ศาสตราจารย์ คุณหญิง เต็มศิริ บุณยสิงห์

ศาสตราจารย์ คุณหญิง เต็มศิริ  บุณยสิงห์
                       ในวงการพูด นักอภิปราย นักปาฐกถา และนักโต้วาที เมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา เห็นจะไม่มีใครที่ไม่รู้จัก สุภาพสตรีท่านนี้ การพูดและการเขียนของท่านแสดงจุดยืนอย่างเด่นชัด ในอันที่จะเกื้อกูลรักษาไว้ซึ่ง วัฒนธรรมและประเพณี มีศีลธรรมจรรยา และท่านจะอุทิศเวลาเกือบทั้งหมดในชีวิตให้กับการศึกษาค้นคว้า และเผยแพร่ความรู้แก่ศิษย์ และประชาชน โดย  "ครู" เป็นอาชีพและจิตใจ ลีลาการพูดของอาจารย์ท่านจะใหม่สด มีความคิดเป็นตัวของตัวเอง เปี่ยมด้วยสาระ ทัศนคติทันสมัยและคมคาย ทำให้เกิดความประทับใจแก่ผู้ฟัง แม้ว่าท่านจะเกษียณอายุราชการแล้ว แต่ท่านก็ใช้เวลาให้มีค่าด้วยการพูดและการเขียนอย่างสม่ำเสมอ
                          ครับ ท่านผู้นี้คือ ศาสตราจารย์ คุณหญิง เต็มศิริ  บุณยสิงห์
                          เรามาทราบประวัติอันน่าสนใจของท่านดีกว่าครับ
                          อาจารย์ท่านเป็นชาวกรุงโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.23465 อยู่บ้านเลขที่ 9 ซอยต้นสน ถนนเพลินจิตร กทม. บิดาชื่อ พล.ต.ต.หลวงศิลป์ประสิทธิ์  ศิลป์  ท่านได้สมรสกับ ดร. ครุย บุณยสิงห์ มีบุตรด้วยกัน 2 คน
                           ส่วนประวัติทางการศึกษา ก็น่าสนใจไม่แพ้กันนะครับ
                            ท่านเข้าเรียนประถมศึกษาที่ ร.ร.อนุศึกษา แล้วย้ายไปที่ ร.ร.มหาพุฤฒาราม และอีกหลายๆแห่ง จนถึง พ.ศ. 2478 ท่านได้เข้าศึกษาที่ร.ร.วัฒโนทัยพายัพ ที่เชียงใหม่นี่เอง ศึกษาจนจบมัธยมปีที่ 8 แผนกภาษา (สอบไล่ได้ที่ 7 ของประเทศไทย )พ.ศ.2480ท่านก็สอบติดที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะอักษรศาสตร์ โดยตอนนั้น "เจ้าหลวง" แห่งเมืองเชียงใหม่ ได้เอาแตรวงแห่ไปส่งถึง มหาวิทยาลัยเลยทีเดียว
                              ท่านได้รับปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิต ใน พ.ศ. 2484 และได้รับประกาศนียบัตรครูมัธยม จากนั้นก็รับราชการอยู่หลายปี จนพ.ศ. 2479 ท่านก็ได้เข้าศึกษาต่อที่ รัฐ IOWA  พ.ศ. 2499 ที่วิทยาลัยครูรัฐ Washington สหัฐอเมริกา พ.ศ. 2500 ได้ปริญญาโทรทางการบริหารการศึกษาและแนะแนวจาก  " Western  Washington College of Education "
                           เป็นอย่างไรบ้างครับ น่าทึ่งไหมผลงานของท่านบ้างดีกว่าครับ
                              1.ท่านเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนสาธิตฯคนแรกของประเทศไทย
                              2.ท่านเป็นคนผลักดัน โครงการ "เพศศึกษา " ในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา
                              3. เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยศรีนคริรทราวิโรฒประสารมิตร
                              4. ท่านต่อสู้อย่างหนักเพื่อให้มีการอบรมวิชา "มรดกไทย "
                              5. เป็นอาจารย์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และยังมีอีกมากมายเลยล่ะครับสำหรับผลงานของท่าน แต่ก็ยังอยู่ในแวดวงของ นักวิชาการด้านการศึกษา (จิตวิทยาและพัฒนาการของเด็ก ) ครู/อาจารย์ การอบรมศิลปวัฒนธรรม สุภาพสตรีนักพูด นักปาฐกถา นักโต้วาที วิทยากร และ นักอภิปรายชื่อดัง
                              สิ่งที่น่าสนใจ และควรเอาเป็นแบบอย่าง ก็มีดังนี้
1.    1.      ท่านเป็นคนรู้จักใช้เวลา คือ ในชีวิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย อาจารย์ท่านไม่เคยพลาด เรื่องกิจกรรมเลย ท่านบอกว่า กิจกรรมถ้าจัดให้เหมาะสมกับกำลังความสามารถแล้ว จะช่วยอย่างมาก ที่ว่ากิจกรรมจะทำให้การเรียนเสียนั้น ไม่จริงเสมอไป คนที่ทำกิจกรรมแล้ว มีอะไรมาพัวพันในใจ เช่น อาจไปชอบใครต่อใคร ใจลอย จนคุมตัวเองไม่อยู่ จึงไม่เรียนหนังสือ  " คนจบปริญญาทุกคน ถือว่าเท่ากันหมด จะแตกต่างกันอยู่ที่กิจกรรม " และอาจารยังเป็นนักกีฬาตัวเก่งอีกด้วย
2.    2.      ท่านเป็นผู้ที่ปรับตัวเก่ง เข้ากับใครๆ หรือสังคมแบบไหนก็ได้ ท่านต้องย้ายที่บ่อยๆ เนื่องจากบิดา รับราชการเป็น ตำรวจ โดยส่วนใหญ่ จะอยู่ทางภาคเหนือ
3.    3.      อาจารย์ เป็นผู้หญิงที่กล้าแสดงออก แม้ว่าในสมัยนั้น คนส่วนมากจะมองผู้หญิงจะถูกมองเป็นช้างเท้าหลัง เป็นแม่บ้านแม่เรือน
4.    4.      มีจิตวิญญาณความเป็นครู ท่านถูกเชิญ ให้ไปเป็นวิทยากร ท่านก็ไปโดยที่ ไม่มีค่าตอบแทนใดๆ หรือแม้ว่า ท่านจะเกษียณอายุราชการแล้ว ท่านก็ยังให้เวลาเกี่ยวกับการศึกษา โดยไปเป็นครูพิเศษ หรือวิทยากรตามสถาบันการศึกษาต่างๆ
                              เพื่อนๆเห็นไหมครับ ว่าอาจารย์ท่าน มีจุดยืนที่แน่นอน แม้จะเป็นหญิง แต่ท่านก็มุ่งมั่น อดทน ทำงานได้ไม่แพ้ชายโดยที่อาจารย์ท่านได้ยึดถือคติประจำตัวอย่างเคร่งครัดและรักมากจนกระทั่ง นำไปเขียนติดไว้ที่ หัวนอนของตน คือ.."ทำให้ดี ทำให้ได้ ทำให้แล้ว ทำให้เร็ว ".

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘