ความรัก ๑๐ มิติ 09-03

ตัณหา ๓


พระพุทธเจ้าตรัสแบ่งโลกไว้ โลก ได้แก่...
. กามโลก หรือ กามภพ
. ภวโลก หรือ ภวภพ
. วิภวโลก หรือ วิภวภพ
ผู้ใดยังมี "กามภพ-กามโลก" อยู่ ก็เพราะยังมี "กามตัณหา"
ผู้ใดยังมี "ภวภพ-ภวโลก" อยู่ ก็เพราะยังมี "ภวตัณหา"
ผู้ใดยังมี "วิภวภพ-วิภวโลก" อยู่ ก็เพราะยังมี "วิภวตัณหา"
จะ "ดับโลก" ต้องเรียนรู้ "ตัณหา ทั้ง " นี้ให้ถูกต้องละเอียดลออ เพราะมีความลึกซึ้ง ซับซ้อนอยู่มากใน "ตัณหา " นี้
"กามตัณหา" คือ อาการของกิเลสมันทำงานต้องการบริโภคจากทวารภายนอก
เช่น ลาภวัตถุ-ยศขั้นตำแหน่ง-รูปธรรมแห่งการยกย่องสรรเสริญเยินยอ-สุข ที่ได้จากเรื่องภายนอก เช่น "รูป-เสียง-กลิ่น-รส-เสียดสีสัมผัสนอก" ได้มาบำเรอแก่ตนทางทวาร ๕ ซึ่ง เป็นทวารภายนอก ได้แก่ ตา-หู-จมูก-ลิ้น-กาย เรียกว่า "กามคุณ ๕" ตามที่ตนติดตนยึด ว่าถ้าได้มาดั่งใจ สมกับขนาด สมกับทิฏฐิ ที่ตนหวังตนชอบนั้น แล้วก็จะเกิด "รสสุข" (อัสสาทะ)
"ตัณหา" เช่นนี้เป็นตัณหาเบื้องต้น มีวัตถุมีรูปธรรมหยาบ สัมผัสกันจากภายนอก โดยสมมุติกันขึ้นมา หลงเสพหลงติดกัน เป็นอุปาทานกันอยู่ ถ้วนหน้า ซึ่งใครๆ ต่างก็เคย เสพกันอยู่ทุกคน
นี่แหละคือ "กามตัณหา" ของ "ปุถุชน" สามัญ
"ภวตัณหา" คือ อาการของกิเลสมันทำงาน ต้องการบริโภคอยู่ ในทวารภายใน
เช่น มี "ความต้องการ" ที่เกิดอยู่ในภายใน เป็นสภาพวิมานในห้วงนึกคิดก็ดี ความอยากเป็นนั่นเป็นนี่ก็ดี หรืออยากเกิด อยากมีอยู่ คงอยู่ตลอดไปก็ตาม แล้วก็ฝังยึดอยู่ในจิตเป็น "ภพ" (ความยังวนเวียน, ความเกิด, ความเป็น, โลกเป็นที่อยู่ของสัตว์)
ซึ่งเป็น "รูปหรืออรูป" ในภายในทวารที่ คือ ในทวารใจเท่านั้น อันไม่ใช่ออกมาสัมผัสจาก ตา-หู-จมูก-ลิ้น-กาย เหมือน "กามตัณหา" มันเป็นอาการที่เกิดอยู่ในจิต นึกฝันอยู่ในจิต เมื่อได้รูปภายใน หรืออรูปภายใน มาเสพสมดั่งใจฝัน สมขนาด สมทิฏฐิ ที่ตนหวังตนฝันนั้นๆ แล้วก็จะเกิด "รสสุข" (อัสสาทะ) หากไม่ได้สม ตามที่หวังที่ฝันก็ทุกข์
หรือสภาพที่ปั้นขึ้นสร้างขึ้นเองในจิตโดยตรง แล้วก็ สัมผัสภายใน เสพสมเองอยู่ในจิต ไม่ว่าจะเป็น "รูป (ภายในจิต) - อรูป - นามธรรม" แท้ๆ เช่น "ความรู้-ความเฉลียวฉลาด-ศาสตร์วิชาการ" หรือเพียง "ความคิดนึกวาดฝัน" (วิมาน) ใดๆ หรือจะเป็น "รูปฌาน-อรูปฌาน" ที่เป็นชนิด "รูปภพ-อรูปภพ" ในจิต ตามแบบลัทธิ นั่งหลับตา ทำสมาธิทั้งหลาย หรือถึงขนาดสภาพ "ดับจิต" ที่พากันเรียกว่า "นิโรธ" หากทำได้ ปั้นสร้างขึ้นได้ (เนรมิต) แล้วก็เป็นสุขเสพสม ชมชื่นติดยึดกันไป
สภาพที่เสพสุขทางทวารจิตอยู่ดังกล่าวนี้ ภาษาสมัยใหม่ เขาก็ว่า "สำเร็จความใคร่ทางความคิด หรือ สำเร็จความใคร่ทางจิต" ภาษาธรรมคือ เสพสม "อัสสาทะ" ในภพ
นี่ก็ยังคือ "ภวตัณหา" ของ "ปุถุชน" สามัญ.. โลกียะ
"วิภวตัณหา" คือ ความต้องการที่เป็นอุดมการณ์เป็นความต้องการ ที่ตั้งใจไปสู่ภพ แห่งคุณงามความดี แปลตรงตามภาษา ก็คือ "ความต้องการในวิภพ" อันหมายถึง ความต้องการ "ไม่เป็นไม่มีภพ" ที่เลว ที่ไม่ดีทั้งหลาย ได้แก่ ความต้องการ "ไม่มีกาม..ไม่มีภพ" ซึ่งหมายถึง ความต้องการ "ล้างกามตัณหา ล้างภวตัณหา" นั่นก็หมายความว่า "ตัณหา" ที่ต้องการ "ล้างตัณหา" นั่นเอง ที่สุดก็ "ต้องการไม่มีตัณหา" หรือ "ไม่มีภพ" เป็นสุดยอด
แบ่งออกเป็น ขั้นให้ฟังง่ายๆ แต่มีความซับซ้อนลึกซึ้ง อยู่ไม่น้อย
() ขั้น "กัลยาณปุถุชน" (ปุถุบุคคล)
(
) ขั้น "อาริยชน" (เสขบุคคล)
(
) ขั้น "อมตชน" (อเสขบุคคล)

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘