พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ หน้า 241-245

                                                            หน้าที่ ๒๔๑

ไม่หลอกลวงคนอื่นเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดา
ที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร จึงได้ถือเอาไม้ของหลวงที่เขาไม่ได้ให้ไป
แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                                                                                ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท
                ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นมูลเค้านั้น ใน
เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระธนิยะ กุมภการบุตรว่า ดูกรธนิยะ ข่าวว่า เธอ
ได้ถือเอาไม้ของหลวงที่เขาไม่ได้ให้ไป จริงหรือ?
                ท่านพระธนิยะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น
ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน เธอจึงได้ถือเอาไม้
ของหลวงที่เขาไม่ได้ให้ไปเปล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่
ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้การกระทำของเธอนั่น
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของคนบางพวกที่เลื่อม
ใสแล้ว
                ก็สมัยนั้นแล มหาอำมาตย์ผู้พิพากษาเก่าคนหนึ่งบวชในหมู่ภิกษุ นั่งอยู่ไม่ห่างพระผู้มี
พระภาค จึงพระองค์ได้ตรัสพระวาจานี้ต่อภิกษุรูปนั้นว่า ดูกรภิกษุ พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนา
มาคธราชจับโจรได้แล้ว ประหารชีวิตเสียบ้าง จองจำไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง เพราะทรัพย์
ประมาณเท่าไรหนอ?
                ภิกษุรูปนั้นกราบทูลว่า เพราะทรัพย์บาทหนึ่งบ้าง เพราะของควรค่าบาทหนึ่งบ้าง เกิน
บาทหนึ่งบ้าง พระพุทธเจ้าข้า
                แท้จริงสมัยนั้น ทรัพย์ ๕ มาสกในกรุงราชคฤห์ เป็นหนึ่งบาท
                ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร โดยเอนกปริยายแล้ว
จึงตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก
ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคน


                                                            หน้าที่ ๒๔๒

เลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความจำกัด
อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่เหมาะสม การปรารภความเพียร โดยเอนกปริยาย แล้วทรงกระทำ
ธรรมีกถา ที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุ
ทั้งหลายว่า
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจ
ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่ม
บุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดใน
ปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อม-
ใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑
เพื่อถือตามพระวินัย ๑
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                                พระปฐมบัญญัติ
                ๒. อนึ่ง ภิกษุใด ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยส่วนแห่งความเป็น
ขโมย พระราชาทั้งหลาย จับโจรได้แล้วพึงประหารเสียบ้าง จองจำไว้บ้าง เนรเทศ
เสียบ้าง ด้วยบริภาษว่า เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นขโมย
ในเพราะถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานใด ภิกษุถือเอาทรัพย์อันเจ้าของ
ไม่ได้ให้เห็นปานนั้น แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.
                ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้ว แก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการ
ฉะนี้.
                                                                เรื่องพระธนิยะ กุมภการบุตร จบ.
                                                                เรื่องพระฉัพพัคคีย์
                [๘๔] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ชวนกันไปสู่ลานตากผ้าของช่างย้อม ได้ลัก
ห่อผ้าของช่างย้อม นำมาสู่อารามแล้วแบ่งปันกัน ภิกษุทั้งหลายพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย
พวกท่านเป็นผู้มีบุญมาก เพราะผ้าเกิดแก่พวกท่านมาก
                ฉ. ท่านทั้งหลาย บุญของพวกผมจักมีแต่ไหน พวกผมไปสู่ลานตากผ้าของช่างย้อม
แล้วได้ลักห่อผ้าของช่างย้อมมาเดี๋ยวนี้


                                                            หน้าที่ ๒๔๓

                ภ. พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้วมิใช่หรือ เหตุไรพวกท่านจึงได้ลักห่อผ้า
ของช่างย้อมมา.
                ฉ. จริงขอรับ พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว แต่สิกขาบทนั้นแล พระองค์
ทรงบัญญัติเพราะในเขตบ้าน มิได้ทรงบัญญัติไปถึงในป่า.
                ภิ. ท่านทั้งหลาย พระบัญญัตินั้นย่อมเป็นได้เหมือนกันทั้งนั้นมิใช่หรือ การกระทำของ
พวกท่านนั้นไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกท่าน
จึงได้ลักห่อผ้าของช่างย้อมมาเล่า การกระทำของพวกท่านนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ
ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของ
พวกท่านนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่น
ของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว ครั้นภิกษุเหล่านั้น ติเตียนพระฉัพพัคคีย์ โดยอเนกปริยายแล้ว
ได้กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                                                                ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติอนุบัญญัติ
                ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นมูลเค้านั้น ใน
เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอ
ไปสู่ลานตากผ้าของช่างย้อม แล้วลักห่อผ้าของช่างย้อมมา จริงหรือ?
                พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น
ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงได้ลักห่อผ้า
ของช่างย้อมมาเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใส แล้วโดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอ
นั้นเป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนยังที่ไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของคนบาง
พวกที่เลื่อมใสแล้ว ครั้นทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์โดยอเนกปริยายแล้ว จึงตรัสโทษแห่งความเป็น
คนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี
ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความ
สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร
โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้ง
หลายแล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า


                                                            หน้าที่ ๒๔๔

                ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจ
ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคล
ผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑
เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อ
ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระ-
วินัย ๑
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                                พระอนุบัญญัติ
                ๒. ก. อนึ่ง ภิกษุใด ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ด้วย ส่วนแห่งความ
เป็นขโมย จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี พระราชาทั้งหลาย จับโจรได้แล้ว ประหารเสีย-
บ้าง จองจำไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง ด้วยบริภาษว่า เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล
เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นขโมย ดังนี้ ในเพราะถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็น
ปานใด ภิกษุถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานนั้น แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก
หาสังวาสมิได้.
                                                                เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.
                                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๘๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติอย่างใด
มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็น
เถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง ... ใด
                บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ
อรรถว่าประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ
โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้ว ด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้เจริญ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่ามีสาระธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า
ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะว่า อรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียง


                                                            หน้าที่ ๒๔๕

กันให้อุปสมบทแล้วด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาผู้ที่ชื่อว่าภิกษุเหล่า-
นั้น ภิกษุนี้ใด ทั้งสงฆ์พร้อมเพรียงกันให้อุปสมบทแล้วด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควร
แก่ฐานะ ภิกษุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงประสงค์ว่า ภิกษุ ในอรรถนี้
                ประเทศที่ชื่อว่า บ้าน มีอธิบายว่า บ้านมีกระท่อมหลังเดียวก็ดี มีกระท่อม ๒ หลังก็ดี
มีกระท่อม ๓ หลังก็ดี มีกระท่อม ๔ หลังก็ดี มีคนอยู่ก็ดี ไม่มีคนอยู่ก็ดี แม้ที่เขาล้อมไว้ก็ดี
แม้ที่เขาไม่ได้ล้อมไว้ก็ดี แม้ที่เขาสร้างดุจเป็นที่โคจรเป็นต้นก็ดี แม้หมู่เกวียนหรือต่างที่อาศัยอยู่
เกิน ๔ เดือนก็ดี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บ้าน
                ที่ชื่อว่า อุปจารบ้าน กำหนดเอาที่ ซึ่งบุรุษขนาดกลาง ผู้ยืนอยู่ ณ เสาเขื่อนแห่งบ้าน
ที่ล้อม โยนก้อนดินไปตก หรือกำหนดเอาที่ซึ่งบุรุษขนาดกลาง ผู้ยืนอยู่ ณ อุปจารเรือนแห่งบ้าน
ที่ไม่ได้ล้อม โยนก้อนดินไปตก
                ที่ชื่อว่า ป่า มีอธิบายว่า สถานที่ที่เว้นบ้านและอุปจารบ้าน นอกนั้นชื่อว่า ป่า
                ที่ชื่อว่า ทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ มีอธิบายว่า ทรัพย์ใดอันเจ้าของไม่ได้ให้ ไม่ได้
ละวาง ยังรักษาปกครองอยู่ ยังถือกรรมสิทธิอยู่ว่าเป็นของเรา ยังมีผู้อื่นหวงแหน ทรัพย์นั้นชื่อว่า
ทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้
                บทว่า ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย ได้แก่มีจิตคิดขโมย คือมีจิตคิดลัก.
                [๘๖] บทว่า ถือเอา คือ ยึดเอา เอาไป เอาลง ยังอิริยาบถให้กำเริบ ให้เคลื่อน
รากฐาน ให้ล่วงเลยเขตหมาย.
                [๘๗] ที่ชื่อว่า เห็นปานใด คือ หนึ่งบาทก็ดี ควรแก่หนึ่งบาทก็ดี เกินกว่าหนึ่งบาทก็ดี
                ที่ชื่อว่า พระราชาทั้งหลาย ได้แก่พระเจ้าแผ่นดิน เจ้าผู้ปกครองประเทศ ท่านผู้
ปกครองมณฑล นายอำเภอ ผู้พิพากษา มหาอำมาตย์ หรือท่านผู้สั่งประหารและจองจำได้
ท่านเหล่านี้ ชื่อว่า พระราชาทั้งหลาย
                ที่ชื่อว่า โจร มีอธิบายว่า ผู้ใดถือเอาสิ่งของอันเขาไม่ได้ให้ ได้ราคา ๕ มาสกก็ดี เกินกว่า
๕ มาสกก็ดี ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย ผู้นั้นชื่อว่า โจร
                บทว่า ประหารเสียบ้าง คือ ประหารด้วยมือหรือด้วยเท้า ด้วยแส้หรือด้วยหวาย
ด้วยไม้ค้อนสั้นหรือด้วยดาบ
                บทว่า จองจำไว้บ้าง คือ ผูกล่ามไว้ด้วยเครื่องมัดคือเชือก ด้วยเครื่องจองจำคือขื่อคา
โซ่ตรวน หรือด้วยเขตจำกัดคือเรือน จังหวัด หมู่บ้าน ตำบลบ้าน หรือให้บุรุษควบคุม

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘