ครั้นสั่งภิกษุนั้น
แล้ว เกิดความร้อนใจ แต่ไม่พูดให้ได้ยินดีว่า อย่าลักเลย ภิกษุผู้ลัก ลักทรัพย์นั้นมาได้
ต้องอาบัติปาราชิก ๒ รูป
                ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้สั่งนั้น ครั้นสั่งภิกษุนั้น
แล้ว เกิดความร้อนใจ จึงพูดให้ได้ยินว่า อย่าลักเลย ภิกษุผู้ลักนั้นตอบว่า ท่านสั่งผมแล้ว
ผมลักทรัพย์นั้นมาได้ ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลัก ต้องอาบัติปาราชิก
                ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้สั่งนั้น ครั้นสั่งภิกษุนั้น
แล้ว เกิดความร้อนใจ จึงพูดให้ได้ยินว่า อย่าลักเลย ภิกษุผู้รับสั่งนั้น รับคำว่าดีละ แล้วงดเสีย
ไม่ต้องอาบัติทั้ง ๒ รูป.
                                                                อาการแห่งอวหาร
                                                                อาการ ๕ อย่าง
                [๑๒๒] ปาราชิกอาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๕ อย่าง
คือ ทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ มีความสำคัญว่าทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ ทรัพย์มีค่ามากได้ราคา
๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว
ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก ๑
                ถุลลัจจยาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือทรัพย์
อันผู้อื่นหวงแหน ๑ มีความสำคัญว่าทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ ทรัพย์มีค่าน้อยได้ราคาเกินกว่า ๑
มาสก หรือหย่อนกว่า ๕ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว
ต้องอาบัติทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑
                ทุกกฏาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ทรัพย์
อันผู้อื่นหวงแหน ๑ มีความสำคัญว่าทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ ทรัพย์มีค่าน้อย ได้ราคา ๑ มาสก
หรือหย่อนกว่า ๑ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้อง
อาบัติทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑
                                                                อาการ ๖ อย่าง
                [๑๒๓] ปาราชิกอาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๖ อย่าง
คือ มิใช่มีความสำคัญว่าเป็นของตน ๑ มิใช่ถือเอาด้วยวิสาสะ ๑ มิใช่ขอยืม ๑ ทรัพย์มีค่ามากได้


                                                            หน้าที่ ๒๕๘

ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ
ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก ๑
                ถุลลัจจยาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ
มิใช่มีความสำคัญว่าเป็นของตน ๑ มิใช่ถือเอาด้วยวิสาสะ ๑ มิใช่ขอยืม ๑ ทรัพย์มีค่าน้อยได้ราคา
เกินกว่า ๑ มาสก หรือหย่อนกว่า ๕ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ
ทำให้ไหว ต้องอาบัติทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑
                ทุกกฏาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ มิใช่
มีความสำคัญว่าเป็นของตน ๑ มิใช่ถือเอาด้วยวิสาสะ ๑ มิใช่ขอยืม ๑ ทรัพย์มีค่าน้อยได้ราคา ๑
มาสก หรือหย่อนกว่า ๑ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว
ต้องอาบัติทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑.
                                                                อาการ ๕ อย่าง
                [๑๒๔] ทุกกฏาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๕ อย่าง
คือ ทรัพย์มิใช่ของอันผู้อื่นหวงแหน ๑ มีความสำคัญว่าทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ ทรัพย์มีค่ามาก
ได้ราคา ๕ มาสกหรือเกินกว่า ๕ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ
ทำให้ไหว ต้องอาบัติทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑
                ทุกกฏาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ทรัพย์-
มิใช่ของอันผู้อื่นหวงแหน ๑ มีความสำคัญว่าทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ ทรัพย์มีค่าน้อยได้ราคาเกิน
๑ มาสก หรือหย่อน ๕ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว
ต้องอาบัติทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑
                ทุกกฏาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ทรัพย์
มิใช่ของอันผู้อื่นหวงแหน ๑ มีความสำคัญว่าทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ ทรัพย์มีค่าน้อยได้ราคา ๑
มาสก หรือหย่อนกว่า ๑ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว
ต้องอาบัติทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑.
                                                                                อนาปัตติวาร
                [๑๒๕] ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นของตน ๑ ถือเอาด้วยวิสาสะ ๑ ขอยืม ๑ ทรัพย์อัน
เปรตหวงแหน ๑ ทรัพย์อันสัตว์ดิรัจฉานหวงแหน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล ๑ ภิกษุ
วิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ เหล่านี้ ไม่ต้องอาบัติ.
                                                ปฐมภาณวาร ในอทินนาทานสิกขาบท จบ.


                                                            หน้าที่ ๒๕๙

                                                                                วินีตวัตถุ
                                                                                อุทานคาถา
                [๑๒๖] พระอุบาลีเถระชี้แจง             เรื่องช่างย้อม ๕ เรื่อง
เรื่องผ้าห่มที่ตาก ๔ เรื่อง                    เรื่องกลางคืน ๕ เรื่อง
เรื่องทรัพย์ที่ภิกษุนำไปเอง ๕ เรื่อง             เรื่องตอบคำถามนำ ๕ เรื่อง
เรื่องลม ๒ เรื่อง                          เรื่องศพที่ยังสด ๑ เรื่อง
เรื่องสับเปลี่ยนสลาก ๑ เรื่อง                 เรื่องไฟฟ้า ๑ เรื่อง
เรื่องเนื้อเดนสัตว์ ๕ เรื่อง                   เรื่องส่วนไม่มีมูล ๕ เรื่อง
เรื่องข้าวสุกในสมัยข้าวแพง ๑ เรื่อง            เรื่องเนื้อในสมัยข้าวแพง ๑ เรื่อง
เรื่องขนมในสมัยข้าวแพง ๑ เรื่อง              เรื่องน้ำตาลกรวด ๑ เรื่อง
เรื่องขนมต้ม ๑ เรื่อง                       เรื่องบริขาร ๕ เรื่อง
เรื่องถุง ๑ เรื่อง                          เรื่องฟูก ๑ เรื่อง
เรื่องราวจีวร ๑ เรื่อง                      เรื่องไม่ออกไป ๑ เรื่อง
เรื่องถือวิสาสะฉันของเคี้ยว ๑ เรื่อง            เรื่องสำคัญว่าของตน ๒ เรื่อง
เรื่องไม่ลัก ๗ เรื่อง                        เรื่องลัก ๗ เรื่อง
เรื่องลักของสงฆ์ ๗ เรื่อง                    เรื่องลักดอกไม้ ๒ เรื่อง
เรื่องพูดตามคำบอก ๓ เรื่อง                  เรื่องนำมณีล่วงด่านภาษี ๓ เรื่อง
เรื่องปล่อยหมู ๒ เรื่อง                      เรื่องปล่อยเนื้อ ๒ เรื่อง
เรื่องปล่อยปลา ๒ เรื่อง                     เรื่องกลิ้งทรัพย์ในยาน ๑ เรื่อง
เรื่องชิ้นเนื้อ ๒ เรื่อง                       เรื่องไม้ ๒ เรื่อง
เรื่องผ้าบังสุกุล ๑ เรื่อง                     เรื่องข้ามน้ำ ๒ เรื่อง
เรื่องฉันทีละน้อย ๑ เรื่อง                    เรื่องชวนกันลัก ๒ เรื่อง
เรื่องกำมือที่เมืองสาวัตถี ๔ เรื่อง              เรื่องเนื้อเดน ๒ เรื่อง
เรื่องหญ้า ๒ เรื่อง                         เรื่องให้แบ่งของสงฆ์ ๗ เรื่อง
เรื่องไม่ใช่เจ้าของ ๗ เรื่อง                  เรื่องยืมไม้ของสงฆ์ ๑ เรื่อง
เรื่องลักน้ำของสงฆ์ ๑ เรื่อง                  เรื่องลักดินของสงฆ์ ๑ เรื่อง
เรื่องลักหญ้าของสงฆ์ ๒ เรื่อง                 เรื่องลักเสนาสนะของสงฆ์ ๗ เรื่อง


                                                            หน้าที่ ๒๖๐

                เรื่องของมีเจ้าของไม่ควรนำไปใช้ ๑ เรื่อง
                เรื่องของมีเจ้าของควรขอยืม ๑ เรื่อง
                เรื่องนางภิกษุณีชาวเมืองจัมปา ๑ เรื่อง
                เรื่องนางภิกษุณีชาวเมืองราชคฤห์ ๑ เรื่อง
                เรื่องพระอัชชุกะเมืองเวสาลี ๑ เรื่อง
                เรื่องทารกชาวเมืองพาราณสี ๑ เรื่อง
                เรื่องเมืองโกสัมพี ๑ เรื่อง
                เรื่องสัทธิวิหาริกพระทัฬหิกะเมืองสาคละ ๑ เรื่อง.
                                                                                วินีตวัตถุ
                                                                เรื่องช่างย้อม ๕ เรื่อง
                [๑๒๗] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ ไปสู่ลานตากผ้าของช่างย้อมผ้า ลักห่อผ้า
ของช่างย้อมไปแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว พวกเรา
ต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
                [๑๒๘] ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ไปสู่ลานตากผ้าของช่างย้อมเห็นผ้ามีราคา
มาก ยังไถยจิตให้เกิดแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึง-
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ เพราะ
เพียงแต่คิด
                ๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ไปสู่ลานตากผ้าของช่างย้อม เห็นผ้ามีราคามาก มี
ไถยจิตจับต้องผ้านั้นแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง
อาบัติทุกกฏ
                ๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งไปสู่ลานตากผ้าของช่างย้อม เห็นผ้ามีราคามาก มีไถย
จิตทำผ้านั้นให้ไหวแล้ว ได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พระผู้มีพระภาค ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘