พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ หน้า 251-255

                                                            หน้าที่ ๒๕๑

                ภิกษุมีไถยจิตจับต้องบุพพัณณชาติ หรืออปรัณณชาติ ซึ่งเกิดในนานั้นได้ราคา ๕ มาสก
หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว  ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน
ต้องอาบัติปาราชิก
                ภิกษุตู่เอาที่นา ต้องอาบัติทุกกฏ ยังความสงสัยให้เกิดแก่เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เจ้าของทอดธุระว่าจักไม่เป็นของเรา ต้องอาบัติปาราชิก
                ภิกษุฟ้องร้องยังโรงศาล ยังเจ้าของให้แพ้ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุผู้ฟ้องร้องยังโรงศาล
แพ้เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
                ภิกษุปักหลัก ขึงเชือก ล้อมรั้ว หรือถมคันนาให้รุกล้ำ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่ออีก
ประโยคหนึ่งจะสำเร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อประโยคนั้นสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิก.
                                                                                วัตถุฏฐวิภาค
                [๑๐๒] ที่ชื่อว่า พื้นที่ ได้แก่พื้นที่สวน พื้นที่วัด ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในพื้นที่ ได้แก่
ทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ โดยฐาน ๔ คือ ฝังอยู่ในดิน ๑ ตั้งอยู่บนพื้นดิน ๑ ลอยอยู่ในอากาศ ๑
แขวนอยู่ในที่แจ้ง ๑
                ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในพื้นที่ เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติ
ปาราชิก
                ภิกษุตู่เอาพื้นที่ ต้องอาบัติทุกกฏ ยังความสงสัยให้เกิดแก่เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เจ้าของทอดธุระว่าจักไม่เป็นของเรา ต้องอาบัติปาราชิก
                ภิกษุฟ้องร้องยังโรงศาล ยังเจ้าของให้แพ้ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุผู้ฟ้องร้องยังโรงศาล
แพ้เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
                ภิกษุปักหลัก ขึงเชือก ล้อมรั้ว หรือทำกำแพงให้รุกล้ำ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่ออีก
ประโยคหนึ่งจะสำเร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อประโยคนั้นสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิก.
                                                                                คามัฏฐวิภาค
                [๑๐๓] ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในบ้าน ได้แก่ทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในบ้าน โดยฐาน ๔ คือ ฝังอยู่
ในดิน ๑ ตั้งอยู่บนพื้นดิน ๑ ลอยอยู่ในอากาศ ๑ แขวนอยู่ในที่แจ้ง ๑


                                                            หน้าที่ ๒๕๒

                ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในบ้าน เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติ
ปาราชิก.
                                                                                อรัญญัฏฐวิภาค
                [๑๐๔] ที่ชื่อว่า ป่า ได้แก่ป่าที่มนุษย์หวงห้าม ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในป่า ได้แก่ทรัพย์
ที่ตั้งอยู่ในป่า โดยฐาน ๔ คือ ฝังอยู่ในดิน ๑ ตั้งอยู่บนพื้นดิน ๑ ลอยอยู่ในอากาศ ๑ แขวนอยู่
ในที่แจ้ง ๑
                ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในป่า เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำไว้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติ
ปาราชิก
                ภิกษุมีไถยจิตจับต้องไม้ก็ดี เถาวัลย์ก็ดี หญ้าก็ดี ซึ่งเกิดในป่านั้น ได้ราคา ๕ มาสก
หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน
ต้องอาบัติปาราชิก.
                                                                                อุทกวิภาค
                [๑๐๕] ที่ชื่อว่า น้ำ ได้แก่น้ำที่อยู่ในภาชนะ หรือน้ำที่ขังอยู่ในสระโบกขรณี หรือ
ในบ่อ
                ภิกษุมีไถยจิตจับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน
ต้องอาบัติปาราชิก
                ภิกษุมีไถยจิตหย่อนภาชนะของตนลงไปถูกต้องน้ำ ได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕
มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้ไหลเข้าไปในภาชนะของตน
ต้องอาบัติปาราชิก
                ภิกษุทำลายคันนา ต้องอาบัติทุกกฏ ครั้นทำลายคันนาแล้วทำน้ำให้ไหลออกไป ได้ราคา
๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติปาราชิก ทำให้น้ำไหลออกไป ได้ราคาเกินกว่า ๑
มาสก หรือหย่อนกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้น้ำไหลออกไป ได้ราคา ๑ มาสก หรือ
หย่อนกว่า ๑ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ.


                                                            หน้าที่ ๒๕๓

                                                                                ทันตโปณวิภาค
                [๑๐๖] ที่ชื่อว่า ไม้ชำระฟัน ได้แก่ไม้ชำระฟันที่ตัดแล้ว หรือที่ยังมิได้ตัด
                ภิกษุมีไถยจิตจับต้องไม้ชำระฟัน อันมีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
                                                                                วนัปปติวิภาค
                [๑๐๗] ที่ชื่อว่า ต้นไม้เจ้าป่า ได้แก่ต้นไม้ที่คนทั้งหลายหวงห้าม เป็นไม้ที่ใช้สอยได้
                ภิกษุมีไถยจิตตัด ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ ครั้งที่ฟัน เมื่อการฟันอีกครั้งหนึ่งจะสำเร็จ
ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อการฟันนั้นสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิก.
                                                                                หรณกวิภาค
                [๑๐๘] ที่ชื่อว่า ทรัพย์มีผู้นำไป ได้แก่ทรัพย์ที่ผู้อื่นนำไป
                ภิกษุมีไถยจิตลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน
ต้องอาบัติปาราชิก
                ภิกษุคิดว่า จักนำทรัพย์พร้อมกับคนผู้นำทรัพย์ไป แล้วให้ย่างเท้าก้าวที่ ๑ ไป ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย ให้ย่างเท้าก้าวที่ ๒ ไป ต้องอาบัติปาราชิก
                ภิกษุคิดว่า จักเก็บทรัพย์ที่ตก แล้วทำทรัพย์นั้นให้ตก ต้องอาบัติทุกกฏ มีไถยจิตจับต้อง
ทรัพย์ที่ตก อันได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
                                                                                อุปนิธิวิภาค
                [๑๐๙] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่เขาฝากไว้ ได้แก่ทรัพย์ที่ผู้อื่นให้เก็บไว้
                ภิกษุรับของฝาก เมื่อเจ้าของกล่าวขอคืนว่า จงคืนทรัพย์ให้ข้าพเจ้า กล่าวปฏิเสธว่า ฉัน
ไม่ได้รับไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ ยังความสงสัยให้เกิดแก่เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เจ้าของ
ทอดธุระว่าจะไม่ให้แก่เรา ต้องอาบัติปาราชิก
                ภิกษุฟ้องร้องยังโรงศาล ยังเจ้าของให้แพ้ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุผู้ฟ้องร้องยังโรงศาล
แพ้เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.


                                                            หน้าที่ ๒๕๔

                                                                                สุงกฆาตวิภาค
                [๑๑๐] ที่ชื่อว่า ด่านภาษี ได้แก่สถานที่ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งไว้ที่ภูเขาขาดบ้าง
ที่ท่าน้ำบ้าง ที่ประตูบ้านบ้าง ด้วยทรงกำหนดว่า จงเก็บภาษีแก่บุคคลผู้ผ่านเข้าไปในสถานที่นั้น
                ภิกษุผ่านเข้าไปในด่านภาษีนั้น แล้วมีไถยจิตจับต้องทรัพย์ที่ควรเสียภาษี ซึ่งมีราคา ๕
มาสกก็ดี เกินกว่า ๕ มาสกก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ย่างเท้าก้าวที่ ๑
ล่วงด่านภาษีไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ย่างเท้าก้าวที่ ๒ ล่วงด่านภาษีไป ต้องอาบัติปาราชิก
                ภิกษุยืนอยู่ภายในด่านภาษี โยนทรัพย์ให้ตกนอกด่านภาษี ต้องอาบัติปาราชิก หลบเลี่ยง
ภาษี ต้องอาบัติทุกกฏ
                                                                                ปาณวิภาค
                [๑๑๑] ที่ชื่อว่า สัตว์มีชีวิต พระผู้มีพระภาคตรัสหมายเอามนุษย์ที่ยังมีลมหายใจ
                ภิกษุมีไถยจิตลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน
ต้องอาบัติปาราชิก
                ภิกษุคิดว่า จักพาให้เดินไป แล้วให้ก้าวเท้าที่ ๑ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ก้าวเท้าที่ ๒
ต้องอาบัติปาราชิก.
                                                                                อปทวิภาค
                [๑๑๒] ที่ชื่อว่า สัตว์ไม่มีเท้า ได้แก่ งู ปลา
                ภิกษุมีไถยจิตจับต้องสัตว์ไม่มีเท้า ซึ่งมีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
                                                                                ทวิปทวิภาค
                [๑๑๓] ที่ชื่อว่า สัตว์ ๒ เท้า ได้แก่ คน นก
                ภิกษุมีไถยจิตลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน
ต้องอาบัติปาราชิก
                ภิกษุคิดว่า จักพาให้เดินไป แล้วให้ก้าวเท้าที่ ๑ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ก้าวเท้าที่ ๒
ต้องอาบัติปาราชิก.


                                                            หน้าที่ ๒๕๕

                                                                                จตุปทวิภาค
                [๑๑๔] ที่ชื่อว่า สัตว์ ๔ เท้า ได้แก่ ช้าง ม้า อูฐ โค ลา ปศุสัตว์
                ภิกษุมีไถยจิตลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน
ต้องอาบัติปาราชิก
                ภิกษุคิดว่า จักพาให้เดินไป แล้วให้ก้าวเท้าที่ ๑ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ก้าวเท้าที่ ๒
ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ก้าวเท้าที่ ๓ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ก้าวเท้าที่ ๔ ต้องอาบัติปาราชิก.
                                                                                พหุปทวิภาค
                [๑๑๕] ที่ชื่อว่า สัตว์มีเท้ามาก ได้แก่สัตว์จำพวกแมลงป่อง ตะขาบ บุ้งขน
                ภิกษุมีไถยจิตจับต้องสัตว์มีเท้ามากนั้น ซึ่งมีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้อง
อาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก
                ภิกษุคิดว่า จักเดินนำไป แล้วย่างเท้าก้าวไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทุกๆ ก้าว ย่างเท้า
ก้าวหลังที่สุด ต้องอาบัติปาราชิก.
                                                                                โอจรกวิภาค
                [๑๑๖] ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้สั่ง อธิบายว่า ภิกษุสั่งกำหนดทรัพย์ว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้
ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งนั้น ลักทรัพย์นั้นมาได้ ต้องอาบัติปาราชิก ทั้ง ๒ รูป.
                                                                                โอณิรักขวิภาค
                [๑๑๗] ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้รับของฝาก ได้แก่ภิกษุผู้รักษาทรัพย์ที่เขานำมาฝากไว้
                ภิกษุมีไถยจิตจับต้องทรัพย์นั้น มีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ
ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
                                                                สังวิธาวหารวิภาค
                [๑๑๘] ที่ชื่อว่า การชักชวนกันไปลัก ได้แก่ภิกษุหลายรูปชักชวนกันแล้ว รูปหนึ่ง
ลักทรัพย์มาได้ ต้องอาบัติปาราชิกทุกรูป.
                                                                สังเกตกัมมวิภาค
                [๑๑๙] ที่ชื่อว่า การนัดหมาย มีอธิบายว่า ภิกษุทำการนัดหมายว่า ท่านจงลักทรัพย์นั้น
ตามคำนัดหมายนั้น ในเวลาเช้าหรือเย็น ในเวลากลางคืน หรือกลางวัน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุ
ผู้ลัก ลักทรัพย์นั้นได้ ตามคำนัดหมายนั้น ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ภิกษุผู้ลัก ลักทรัพย์นั้น
ได้ก่อนหรือหลังคำนัดหมายนั้น ภิกษุผู้นัดหมายไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลักต้องอาบัติปาราชิก.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘