ความรัก ๑๐ มิติ 08

ความรัก มิติที่ ๘ อเทวนิยม


มิติที่ คือ ความรักที่เรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างให้ถ่องแท้ละเอียดลออ ทั้งรูปธรรมและนามธรรม โดยเฉพาะ "นามธรรมที่เป็นจิตวิญญาณ" และ"สัจจะแห่งความรัก" ทุกมิติ
ตั้งแต่ มิติที่ ไต่สูงขึ้นมาอย่างเจาะลึกละเอียดเป็นขั้นเป็นระดับ พร้อมกับเรียนรู้ให้เห็นแจ้งในสัจธรรมของ "สภาวะแห่งความรัก" ว่า
มันคืออะไรกันแน่? มันมีอาการอย่างไร?
อะไรเป็นเหตุให้เกิดความรัก มีผลร้ายผลดีอย่างไร?
มันเกิดที่ไหน? ตั้งอยู่ที่ไหน? ดับในที่ไหน?
มันอาศัยอะไรเป็นอยู่ หรือดำเนินไปในโลก?
จริงๆแท้ๆนั้น มันให้ความทุกข์หรือความสุข?
มันเป็นความจริง หรือความลวง?
แม้มันจะให้ความทุกข์ แล้วมันมีประโยชน์บ้างหรือไม่?
หากมันมีประโยชน์ จะใช้มันทำประโยชน์ได้อย่างไร?
มนุษย์ควรมีหรือไม่? ถ้าควรมี จะมีได้แค่ไหน? อย่างไร?
หากจะดับมัน ไม่ให้เกิดในตนเลย ได้หรือไม่?
และถ้าจะมีมันเพื่อใช้สร้างประโยชน์ โดยตนไม่ติดยึด จะทำได้หรือไม่?
ที่สุด ไม่ต้องมีอะไรอีกเลย แม้แต่สิ่งที่ "ความรัก" ต้องอาศัย จะได้หรือไม่?
ตามที่กล่าวมานั้น เป็นประเด็นแห่งปัญหา ที่มีคำตอบสมบูรณ์แล้วในศาสนาพุทธ
โดยสัจจะ ลักษณะอาการทางจิตที่เรียกด้วยภาษาว่า "ความรัก" นี้ ที่แปลมาแต่ต้นว่า "อาการชอบใจผสมความยินดี" แท้ๆ จริงๆ แล้ว มันก็คือ"ความต้องการ"นั่นเอง ดังที่ได้สาธยายมาแล้วตั้งแต่ มิติที่ - ก็ล้วนคือ "ความต้องการ" ซึ่งต้องการ "สร้าง" หรือต้องการ "ทำลาย" นั้น และต้องการเพื่อ "ตัวกู" หรือต้องการเพื่อ "ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น" นั้นอีก
สรุปชัดๆ อีกที "ความรัก" ไม่ใช่อารมณ์ "เฉยๆ..นิ่งๆ.. กลางๆ" หรือไม่ใช่ "อารมณ์ที่หยุดสนิท" นั่นเอง แต่เป็นอาการทางจิตที่ต้องการ "ให้" หรือ ต้องการ "เอา" และ ต้องการ "สร้าง" หรือ ต้องการ "ทำลาย"
ถ้าใคร ไม่มีความต้องการ "ให้" หรือไม่มีความต้องการ "เอา" ไม่ว่าชั่วขณะใดขณะหนึ่ง หรือมีเป็นช่วงยาว-ช่วงสั้น หรือ มีถาวรก็ตาม นั่นก็คือ อาการนั้นเรียกได้ว่า อาการของผู้นั้น "ไม่มีความรัก" หรือ "ไม่มีความต้องการ" นั่นเอง
ดังนั้น อาการทางจิตของใครที่เกิด "ความต้องการ" ขึ้นในจิต ก็คือ คนผู้นั้นกำลังเกิด "ความรัก"
"ความต้องการ" ที่ว่านี้ ภาษาทางศาสนาพุทธ เรียกว่า "ตัณหา" ซึ่งแบ่งออกเป็น ประเภทใหญ่ ได้แก่
"กามตัณหา - ภวตัณหา - วิภวตัณหา"
หรือ "ความรัก ที่เกี่ยวกับลักษณะกาม (กามตัณหา)
- ความรักที่เกี่ยวกับลักษณะภพ (ภวตัณหา)
- ความรักที่เกี่ยวกับลักษณะวิภพ (วิภวตัณหา)"
ความรู้ละเอียดๆ ขึ้น จึงอยู่ที่ "ความเป็นกาม-ความเป็นภพ-ความเป็นวิภพ" ว่า เป็นอย่างไร? กินความแค่ไหน? แตกต่างพิสดารกว่ากันถึงขนาดไหน? จึงจัดแบ่งกันไว้เป็น อย่างนั้น
เมื่อผู้ศึกษาได้ศึกษาถึงความจริงของ "กาม-ภพ-วิภพ" อย่างสัมมาทิฏฐิ จนเกิด "วิปัสสนาญาณ" ก็จะดำเนินการ กับสิ่งที่ควร และไม่ควรได้ถูกต้อง และนำพาชีวิตตน ให้เจริญไปกับการมี "ความรัก" ได้ ทั้งอย่างมีคุณค่าประโยชน์ ทั้งอย่าง เป็นสุขวิเศษขึ้นจริง อยู่ในตัวพร้อมๆ กัน
ส่วน "ความรัก" นั้น คงพอจะเข้าใจกันอยู่ทั่วไป จะคนละมากคนละน้อยก็ตามภูมิของแต่ละคน ถ้าใครยิ่งได้เรียนรู้และได้ฝึกหัดอ่าน "อาการในจิต" ที่เกิดลักษณะของ "ความต้องการให้ หรือ ต้องการเอา" และ "ต้องการสร้าง หรือ ต้องการทำลาย" อย่างจริงจังถ่องแท้ ในความซับซ้อน ของความจริงพวกนี้ ก็ยิ่งจะรู้แจ้งเห็นจริง ใน "ความจริง" ชัดเจนว่า "สัจจะแห่งความรัก" คืออย่างไรกัน แม่นๆ มั่นๆ ยิ่งขึ้น
ดังนั้น ถ้าผู้ศึกษาฝึกฝน ได้บรรลุผลสมบูรณ์รู้แจ้งหยั่งถึงความจริง ก็จะหมดปัญหาที่ว่า...
ความรัก มันคืออะไรกันแน่? มันมีอาการอย่างไร?
และถ้าหากได้ศึกษาลึกซึ้งขึ้นไปถึงว่า อะไรเป็นเหตุให้เกิดความรัก มีผลร้ายผลดีอย่างไร? ก็ยิ่งจะรู้แจ้งมากเพิ่มเติม และจะได้จัดการส่วนที่ "ร้าย" ให้หมดไปจากตน พร้อมกับ จัดการส่วนที่ "ดี" ให้เพิ่มพลังขึ้น ให้เกิดคุณค่าประโยชน์แก่ตน แก่สังคม และโลกทับทวี

ไม่ว่าจะเป็น "ประเด็นแห่งปัญหา" ข้ออื่นๆ ที่กล่าวไว้ ตอนต้น เป็นต้นว่า

มันเกิดที่ไหน? ตั้งอยู่ที่ไหน? ดับในที่ไหน? มันอาศัยอะไรเป็นอยู่ หรือดำเนินไปในโลก? จริงๆ แท้ๆนั้น มันให้ความทุกข์ หรือความสุข? มันเป็นความจริง หรือความลวง? ฯลฯ
และประเด็นอื่นๆ ทั้งหลากทั้งหลายดังกล่าวมาแล้วนั้น ก็ต้องเรียนรู้ให้แจ่มแจ้ง และฝึกฝนอบรมตน จนเกิดผล ไปตามขั้นตามตอน กระทั่งสมบูรณ์ให้ได้
ผู้ศึกษาและฝึกฝนจนเกิด "มรรคผล" แท้จริง เราเรียกว่า "อาริยบุคคล" ซึ่งเป็นศัพท์ที่กำหนดเรียก "ผู้บรรลุพุทธธรรม" โดยแบ่งชั้นไว้ ชั้นใหญ่ๆ คือ

โสดาบัน -สกทาคามี -อนาคามี -อรหันต์

          "อาริยบุคคล" หมายความว่า คนเจริญเพราะมี หรือเกิดความประเสริฐจริงในตน ตามทิศทางที่ พระพุทธเจ้า ทรงค้นพบ ซึ่งเป็น "คนโลกใหม่หรือคนโลกอื่น" (ปรโลกที่ชื่อว่าโลกุตระ)
ที่เรียกว่า "โลกใหม่" ก็เพราะเป็นโลกที่ต่างจาก "โลกเก่า" แล้วจริงๆ ทั้งๆ ที่ยังเป็นคนเหมือนกัน "มีกายมีจิตวิญญาณ" เช่นเดียวกัน อยู่ในสังคมเดียวกันนี่แหละ แต่มีความรู้สึกนึกคิด "เป็นอันอื่น" (ปร) "ต่างไปจากคนโลกเก่า" (ปร) "นอกไปจากเดิม" (ปร) แล้วจริง ความรู้สึกนึกคิดของชาว "โลกเก่า" เรียกว่า "โลกียะ" เป็นโลกที่ใครๆ ก็รู้ก็เป็นอยู่อย่างนั้นกันทั้งนั้น ส่วน "โลกใหม่" นี้เป็นอีกโลกหนึ่ง ที่แปลกไปกว่า "โลกเก่า" คนละทิศละทาง
ความเป็น "โลก" ซึ่งหมายถึง ความหมุนวนเวียนอยู่ไปมา อย่างไม่รู้จบ ถ้าความเป็น "โลก" นั้นดับลง หรือ ไม่มีความหมุนวนของสิ่งนั้น ก็คือ หมดความเป็น "โลก"
"โลกเก่า" ของคน หรือ "โลกียะ" ของคนก็คือ "ความวนเวียนเกิด-ตาย แล้วก็ตาย-เกิดของคน        ย่อมวนเวียนอยู่ เพราะอำนาจของกรรม ของวิบาก ที่ตนเองไม่รู้จัก อย่างแจ้งจริง แล้วก็ต้องเป็นไปตามกรรม ตามวิบาก ดีๆ ชั่วๆ ทุกข์ๆ สุขๆ ขึ้นสวรรค์ลงนรก ตกนรกขึ้นสวรรค์ สูงๆ ต่ำๆ ขาวๆ ดำๆ ร่ำรวยหรือยากจน สวยหรือขี้เหร่ ฯลฯ สารพัดแห่ง "สมมุติของโลก" นับไม่ถ้วน ที่ต้องหมุนวน ไปตามอำนาจของ กุศลกรรม - อกุศลกรรม
          และที่สำคัญคือ ใน "โลกเก่า" หาทฤษฎีที่จะทำให้คนทำตนสูงจริงดีแท้มั่นคงถาวร สวรรค์ชนิดเที่ยงแท้มีหลักประกัน ชนิดที่จิตได้สำรอกเหตุชั่วอย่างถูกตัวถูกตนของมัน และเห็นแจ้งของจริงด้วยญาณปัญญาอันยิ่งของตน (ขนาดข้ามชาติกันทีเดียว) ยังไม่ได้
ยิ่งกว่านั้น ก็คือ ไม่สามารถทำให้จบ "การเกิด-การตาย" อย่างเด็ดขาดจริง
โลกเก่าหรือโลกียะ ยังไม่พ้นความเป็น "ทาส" จึงเรียกว่า ยังไม่พ้น "โลกธรรม" พูดชัดๆก็คือ "ไม่พ้นโลกียธรรม" หรือยังเป็น "ทาส" ลาภ-ยศ-สรรเสริญ-โลกียสุข อยู่นั่นเอง ไม่มากก็น้อย
คนโลกเก่าก็จะพอรู้ความเป็น "ทาส" ดังกล่าวนี้อยู่บ้าง และมีผู้พยายามทำตนให้ "พ้นจากความเป็นทาส" เหล่านี้เหมือนกัน ซึ่งทำได้ชั่วคราว หรือนาน อาจจะนานติดต่อกันไปยืนยาว หรือหลายชาติ แต่ไม่จบการ "วนเวียน" ไม่หยุดการวนเวียน อย่างเด็ดขาด ชนิดเที่ยงแท้ถาวร จึงไม่เป็นหลักประกันที่แน่แท้สัมบูรณ์ (absolute)
ดังนั้น "โลกเก่า" หรือ "โลกียะ" ก็จะเป็นอยู่อย่างเก่าๆ เดิมๆ นั่นเอง หมุนวนหมุนเวียน ดีๆชั่วๆ ทุกข์ๆ สุขๆ ขึ้นสวรรค์ลงนรก ตกนรกขึ้นสวรรค์ สูงๆ ต่ำๆ ขาวๆ ดำๆ ร่ำรวยหรือยากจน สวยหรือขี้เหร่ ฯลฯ เร็วบ้าง ช้านานบ้าง อยู่อย่างนั้นนิรันดรมา และคงนิรันดรตลอดไป ถ้าไม่รู้จัก "โลกใหม่" ที่ชื่อว่า "โลกุตระ"
เพราะ "โลกียะ" ก็คือ โลกสามัญที่ทุกคนเคยผ่านมาแล้วทั้งสิ้น เคยรู้เคยเข้าใจ เคยเชื่อ เคยยึดถือมา เคยเห็น เคยเป็น เคยรู้สึก เคยมุ่งหวัง เคยท้อถอย เคยสุข เคยทุกข์ เคยโลภ-โกรธ-หลง เคยรัก เคยจางคลาย เคยตายจาก แต่ไม่จบไม่เลิก ต้องเวียนกลับมาเป็นกันใหม่อีก ฯลฯ เป็นความวนเวียน เกิดแล้วเกิดเล่า มาแต่ไหนแต่ไร ไม่มีทางหลุดพ้น ออกไปจากมัน เป็นที่สุดที่สิ้น ได้จริงแท้ ชนิด "ดับถูกเหตุ อย่างถูกตัว ถูกตน ของมัน" สักที
ส่วน "โลกใหม่" นั้น เป็น "โลกอื่น" (ปรโลก) เป็น "โลกที่ ต่างหากจากโลกเก่า" (ปรโลก) มีคุณลักษณะ และความเป็นไป ดำเนินอุดมการณ์ไป อีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า "โลกอุดร" หรือ "โลกุตระ" อันแตกต่าง จากคนทั้งหลาย ทั้งปวงในโลกเก่า ที่เรียกว่า "โลกียะ" ไปแล้วจริง ชนิดมีวิถีชีวิต เดินทางไปสู่ "นิพพาน" อย่างแน่นอน ในอนาคตข้างหน้า
ผู้ที่มี "ความรัก" ชนิด "อเทวนิยม" นี้ หรือคนชนิด "มิติ ที่ " นี้จะเรียกว่า "อาริยนิยม" ก็ดี เรียกว่า "โลกุตรนิยม" ก็ได้

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘