ความรัก ๑๐ มิติ 09-04

กัลยาณปุถุชน

ข้อที่ ขั้น "กัลยาณปุถุชน" (ปุถุบุคคล) ได้แก่ ความต้อง การลดละ ต้องการเสียสละ ต้องการเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น โดยการพยายาม หาทางให้เป็นไปได้ และสามารถเป็นไปได้จริง ทั้งต่ำทั้งสูง ไล่เรียงกันไปตามภูมิ ตามฐานะ ซึ่งก็สามารถเป็นคนดี กันได้จริงๆ ได้ดีบ้างเล็กๆ น้อยๆ ก็มีเยอะแยะถมเถ ได้ดีมาก พอสมควรก็มีอยู่ไม่น้อย ที่ได้ดีมากๆ ก็มี ซึ่งก็น้อยลงๆ ไปตามลำดับ ที่ได้ดีมากยิ่งๆ จนมีภูมิสูงขั้นเยี่ยมยอด ถึงระดับเป็น "ศาสดา" ก็สามารถเป็นไปได้
แต่จะดีสุดดีปานใดก็ยังเป็นอยู่ใน "โลกียภพ"
เพราะ "กัลยาณปุถุชน" นั้น ยังไม่เข้าขั้น "สัมมาทิฏฐิ" จนกระทั่งมีมรรคผล ตามทิฏฐิของพุทธ ถึงขั้นสามารถรู้แจ้ง "โลก" หรือ "ภพ" ที่แบ่งแยกออกได้ว่า อย่างไรเป็น "โลกียะ" อย่างไรเป็น "โลกุตระ" และยังทำ "ความเกิด ความเป็นผู้เข้าสู่ โลกุตรภพ" ไม่ได้ ยังปฏิบัติตนเข้าสู่ความเป็น "อาริยชนในโลกโลกุตระ" ไม่ได้ อย่างเป็นสัจจะ และรู้แจ้งเห็นจริงตาม "ความเป็นจริง" นั้นๆ
ที่สำคัญคือ ไม่รู้แจ้งเห็นจริงในความเป็น "กิเลส" อันเป็น "เหตุ" ที่เกิดโลกียะ อย่างจับมั่นคั้นตาย และไม่สามารถฆ่าให้ตายได้เป็นขั้นเป็นลำดับ ทั้งอย่างหยาบ (วีติกกมกิเลส) ทั้งอย่างกลาง (ปริยุฏฐานกิเลส) ทั้งอย่างละเอียดสุด (อนุสัยกิเลส) อีกอนึ่งคือ ไม่มีความถาวรหรือความเป็นนิรันดร์ ชนิดพิสูจน์ได้ดุจเดียว กันกับวิทยาศาสตร์ จึงยังไม่ชัดแจ้งสัมบูรณ์ เหมือนพุทธวิชชา
คำว่า "วิภวตัณหา" นี้ ทั่วๆ ไปก็แปลกันอยู่แค่ว่า "ความอยากในวิภพ" ได้แก่ ความทะยานอยากในความไม่มีไม่เป็น อยากไม่เป็นนั่น ไม่เป็นนี่ เช่น อยากไม่เป็นคนยากจน อยากไม่เป็นคนต่ำต้อยน้อยหน้า ฯลฯ อยากตาย อยากขาดสูญ อยากไม่เกิดอีก อยากพรากพ้นไปจากภาวะที่ตนเกลียดชังไม่ปรารถนา หรือความอยากในภาวะที่ไม่มีรูปไม่มีร่าง เช่น อรูปพรหม หรืออรูปภพ เป็นต้น
ซึ่งก็แปลกันไปได้ทั้งนั้น แต่เรามานิยามกันให้ชัดคม ให้ยิ่งๆ ขึ้นกว่านี้ ก็น่าจะดี จำกัดความหมาย ให้ชัดให้ลึก ถึงจุดสำคัญ ให้ถ่องแท้ครบครัน เท่าที่เราจะพูดถึงได้
โดยเนื้อหาแห่งสัจจะนั้น "วิ" ในที่นี้เป็นสภาพ "พิเศษ" หรือ "วิเศษ" ชนิดหลุดพ้นจากสามัญไปสู่สภาพ "วิสามัญ" จริงๆ ซึ่งพิเศษหรือวิเศษชนิด "ต่าง" จากสามัญปุถุชนกันไปคนละ "โลก" ทีเดียว [แยกทิศทางของความสุขไปคนละทาง]
ดังนั้น ความหมายของ "วิ" ว่า "ไม่" ในที่นี้ จึงต้องรู้ให้แม่นคมว่า "ไม่" ในอะไร ถ้า "ไม่" แค่ปฏิเสธความต้องการ ที่เป็นเรื่องวกวนอยู่ใน "ภพ" เดิม "โลก" เดิม แค่ยังคงวนอยู่ใน "กามภพ" หรือ "ภวภพ" ดังเดิม ซึ่งเปลี่ยนไปเพียงแค่ เป็นสภาพด้านตีกลับ หรือกลับกัน คนละฟากของตัณหา ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น เพราะหากแค่นี้ มันก็เวียนวนกลับไปกลับมา แค่เป็นการรับ หรือปฏิเสธใน "รสของกาม" ใน "รสของภพ" ยังวนอยู่ในโลกของกาม ของภพ อันยังเป็นโลกโลกีย์ หรือเป็นภพปุถุชนเก่าๆ เดิมๆ นั่นเอง ซึ่งก็ เท่ากับ "ไม่อยากในรสของกาม หรือ ไม่อยากในรสของภพ" ที่เป็นเพียง "อัสสาทะ" ยังไม่ใช่เลิกเด็ดขาด ชนิดรู้จัก "ภพ" รู้จัก "อัตตา" แล้วพากเพียร "ลดอัตตาละภพ" จนกระทั่งดับอัตตา และดับภพ ได้สนิทจริง โดยดับความ "อยาก" ในภพนั้นๆ ได้ ชนิดรู้แจ้งในความเป็น "ภพ" และ "อัตตา" ไม่ใช่แค่เหวี่ยงไปขั้วใต้ แล้วก็กลับไปขั้วเหนือ อยู่ในตัณหาของ "โลกียภพ" เดิมๆ นั้นอีก อยู่เท่านั้น แต่เปลี่ยนหรือตายจาก "ภพเก่า" (อยังโลก) ขึ้นสู่ "โลกุตระ" อันเป็น "ภพใหม่" (ปรโลก) ได้แท้ ไม่เวียนวน
ซึ่งความหมายของ "ความอยากในวิภพ" (วิภวตัณหา) หรือ "ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ในความเป็นภพ" (วิภวตัณหา) นั้น ชัดๆ ก็คือ "อยากไม่มีภพ" หรือ "ต้องการไม่เป็นภพ" กันอีกแล้ว นั่นเอง มิใช่แค่ "ไม่อยากเป็นคนจน" ซึ่งมันก็ยัง.. แค่หนีความจน แต่ก็ "อยากเป็นคนรวย" มันก็ยังเป็นภพ เป็นชาติเก่า อย่างเดิม อยู่ดีเพียงแต่ "อยาก" กลับไปกลับมา คนละฟากฝั่งเท่านั้น ถ้าแค่นี้มันก็ยังวนอยู่ ในวัฏสงสารของ "ภพ" เก่า หรือแม้จะเป็น "อยากพรากพ้นไปจากภาวะ ที่ตนเกลียดชัง ไม่ปรารถนา" มันก็ยังวนไป "อยากสู่ภาวะ ที่ตนรักใคร่ปรารถนา" อยู่อีกนั่นแหละ ซึ่งมันก็ยังคือ "โลก" หรือ "ความวน" ปกติสามัญ ของผู้วนเวียน เป็นอนิจจัง อยู่ในโลกีย์เดิม อยู่ในกรอบกรงของปุถุชนที่ยังตัด วัฏฏสงสารไม่ได้
หรือ "วิภวตัณหา" หากจะหมายความว่า อยากตาย อยากขาดสูญ อยากไม่เกิดอีก แล้ว "ผู้อยาก" นั้นรู้แจ้งเห็นจริงถึง "ต้นเหตุแห่งการตายหรือการทำความขาดสูญ" (สมุทัยอาริยสัจ) และสามารถกำจัด "เหตุ" นั้นๆ ได้ ชนิดถูกตัวถูกตน (อัตตา) ของ เหตุนั้นๆจน "ดับสนิทหรือตายสนิทจริง" ได้ไหมล่ะ? ถ้าไม่ได้ ก็ยังต้องวน "เกิด" หรือ "ไม่ขาดสูญ" อยู่ในภูมิโลกีย์ภพเก่าๆ เดิมๆ ไม่สมหวังตามที่ "อยาก" อยู่นั่นแหละ
หาก "อยาก" จะ "เปลี่ยนภพหรือดับภพ" ได้ มันก็ต้องรู้จัก "ความเป็นภพ" นั้นๆ อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง และ ต้องมีญาณหยั่งเข้าไปรู้จักรู้แจ้งรู้จริง "อัตตา" ที่อยู่ใน "ภพ" นั้น แล้วปฏิบัติกระทั่ง "ดับเหตุที่พาให้เกิดภพ" นั้นๆ ให้ได้ จึงจะ "ไม่มีความวน" (วิภว) หรือ "ตายจาก..ขาดสูญ..ไม่เกิดอีก" เพราะสามารถดับอัตตานั้น หรือ "อาตมัน" นั้นๆ ได้จริง จึงไม่มีภพ (วิภว) ได้แท้ถูกต้องสัมบูรณ์
หรือ "วิภวตัณหา" หากจะหมายความว่า ความอยากในภาวะที่ไม่มีรูปไม่มีร่าง เช่น อรูปพรหม (อาตมันหรืออัตตา) เป็นต้น
แล้ว "ผู้อยาก" นั้น รู้จักรู้แจ้งรู้จริงใน "ความเป็นพรหม เป็นอรูปพรหม" อย่างถูกตัวถูกตน (อัตตา) ของพรหม ของอรูปพรหม หรือของ "พระเจ้า" ที่เป็น "ภาวะแห่งจิตวิญญาณแท้จริง" ไม่ว่า จะเป็น "รูป" เป็น "อรูป" ชนิดถูก "รูป" ถูก "นาม" หรือถูกถ้วนตาม "อาการ-ลิงค-นิมิต-อุเทศ" กันได้อย่างรู้จริงชัดเจน แจ่มแจ้งแค่ไหน?
หากมิใช่การรู้แจ้งชัดจริง ซึ่งเป็นการเห็นแจ้งรู้แท้ได้ด้วย "วิชชา " ด้วย "ญาณ ๑๖" หรือด้วย "สัมมาอาริยมรรค องค์ - สัมมาสมาธิ - สัมมาญาณ - สัมมาวิมุติ" ครบถ้วนมีเหตุมีปัจจัยของ "ปรมัตถสัจจะ" ยืนยันสมบูรณ์บริบูรณ์ ก็คงจะเป็น "พรหม" เป็น "อรูปพรหม" หรือเป็น "พระเจ้า" ที่คงครองความมี "ภพ" มี "ชาติ" และทรงความเป็น "อาตมัน..ปรมาตมัน" กันตามที่เป็นที่มีกัน ไปอีกตราบเท่าที่... ยังอยู่ในวงวนของ "โลกียภพ" ไม่สามารถ เข้าถึง "โลกุตรภพ"
"พรหม" ก็ดี "พระเจ้า" ก็ดี แบบโลกีย์ กับ "พรหม" หรือ "พระเจ้า" แบบโลกุตระ ซึ่งก็คือเรื่องของ "จิตวิญญาณ" แท้ๆ นั้น เป็นจริง มีจริง และมี "ความแตกต่าง" กันแน่ๆ
ในภพภูมิสำหรับ "กัลยาณชน" ความเป็น "พระเจ้า" หรือเป็น "พรหม" ก็ย่อมมีทิฏฐิ มีปัญญายึดถือ แบบของตนอย่างหนึ่ง ซึ่งแน่นอนว่า ต้องต่างกับความเป็น "พระเจ้า" หรือเป็น "พรหม" ในแบบของ "อาริยชน"
"กัลยาณปุถุชน" แม้จะยังอยู่ในวังวนของ "โลกียะ" และยังชื่อว่า ไม่พ้นความเป็น "ปุถุชน" ความเป็น "กัลยาณชน" ก็ต้อง มี "ความต่าง" จากแค่ความเป็น "ปุถุชน" สามัญแน่ๆ
สิ่งที่ "ต่าง" ก็คือ การมี "คุณค่าความดีงาม" ของผู้ที่มีภูมิเป็น "กัลยาณชน" นั่นเอง บ้างก็มีได้มากถึงขั้นเป็นศาสดา บ้างก็ มีได้อย่างดีอย่างเด่น บ้างก็มีได้ตามสมควร ดังได้อธิบายมาแล้ว
ที่ว่า "ต่าง" ก็เพราะ "กัลยาณชน" เป็นคนมี "คุณค่า" มี "คุณงามความดี" ซึ่งแสดงอยู่ชัดเจนตั้งแต่ภายนอก สำหรับผู้ทำตามอุดมการณ์ได้สูงจริง หรือมีศีลมีธรรมจริง และสามารถมีถึงภายใน มากบ้างน้อยบ้าง เป็นอำนาจแห่ง "สมรรถนะทางจิต" ตามแต่ใครจะมีจริงเป็นจริง แต่ก็เป็นสมรรถนะในแบบโลกีย์
ซึ่งยังไม่ "ต่าง" ถึงขั้นข้ามภพข้ามภูมิ เข้าสู่ภพ "พิเศษ" หรือ "วิเศษ" ที่เป็น"โลกุตรภพ"ได้อย่างเป็นสัจจะ ชนิด "ต่าง" ไปจาก "ปุถุชน" เป็น "อาริยชน" แม้จะชื่อว่า "กัลยาณชน" ก็ยังเป็น "กัลยาณปุถุชน" ผู้วนๆ เวียนๆ อยู่ใน "โลกียภพ" อยู่นั่นเอง
ปุถุชนทั้งหลายในโลก ต่างก็พอมีปัญญารู้ใน "อุดมการณ์" ดีๆ ที่มนุษย์ควรทำควรเป็น เช่นว่า "ความดีงาม" ต่างๆ ซึ่งมีอยู่ตั้งแต่ ในความรัก มิติที่ กระทั่งถึง มิติที่ หรือ ความต้องการลด ละกิเลส ต้องการเสียสละ ต้องการเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น เป็นต้น และก็ได้พยายามกัน น้อยบ้างมากบ้าง อยู่ทั่วไป ซึ่งล้วนเคยเป็นเคยได้กันอยู่บ้าง ในบางครั้งบางคราว มาแล้วทั้งนั้น บ้างก็ได้ ชั่วครั้งชั่วแว็บ ไม่นานเลยก็มี บ้างก็พยายามรักษา ไว้ได้นานๆ ก็มี บางคนได้นานตลอดชาติ เป็นชาติๆ ก็มี หรือได้ดีข้ามชาติไป หลายชาติก็มี แต่ไม่ "มั่นคงเที่ยงแท้" (นิยต) ชนิด "เปลี่ยน เชื้อจิตเปลี่ยนภพใหม่ ถึงขั้นเกิดในจิตวิญญาณ" (โอปปาติกโยนิ) อย่างมี "สิ่งจริงปรากฏ" (ภาวะ) ในตน และ "ดวงตาแห่งธรรม" (ธรรมจักษุญาณ) ของตนรู้แจ้ง เห็นจริงด้วย
จึงยังไม่นับว่า "พิเศษ" หรือ "วิเศษ" ขั้นโลกุตระ
ส่วนความรู้พื้นๆ ธรรมดา คำว่า "วิภวตัณหา" ที่ใช้กันในความหมายแค่ว่า ไม่อยากเป็นคนจน ไม่อยากเป็นคนต่ำต้อย น้อยหน้า ไม่อยากเป็นคนโง่ ไม่อยากมีความเจ็บปวด เป็นต้น ซึ่งยังมีความไม่อยาก อะไรต่ออะไร อีกนานัปการ สารพัดสารเพ สำหรับสามัญปุถุชนที่ "ไม่อยาก" เป็นนั่นไม่อยากเป็นนี่
ก็จริง..ไม่ผิดเลยในภาวะปุถุชน ที่ยังหลง "โลกธรรม" สามัญ แต่เห็นชัดได้ว่า มันยังวนอยู่ในภพของ 'โลกธรรม ' ธรรมดา นั่นเอง ไม่ได้ต่างไปจาก ความเป็นปุถุชนเลย ซึ่งจะนับว่าเป็น "อุดมการณ์" ขั้นโลกุตระก็ยังไม่ได้ นอกจากต้องนับว่า เป็นความทะยานอยากสามัญ ของปุถุชน หรือโลกียะธรรมดา ซึ่งก็คือ "กามตัณหา" แท้ๆโทนโท่ ที่ไม่ได้ลดละ และหลากหลาย "ความอยาก" ต่างก็ยังเป็น "ภวตัณหา" อยู่โต้งๆชัดๆ
เพียงแต่เป็นความหมายว่า "ไม่" ที่มีลักษณะเชิงปฏิเสธ โลกีย์คนละมุมท่านั้น หรือแค่เป็น "มุมกลับในภาคปฏิเสธของ ความต้องการ" ซึ่งเมื่อมี "เชิงดูด" ภาคปฏิเสธก็เป็น "เชิงผลัก" แต่ก็อยู่ใน วงวนของ "ภพ" เก่าอันเป็น "โลกียธรรม" ไม่ได "พ้น" ออกไปจาก "ภพแห่งโลกีย์" เลย เป็นวิสัยโลก หรือ วิสัยของความวน ที่ยังคง.. "ไม่ดูดก็ผลัก..ไม่ผลักก็ดูด" ธรรมดาๆ นี่เอง อย่างเก่งก็อาจจะผลักไปไกล หรือไม่ก็นานหน่อย
จะว่าเป็น "ความต่าง" ก็ต่างกันในเรื่องของขั้วของทิศ กลับกันไปคนละขั้ว คนละทิศ หรือเป็น "ความเอียงความโต่ง" กันไป คนละมุมคนละด้าน แต่ก็อยู่ใน "โลก" เดิมๆ หรือ "โลก" เดียวกัน เท่านั้น ซึ่งไม่ต่างไปจากความเป็น "โลกธรรม" ของสามัญปุถุชน
แม้ "กัลยาณชน" ที่ประสบผลสำเร็จใน "อุดมการณ์" ดังกล่าวข้างต้น ก็ตาม จะสามารถเก่งกาจดีถึงขั้นได้เป็น "ศาสดา" องค์ใดองค์หนึ่งแท้จริง แต่ยังไม่สามารถรู้แจ้งใน "วัฏสงสาร" ยังไม่รู้ยิ่งใน "กิเลส" ใน "อัตตา" ยังไม่รู้ยิ่งใน "ภพ" และ "วิภวภพ" ที่เป็นโลกุตระ อย่างสัมมาทิฏฐิ ก็ยังเปลี่ยนแปลงได้ ยังต้องวน เวียนลงต่ำ ยังไม่มี "ความเที่ยงแท้ถาวร" (นิยต) เด็ดขาดชนิด สัมบูรณ์ด้วย "ญาณทัสสนะ" หรือด้วย "วิชชา " แบบพุทธ
ดังนั้น จึงนับว่ายังเป็น "โลกียะ" เพราะยังตัด "วัฏสงสาร" ไม่เป็น หรือยังเปลี่ยนเลื่อน "ภพ" เป็น "ภพใหม่" (ปรโลกที่เป็นโลกุตระ) ไม่ได้ เนื่องจากยังไม่รู้จัก "โลกุตระ" เลย
ด้วยเหตุฉะนี้ ความหมายของ "วิ" ขั้นดังกล่าวนั้น แม้จะเก่งกาจถึงขนาดได้เป็น "ศาสดา" องค์ใด องค์หนึ่งจริง ในโลกมนุษย์ แต่ยังไม่มี "วิชชา " และยังไม่เกิดไม่เป็น "อาริยะ" ได้จริง เป็นได้เพียง "กัลยาณชน" จึงยังไม่มีลักษณะ "วิเศษหรือพิเศษ" ชนิด "วิภวภพ" ขั้นโลกุตระ จึงยังเป็นเรื่องของ "ภพสามัญ" ไม่ใช่ ความพิเศษหรือวิเศษ ที่มี "ความพิเศษหรือวิเศษ" ชนิด เหนือชั้นไปกว่าสามัญอีกขั้นหนึ่ง เป็น "วิสามัญ" ตามที่นิยามมานี้
ที่กล่าวว่า "วิภวตัณหา" ทั้งหมดนั้น ยังเป็น "ตัณหา" ของ "ปุถุชน" สามัญ ยังเป็นสภาพของ "โลกียภพ" ก็เพราะยังไม่มี คุณสมบัติเข้าขั้น "โลกุตรภพ" จึงยังไม่ถึง "วิภวภพ" ที่เป็น "ภพ พิเศษ" อันมีอมตะทั้งเกิด โดยเฉพาะทั้ง "ดับ" อย่างอันติมะ
เนื่องจาก "ภพพิเศษ" ที่เป็นขั้นโลกุตระ (วิภวภพ) นี้สามารถ "ดับความเกิด (ทำความตาย) ให้แก่ 'กิเลสอยาก' ที่เป็นโลกีย์ ได้แน่แท้เด็ดขาด" และมี "การเกิดใหม่ในจิต" (โอปปาติกโยนิ) หรือ ในอัตภาพของตนจริง ด้วยการรู้แจ้งเห็นจริง ทำได้จริงกับ "อัตตา" ของตน จึงเป็นความ "ต่าง" จาก "ภพ" สามัญ (โลกีย์) กันคนละโลก ชนิดพิสูจน์ได้ ดุจเดียวกันกับการพิสูจน์ ทางวิทยาศาสตร์
โดยพิสูจน์กันในชีวิตที่ดำเนินไปปกติประจำวันสามัญ ของมนุษย์ ด้วยทฤษฎีสำคัญของพุทธ ที่มีทฤษฎี "มรรค อันมีองค์ " เป็นต้น ทว่าสามารถรู้แจ้งเห็นจริง สัมผัสจริง มีสภาวะจริง ของรูปธรรมและนามธรรม ปรากฏให้ประสบ "ความจริง" (ภาวสัจจะ) ดุจเดียวกันกับนักวิทยาศาสตร์ พิสูจน์สิ่งต่างๆ
ที่ต้องอนุโลมนับเอาขั้น "กัลยาณปุถุชน" นี้ ว่า เป็น "วิภวตัณหา" ด้วย ก็เพราะ "กัลยาณชน" นั้นๆ มีความตั้งใจ ในใจจริง และสามารถทำกัน จนเป็นความสำเร็จจริง ในขั้นอุดมการณ์ได้ด้วย ทำความเจริญให้ตน ให้สังคมมนุษยชาติได้จริง ส่วนจะสำเร็จ มากหรือน้อย ได้เดี๋ยวเดียว หรือได้นาน ได้ดียอด หรือดีย่อย แนบเนียน ซับซ้อน ลึกซึ้ง สูงส่ง แค่ใด ก็ตามความจริง ที่ทำได้จริงนั้นๆ เท่าที่เป็นได้มีได้ อันมีปรากฏอยู่ใน สังคมมนุษย์ จึงต้องผนวกนับไว้ด้วย
ถ้าจะนับภาวะนี้เป็น "อุดมการณ์" ก็เริ่มนับได้ แต่ยังไม่มีคุณสมบัติ ชนิดที่เป็น "อาริยะแห่งโลกุตระ" เพียงแต่เป็น "กัลยาณปุถุชนแห่งโลกียะ" แค่นั้น
เพราะฉะนั้น ถ้าเข้าใจกันชัดเจนแล้วว่า "สามัญปุถุชน" นั้น ย่อมเป็นอยู่กับกิเลส โลภโกรธหลง เป็นธรรมดา และดำเนินชีวิต สามัญอยู่ด้วยการบำเรอให้สมโลภ สมโกรธของตน ตามสัญชาตญาณ โดย "หลงลืม-หลงผิด-หลงใหล-หลงเหลือ-หลงตัว" (โมหะ-อวิชชา) เป็นปกติธรรมดา นี่คือ "ภาวะ" หนึ่ง คือ คนสามัญ แท้ๆ
ส่วนคนที่ตั้งใจจริงและพากเพียรเป็น "กัลยาณปุถุชน" โดยพยายามลดความโลภโกรธหลง นั่นก็เป็น อีกภาวะหนึ่ง ซึ่งสูงขึ้นมา จาก "สามัญปุถุชน" ถึงขั้นมีคุณภาพเข้าขั้น คนดี มีกัลยาณธรรม
ดังนั้น ถ้าใครผู้ใดสำนึกจริงปฏิบัติจริงถึงขั้น "กัลยาณปุถุชน" จึงนับเป็น "อุดมการณ์" เบื้องต้น โดยอนุโลมนับเข้า ในความหมายของ "วิภวตัณหา" ด้วยประการฉะนี้ แม้จะยังไม่สามารถบรรลุธรรมขั้น "โลกุตระ" เลย แต่ก็เป็นคนมีดีจริงๆ
นั่นก็คือ ความหมายของ "วิภวตัณหา" ข้อที่ ขั้น "กัลยาณปุถุชน" (ปุถุบุคคล) อันเป็นคุณลักษณะข้อแรกของ "วิภวตัณหา"

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘