ความรัก ๑๐ มิติ 09-05

อาริยชน


ข้อที่ ขั้น "อาริยชน" (เสขบุคคล) ได้แก่ ความต้องการลดละ ต้องการเสียสละ ต้องการเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น โดย การพยายามหาทางให้เป็นไปได้ และสามารถเป็นไปได้จริง ชนิดเป็นขั้นเป็นตอนตามทฤษฎีของพุทธ ตามหลักเกณฑ์ของพุทธ อย่างมี "สัมมาทิฏฐิ" แท้จริง ซึ่งสามารถเป็นไปได้ เพราะเรียนรู้ "จิต" เรียนรู้ "กิเลส" ได้อย่างชัดแท้ถูก "ตัวตน" (อัตตา) ของ "กิเลส" แบบจับมั่นคั้นตายกันจริงๆ และทำให้ดับทำให้ตายได้ เป็นขั้นเป็นลำดับถูกสัดส่วน มีทฤษฎีสำคัญสมบูรณ์ที่สามารถ ปฏิบัติอย่างพิสูจน์ได้ และเมื่อดับได้แล้วถึงขั้นที่สุดจริง จะไม่มีวนเวียนไปตกต่ำอีก เป็น "ผลธรรม" ที่ยั่งยืน (ธุว) เที่ยงแท้ (สัสสต) ไม่มีการเปลี่ยนแปลง (อวิปริณามธัมม) ไม่มีอะไรจะมาหักล้างได้ (อสังหิร)
ที่สำคัญคือ สามารถรู้แจ้งเห็นจริงในความเป็น "กิเลส" อย่างจับมั่นคั้นตาย และสามารถฆ่าให้ตายได้เป็นขั้นเป็นลำดับ ทั้งอย่างหยาบ (วีติกกมกิเลส) ทั้งอย่างกลาง (ปริยุฏฐานกิเลส) ทั้งอย่างละเอียดสุด (อนุสัยกิเลส) เมื่อ "ตาย" จากภพโลกียะ จึง "เกิด" ใหม่ในภพโลกุตระ เป็น "ความเกิดทางจิต" แบบโอปปาติกโยนิ
หรือแม้แต่ความถาวร-ความเป็นนิรันดร์ ก็สามารถรู้แจ้งเห็นจริงในภาวะของความถาวร หรือความเป็นนิรันดร์ ชนิดพิสูจน์ ได้ดุจเดียวกันกับวิทยาศาสตร์ด้วย อย่างน้อยก็รู้แจ้งเห็นจริงในขั้น "มีความไม่ตกต่ำของตน จากที่ตนปฏิบัติได้แล้ว จนเป็นสามัญนั้นๆ" (อวินิปาตธัมม) และเห็นจริงสูงขึ้นอีก "เป็นผู้มีความเที่ยงแท้ถาวรในสภาพที่ตนได้ตนเป็น" (นิยต) เป็นต้น อนาคตก็มั่นใจ ในความสูงสุดเพราะแน่ชัดในการจะได้ "เป็นผู้มีการตรัสรู้สูงสุดในเบื้องหน้า" (สัมโพธิปรายนะ) เนื่องจาก รู้แจ้งเห็นจริง ในภูมิธรรมของตน ด้วยญาณอันยิ่งว่า ตนนั้น "ทำลายอบายภูมิ ในตนหมดสิ้นแล้ว" (ขีณนิรยะ-ขีณติรัจฉาน-ขีณปิตติวิสยะ-ขีณาปายทุคติวินิปาตะ) เพราะมีภูมิบรรลุเข้ากระแสอาริยะถึงขั้น "โสดาบัน" แล้วเป็นอย่างต่ำจริง ชื่อว่า "เสขบุคคล" ขั้นต้น
ผู้เข้าขั้น "เสขบุคคล" หรือ "อาริยชน" ต้องมีสภาวะจริงเข้าถึงภพถึงภูมิได้จริงปานนี้ จึงจะเริ่มนับเป็น "อุดมการณ์ ระดับโลกุตระ" เพราะสามารถเข้าสู่ "ภพพิเศษ" แท้ (วิภวภพ) ได้ด้วยการปฏิบัติ "ดับความเกิดที่เป็นโลกหรือเป็นภพต่ำ อันตนปรารถนา จะดับนั้นๆ ได้แน่แท้เด็ดขาด เป็นลำดับๆ ขึ้นไป"
ซึ่งเป็นความ "ต่าง" ชนิดกลับกันหรือทวนกระแส "กาม- ภพและภวภพ" แยกไปคนละโลก ซึ่งมิใช่เพียง "ต่าง" กันแค่ คนละมุมคนละด้านกัน เท่านั้น ทว่าก็ยังอยู่ในกามภพ ยังอยู่ในภวภพที่วนไปวนมาอยู่นั่นเอง แต่ "อาริยชน" นี้ "ต่าง" กับ "ปุถุชนหรือกัลยาณปุถุชน" ชนิดเปลี่ยนภพใหม่จาก "กามภพ" หรือ "ภวภพ" หลุดพ้นออกไปนอก "กามภพ" และนอก "ภวภพ" อย่างเด็ดขาด ไปต่างหาก เป็น "คนละโลก" กันทีเดียว จึงเรียกว่า "วิภวภพ" เพราะ "ดับกาม-ดับภพ" ที่เป็น "โลก" ขั้นสามัญ เลื่อนขึ้นไปเป็นลำดับๆ ได้จริง อย่างรู้แจ้งความจริงที่ได้ที่เป็น จริงนั้นๆ แน่แท้ในตน
ดังนั้น ขั้นต่ำสุดของคน ที่ยังมี "กามตัณหา" และยัง มี "ภวตัณหา" ในสิ่งที่เป็น "อบายมุข" (ความเสื่อมขั้นหยาบ, สภาพที่ ปราศจากความเจริญ ระดับหยาบ) ได้แก่ การยังสำส่อนยังหนัก ยังมากในเรื่องเพศ, ยังติดการพนัน, ยังติดยังเสพ สิ่งเสพติดระดับคนดีสามัญเขาไม่เสพกันแล้ว, ยังหลงมัวเมาในเกมในกีฬา ในการละเล่น หรือมหรสพ, ยังมัวเมา ในการเที่ยวกลางคืน, ยังติดมิตร คบมิตรที่พาไปมัวเมา เรื่องอบายมุขทั้ง ๕ ที่พูดผ่านมานี้ รวมทั้งอบายมุข ข้อที่ ๖ คือ ยังติดการเกียจคร้าน เป็นต้น
ที่กล่าวมานี้ เป็นตัวอย่างของความติดยึด หลงเสพ หลงสุข หลงทุกข์อยู่ใน "ภพต่ำ" หรือ "โลกต่ำ" โดยยังมีการวนเวียนสุข เวียนเสพ อยู่กับสิ่งต่างๆ เหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม เมื่อไม่ได้เสพ ตามที่ติดที่ยึด อยากได้อย่างใด เมื่อยังไม่ได้สมใจ อย่างนั้น ก็จะถึงขั้น "เป็นทุกข์" เพราะติดยึดอยู่นั่นเอง นี่แหละคือ นรก หรือแดนแห่งความเสื่อม ที่ต่ำที่สุดแล้ว
และ มี "กามตัณหา" ในสิ่งที่เป็นลาภวัตถุ-ยศตำแหน่ง-สรรเสริญเยินยอ-สุขทางวัตถุ ทางรูป-เสียง-กลิ่น-รส-เสียดสีสัมผัสนอก ที่ยังรุนแรงจัดจ้านอยู่ จนต้องทุจริต หรือไม่อยู่ในศีลในธรรมแค่ศีล ๕ เช่น ถึงกับต้องฆ่าสัตว์ ต้องทำร้ายผู้อื่น รุนแรงอำมหิต เพื่อให้ได้มา หรือให้ได้สมใจใน "โลกธรรม ๘" (ผิดศีลข้อ ๑) ...ต้องละเมิดกฎหมาย ละเมิดศีลธรรมพื้นฐาน ถึงขั้นเข้าข่ายลักขโมย เพื่อให้ได้สมใจ ในสิ่งที่ตนต้องการ (ผิดศีลข้อ ๒) ...ต้องละเมิดทางกาม เกินกว่าสามัญพื้นฐาน เช่น ผัวเดียวเมียเดียว หรือจะมีกามก็เฉพาะ สิ่งที่สมควรแก่ จริยธรรมมาตรฐาน พื้นฐานที่สังคมนับถือกัน (ผิดศีลข้อ ๓) ...ต้องถึงกับโกหกหลอกลวง เพื่อให้ได้สมใจในสิ่งที่ตนต้องการ (ผิดศีลข้อ ๔) ...ต้องเสพเพราะยังติดยัง "อดทนต่อรสอร่อยของอบายมุข" ไม่ได้เด็ดขาด "รสอร่อยแห่งอบายมุข" นั้นยังมีฤทธิ์เหนือจิตอยู่
ความติดยึด ที่ยังหลงเสพหลงติด ดังที่กล่าวมาเป็นตัวอย่างนี้ คือ "ภพต่ำ" ที่เรียกว่า ขั้น "อบายภูมิ" อันปุถุชนต้องปฏิบัติตนให้ "หลุดพ้นติดพ้นเสพ" ให้ได้ถึงขั้นมี "ญาณ " รู้แจ้งจริงในตนว่า เราหลุดพ้นแล้วจริง จึงจะเป็น "อาริยชน" หรือ "เสขบุคคล" ขั้นต้น เรียกว่า "โสดาบันบุคคล" ซึ่งเป็น"อาริยชน" ระดับที่
"อาริยชน" (เสขบุคคล) นั้นมี ขั้น ได้แก่ .โสดาบัน .สกทาคามี หรือสกิทาคามี .อนาคามี ที่นับว่าเป็น "เสขบุคคล" เพราะผู้นั้น ยังต้องศึกษาต่อไปอยู่ (เสข=ผู้ยังต้องศึกษา) เนื่องจากยังไม่จบ "การศึกษา " (อธิศีลสิกขา-อธิจิตสิกขา-อธิปัญญาสิกขา) ผู้พัฒนาตนผ่าน "การศึกษา " บรรลุธรรมเป็น "อาริยชน" จึงนับเป็นผู้เข้าสู่ "เสขภูมิ" [พื้นเพของพระเสขะ คือ เข้าสู่ชั้นอาริยชนแล้ว จะเป็นชั้นหนึ่งชั้นใดใน ก็ตาม แต่ยังต้องศึกษาอยู่ ยังไม่จบถึง "อรหันต์" อันเป็นภูมิสุดท้าย] ผู้ยังไม่บรรลุธรรมเข้าขีด "อาริยะ" ยังไม่ชื่อว่า "เสขบุคคล"
อาริยชน ต้องมี "ญาณ" รู้แจ้งเห็นจริงในตนว่า ตนสามารถตัดกิเลสได้จริง มีญาณรู้เห็นในจิต-เจตสิก ว่า ตนมี "กิเลส" อยู่และตนก็มีญาณหยั่งรู้ เห็นรูปนามของกิเลสนั้นๆ ในตน แล้วตน ก็ตัดกิเลสนั้นๆได้สำเร็จ จึงเรียกว่า "ผู้สำเร็จ" ไปแต่ละระดับขั้น
ขั้นต้นก็ "โสดาบัน" ผู้เป็น "โสดาบัน" นั้นต้องมี "ญาณ " (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๒ ข้อ ๕๔๓-๕๕๐) รู้แจ้งจริงในความเป็น "อาริยภูมิ" ของตน มีสิ่งปรากฏยืนยันอย่างแน่แท้ ถูกขั้นถูกตอน
ซึ่ง "ญาณ " นี้ จะมิใช่ความรู้ที่รู้แค่เดาเอา มิใช่รู้ชนิดคลุมๆ เครือๆ มิใช่รู้แค่ตรรกะ แม้จะเป็นตรรกะ ที่ถูกต้องเยี่ยมยอด หรือแม้จะเป็นผู้คงแก่เรียน รอบรู้ขั้นอัจฉริยะก็ตาม และมิใช่รู้ แค่รู้ภาษาของธรรมะ มากมายหลากหลาย รู้ภาษาบาลีดีเยี่ยม รู้ภาษาอังกฤษเชี่ยวชาญ มีปฏิภาณรู้รอบ ในเหตุในผล ของสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์
หรือรู้ละเอียดในคุณค่าของคุณธรรมต่างๆ ดีเลิศก็เถอะ ยิ่งรู้ชนิดหลงนิมิตนั่นนิมิตนี่ ในอุปาทาน ในสมมุติสัจจะ ต่างๆ นานา แล้วก็เข้าใจเอาเองว่า นั้นคือความรู้วิเศษ คือความมี "ญาณ" นั่นยิ่งไม่ใช่ใหญ่ [ซึ่งความหลงแบบนี้ ทุกวันนี้มีกันมากขึ้นๆ]
เป็นต้นว่า ผู้มีภูมิโสดาบัน ก็ต้องรู้ "สักกายทิฏฐิสังโยชน์" เป็นอย่างไร? ต้องรู้ "สักกายะ" ของตนอย่าง "ชัดแท้ไม่ลังเลสงสัย" (รู้แจ้งไม่วิจิกิจฉา) และเมื่อได้ปฏิบัติตามไตรสิกขา ตามหลักโพธิปักขิยธรรม ก็สามารถละล้างกิเลสได้จริง "บรรลุธรรมมีมรรค มีผล" (พ้น "สีลัพพตปรามาส" ได้จริง) จึงเกิดจึงเป็น "อาริยธรรม" ในตนโดยตนก็มีญาณ รู้เห็นอาริยธรรมนั้นๆ (ไม่สงสัย ในพระธรรม)
เพราะเห็น "อาริยธรรม" ว่า "จริง" ฉะนี้เอง จึงเข้าใจ "พุทธธรรม" ที่เป็น "โลกุตรธรรม" ได้ชัดแจ้งว่า ดั่งนี้แล คือ คุณลักษณะพิเศษ ของความเป็นพุทธ จึงเชื่อมั่นในความเป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ตรัสรู้ อาริยธรรม เช่นนี้เอง ซึ่งสุดลึกซึ้ง เหลือหลาย (คัมภีร) เห็นตามได้ยาก (ทุทฺทส) รู้ตามได้ยาก (ทุรนุโพธ) สงบจากกิเลสจริง (สันต) เรียบร้อยดียิ่ง (ปณีต) จะคาดคะเนด้นเดาเอามิได้ (อตักกาวจร) ละเอียดลุ่มลึกเกินสามัญ (นิปุณ) รู้ได้เฉพาะบัณฑิตจริง (ปัณฑิตเวทนีย) ก็ยิ่งเห็นจริง ตามที่พระไตรปิฎกบันทึกไว้ ในเล่ม ข้อ ๓๔ จึงมั่นใจ แท้ว่า พระพุทธเจ้ามีจริง ไม่มีใครเทียบเท่า นั้นจริงแค่ไหน? มีพุทธคุณลักษณะใด? เยี่ยมยอดอย่างไร? และทรงสูงส่งวิเศษไฉน? (ไม่สงสัยในพระพุทธ)
เพราะ "อาริยธรรม" ที่เราเองได้บรรลุเพียงแค่นี้ ตามความเป็นจริง ที่เห็นชัดในตัวเอง แม้เพียงเท่านี้ ก็เห็นแล้วว่า เราผู้ประพฤติตามธรรม ของพระพุทธเจ้าอย่าง "สัมมา" นั้นได้ผล อย่างนี้เอง ดียิ่งเยี่ยมอย่างไร? สุขสงบวิเศษไฉน? ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ จนได้เข้าถึง "อาริยธรรม" นั้นๆ เอง ย่อมรู้แจ้งเห็นจริงได้ด้วยตน (ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ) จึงเป็น "สาวกสังโฆ" แท้จริง ด้วยประการฉะนี้ (ผู้นั้นย่อมไม่สงสัยในความเป็นพระสงฆ์)
ผู้นี้จึงชื่อว่า เข้าถึง "พระพุทธ,พระธรรม,พระสงฆ์" ครบครัน และ "ศรัทธาพระไตรรัตน์" เพราะเห็นจริง ในความมีจริง เป็นจริง ที่ตนเองเป็นเอง สัมผัสเอง มิใช่เพียง 'รู้ยิ่ง' เฉยๆ
ซึ่งเกิดจริงเป็นจริง ก็เนื่องมาจาก.. ผู้นั้นได้ปฏิบัติตน ด้วย "ไตรสิกขา" (การศึกษา ) อันได้แก่...
ปฏิบัติ "ศีล" ให้มีผลมีอานิสงส์จน "พ้นสีลัพพตปรามาส" นั่นคือ การเจริญของ "อธิศีล"
ปฏิบัติด้วย "ศีล"นั้นแหละ กระทั่ง "จิต" เจริญพัฒนาขึ้นสู่ "สัมมาสมาธิ" เป็นการเจริญของ "อธิจิต"
และพร้อมกันนั้นก็มี "ญาณหรือปัญญา" รู้แจ้งเห็นจริงในปรมัตถธรรมต่างๆ ว่า ตนรู้จัก "ตัวตนของกิเลส" แล้วทำให้กิเลสลดละ จางคลายได้ถึงขีดถึงขนาด ตามกฎเกณฑ์ที่พระพุทธเจ้า ทรงกำหนด เป็นลำดับ ไว้ถูกต้อง (วิราคะเป็นต้น วิมุติเป็นสำคัญ) อย่างชัดเจนในความจริงนั้นๆ เพราะมีการเกิด การตายจริงๆ ในจิตแบบ รู้ๆ เห็นๆ "ไม่มีลังเลสงสัย ในการละการลดนั้นๆ จนถึงความดับสนิท"
จึงเรียกว่า "พ้นวิจิกิจฉาสังโยชน์" เพราะมี "ญาณ หรือปัญญา" (อธิปัญญา) รู้แจ้งเห็นจริงในความเป็นจริง อันได้แก่ "การเกิดจริงเป็นอาริยะจริงของตน" นั่นเอง ว่าเกิดอย่างไร? เป็นอย่างไร? ลดไปละไป หรือหลุดพ้นไป ถึงขั้นตายไปอย่างไร?
ขั้นต่อไปสูงขึ้นเป็น "สกทาคามี" ก็ต้องรู้จัก "กามราคะ" และ "ปฏิฆะ" ของตนอย่างถูกสภาพ แล้วปฏิบัติให้ละลดจางคลาย กิเลสดังกล่าวนั้น ให้ได้มากขึ้นๆ ไปเรื่อยๆ จนหลุดพ้น กระทั่ง "พ้นสักกายทิฎฐิสังโยชน์-พ้นวิจิกิจฉาสังโยชน์-พ้นสีลัพพตปรามาส" ในส่วนที่เป็นระดับของภูมิ "สกทาคามี" อย่างรู้แจ้งเห็น จริงตามความเป็นจริงอีกเช่นกัน พ้นสังโยชน์โดยนัยเดียวกัน แต่ต่างระดับกันขึ้นไปเท่านั้น หากสามารถลดละ "กามราคะ-ปฏิฆะ" ลงได้จริง จิตสะอาดจาก "กาม" จาก "ปฏิฆะ" ขึ้นเรื่อยๆ นี่แหละคือ ความเป็น "สกทาคามี" สูงขึ้นๆ ไปจริงตามลำดับ
เมื่อลดละจางคลาย "กามราคะ" และ "ปฏิฆะ" กระทั่ง "พ้นกามราคสังโยชน์-พ้นปฏิฆสังโยชน์" ได้ขีดได้ขนาดตามเกณฑ์ โดยมี "ญาณ" รู้แจ้งเห็นจริงแท้ ก็เป็นอัน "พ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์" [สังโยชน์ระดับต่ำ ขั้น ได้แก่ สักกายะ, วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาส, กามราคะ, ปฏิฆะ] ขึ้นสู่ภูมิ "อนาคามี"
สำหรับ "อนาคามี" ก็ปฏิบัติละลดกิเลสระดับ "อัตตา" ขั้นสูงต่อไป อันเป็น "อุทธัมภาคิยสังโยชน์" [สังโยชน์ระดับสูง ขั้น ได้แก่ รูปราคะ, อรูปราคะ, มานะ, อุทธัจจะ, อวิชชา] จนกว่าจะสะอาดเกลี้ยง หมดกิเลสขั้นสุดท้าย คือ "พ้นอวิชชา" ซึ่งเป็นการพ้นสังโยชน์ สูงสุดยอดสมบูรณ์ กระทั่งสูญหมด "อาสวะ" จึงจะเป็นการสิ้นสุดความเป็น "เสขบุคคล"

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘