กุยแก ผู้ช่วยมือขวาของโจโฉ

กุยแก ผู้ช่วยมือขวาของโจโฉ

    ในบรรดานักวางแผนทั้งหลายของโจโฉนั้น กุยแกเป็นคนหนุ่มที่สุด แต่วางแผนได้อย่าง  น่าอัศจรรย์ โจโฉจึงให้ความสำคัญกับเขามาก ยกย่องให้เป็น "ผู้ช่วยมือขวา" เขาได้ใช้สติปัญญาและแผนการสร้างคุณูปการอย่างสำคัญให้แก่การขยายอิทธิพลโจโฉและการรวมจีนภาคเหนือเข้าเป็นปึกแผ่น และยังมีการ "ผลงาน" ความสำเร็จทางด้านศิลปะการต่อสู้ทางการทหารและการเมืองไว้ให้ชนรุ่นหลังได้เป็นกระจกเงา เป็นไข่มุกแห่งปัญญาที่มีอยู่ในคลังแห่งภูมิปัญญาตะวันออกอีกเม็ดหนึ่ง

1.    1.   ผลงานของกุยแก  "ผละจากอ้วนเสี้ยว"

พ.ศ. 713-750  ซึ่งเป็นช่วงปลายสมัยแผ่นดินราชวงศ์ฮั่นที่บ้านเมืองวุ่นวายระสำระสาย กุยแกมีความมุ่งมั่นอันยิ่งใหญ่มาตั้งเด็ก มีความรู้มาก และได้แอบคบหากับคนดีมีฝีมือ เพื่อรอคอยโอกาสที่จะมาถึง จึงคบหากันบ้าง เขาก็มองออกว่าอ้วนเสี้ยวดูภายนอกเข้มแข็งเกรียงไกรมีชื่อเสียงโด่งดัง และมองเห็นจุดอ่อนของอ้วนเสี้ยวที่จะนำไปสู่ความหายนะ จึงได้พูดกัยซินผิงและกวอถูกสองนักวางแผนและที่ปรึกษาของอ้วนเสี้ยวว่า "ผู้มีปัญญาสุขุมในการประเมินผู้เป็นนาย จึงจะประสบความสำเร็จมีชื่อเสียง
กุยแกคาดการณ์ไว้ได้ถูกต้อง อ้วนเสี้ยวมีแต่ท่าทีให้เกียรติแก่คนดีมีปัญญาและชื่อเสียงจอมปลอม แต่ไม่สามารถให้คนเหล่านี้ได้อย่างแท้จริง ไม่กุมเรื่องใหญ่ ชอบแต่แผนอุบายเล็กๆ น้อยๆ คนเช่นนี้ย่อมไม่อาจแบกรับภาระอันหนักอึ้งที่จะกอบกู้แผ่นดินให้พ้นความหายนะ กุยแกผู้มีอุดมการณ์อันยิ่งใหญ่ ย่อมไม่เลือกเขาเป็นนายแน่

2.    2.   เห็นเหตุแห่งชัยชนะสิบประการ

เวลานั้น อ้วนเสี้ยวปราบปรามกองซุนจ้านลงได้ และได้ผนวกเอาเมืองทั้งสิ่งเข้าด้วยกัน จนมีกำลังทหารแสนคนเศษ และกำลังจะกรีธาทัพบุกเมืองฮูโต๋ โจโฉอยากยกทัพออกต่อต้าน แต่ก็ลังเลใจและหวาดกลัว จึงได้ขอคำแนะนำจากกุยแกว่า
เขาได้แจกแจงวิเคราะห์ลงไปว่า "อ้วนเสี้ยวมีลางพ่ายสิบประการแต่ท่านมีเหตุแห่งชายชนะสิบประการ แม้เขาจะมีกำลังทหารมาก ก็ทำอะไรไม่ได้" ซึ่งลางพ่ายสิบประการและเหตุแห่งชัยชนะสิบประการก็คือ
"อ้วนเสี้ยวจะแต่งตั้งใครก็ถือระเบียบพิธีการและจารีตประเพณียุ่งยากมาก ส่วนท่านเข้าในในกฎแห่งธรรมชาติ ท่านจึงชนะด้วยธรรม"  การชนะด้วยธรรมคือชัยชนะที่ได้มาโดยมีนโยบายที่สอดรับกับกฎแห่งธรรมชาติ
"อ้วนเสี้ยวมีพฤติการทรยศ ส่วนท่านนำพาชาติด้วยความชอบธรรม ท่านจึงชนะด้วยความชอบธรรม
"อ้วนเสี้ยวดูภายนอกมีน้ำใจกว้างกว่าขวาง แต่จะใช้คนไหนก็ระแวงเขาไปหมด จึงตั้งแต่พวกลูกหลานญาติพี่น้อง ส่วนท่านดูภายนอกเป็นคนง่ายๆ แต่ฉลาดหลักแหลม ใช้ใครก็ไม่ระแวงทั้งยังเลือกใช้ตามความสามารถ
"อ้วนเสี้ยววางแผนมาก แต่ขาดการตัดสินใจ จึงมักพลาดท่าเสียที ส่วนท่านวางแผน          แล้วจะต้องปฏิบัติตามทันที ทั้งยังพลิกแพลงได้ไม่สิ้นสุด ท่านจึงชนะด้วยแผนการ"
"อ้วนเสี้ยวสั่งสมบารมี ประนมมือถ่อมตนเพื่อเก็บเกี่ยวหาชื่อเสีย จึงมีพวกช่างเจรจาพาทีมาพึ่งพิงเขาเสียเป็นใหญ่ส่วนท่านปฏิบัติต่อคนด้วยน้ำใสใจจริง ไม่เสแสร้ง บังคับบัญชาทหารอย่างรู้จักควบคุมตนเอง ไม่เคยตระหนี่กับผู้ที่มีความดีความชอบ
"อ้วนเสี้ยวเห็นคนที่ต้องทนหนาวเหน็บและอดอยากหิวโหย จะแสดงความเวทนาสงสรออกมาให้เห็นทางสีหน้า ส่วนที่เขาไม่ได้เห็นกับตานั้น บางทีเขาอาจะไม่ได้ห่วงใยถึง เช่นนี้เปรียบได้ดังความเมตตาสงสารของอิสตรี ส่วนท่านจะมองข้ามเรื่องเล็กน้อยเฉพาะหน้าไปในบางครั้ง
"อ้วนเสี้ยวมีแต่ขุนนางที่แก่งแย่งชิงอำนาจ ใส่ร้ายป้ายสีก่อความวุ่นวาย ส่วนท่านปกครองคนในบังคับด้วยคุณธรรม ไม่มีผู้ใดจักแสวงหาผลประโยชน์ได้ ท่านจึงชนะด้วยความเที่ยงธรรม"
"อ้วนเสี้ยวไม่รู้จักแยกแยะถูกผิด ส่วนท่านนั้น ผู้ใดกระทำความชอบจะมีบำเหน็จรางวัลให้หากผู้ใดกระทำผิด ก็จะดำเนินการไปตามกบิลเมือง ท่านจึงจะชนะด้วยหลักกบิลเมือง
"อ้วนเสี้ยวชอบอวดอ้างแสนยานุภาพแต่ไม่รู้หลักการสงครามส่วนท่านบัญชากองทัพได้ดุจเทพ สามารถใช้เอาชนะข้าศึกที่มีกำลังมากกว่าได้ นักการทหารต่างหวังพึ่งพิง แต่ข้าศึกข้าหวาดกลัวท่านจึงชนะด้วยหลักการสงคราม"
กุยแกได้วิเคราะห์ความได้เปรียบเสียเปรียบเทียบของอ้วนเสี้ยวกับโจโฉไว้อย่างครบถ้วน ตั้งแต่ด้านนโยบายการเมืองและเศรษฐกิจกำลังทหาร การสนับสนุนจากราษฏร ตลอดไปจนถึงนิสัยและความสามารถส่วนตัวของทั้งสองคน และได้ข้อสรุปออกมาว่า โจโฉมีเหตุแห่งชัยชนะอยู่ 10 ประการ ซึ่งเป็นการคาดการณ์มองล่วงหน้าอย่างมีหลักเกณฑ์

โจโฉเห็นด้วยตามแผนการนี้อย่างยิ่ง จึงได้ยกทัพมุ่งหน้าไปทางตะวันออก เข้าปรับปราม        ลิโป้ แต่ลิโป้ก็สามารถป้องกันเมืองแห่ฝีมือได้อย่างเหนียวแน่น และเมื่อตีเมืองได้ทั้งทหารก็เหนื่อยล้ากันมาก โจโฉจึงคิดจะยกทัพกลับ กุยแกกับซุนฮิวได้ทัดทานไว้ ให้ฉวยโอกาสที่ลิโป้รบพ่ายมาถึงสามครั้งจนไม่มีขวัญสู้รบ เข้าโจมตีอย่างหนัก จะสามารถจับตัวลิโป้ได้แน่ โจโฉจึงเลิกล้มความคิดที่จะถอยทัพ และสั่งทหารเข้าโจมตีอย่างหนัก พร้อมทั้งชักน้ำจากแม่น้ำอี๋สุ่ยและซื่อสุ่ยให้ไหลเข้าท่วมเมือง จนสามารถตีหักเอาเมืองจับตัวลิโป้ไว้ได้

3.    3.   คาดคะเนการตายของซุนเซ็ก

โจโฉพอทราบข่าวว่าซุนเซ็กปราบปรามดินแดนทางกังหนำได้ราบคาบ ก็เป็นกังวลยิ่งนัก มักอุทานถอนใจว่า "คงสู้รบปรบมือด้วยยาก" ซุนเซ็กกล้าหาญชาญชัยหาใครเทียบไม่ได้ "ออกศึกทำสงครามมานับพันลี้ จนได้ดินแดนกังตั๋งไงทั้งหมด จึงเป็นภัยคุกคามต่อโจโฉโดยแท้ มิน่าฝ่ายโจโฉจึง "หวาดกลัวกันทุกคน"  กุยแก  บทที่ 14  ซานกั่วจื้อ" จะมีก็แต่กุยแกคนเดียวเท่านั้นที่มีสีหน้าไม่ห่วงกังวล เพราะเขาคาดการณ์ไว้ว่าการกระทำของซุนเซ็กในครั้งนี้คงสำเร็จได้ยาก ซึ่งทุกคนฟังแล้วก็งุนงงไม่เข้าใจกัน
กุยแกอธิบายพร้อมคาดคะเนไว้ว่า "ซุนเซ็กเพิ่มจะได้ดินแดนกังตั๋งใหม่ๆ แต่เขราก็จ้องปราบปรามคนดีมีฝีมือในท้องถิ่น ทั้งนี้เพราะทหารยอมสู้ตายถวายชีวิตเพื่อเขา ซุนเซ็กจึงประมาทข้าศึกและไม่มีเตรียมพร้อมป้องกัน ดังนั้นถึงแม้เขาจะมีกำลังทหารนับล้าน ก็ไม่ต่างไปจากดินแดนอยู่โดดเดี่ยวคนเดียว แค่ส่งมือสังหารไปแอบซุ่มฆ่าเขาสักคนก็ได้แล้วข้าว่าเขาคงต้องตายด้วยน้ำมือของคนเพียงคนเดียวแน่"
ทุกคนฟังคำคาดคะเนของกุยแกแล้ว ก็ยังเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่งแต่ต่อมาไม่นาน ก็เป็นความจึงขึ้นมา "ซุนเซ็กถูกเค้าก๋องลอบสังหารเสียชีวิต ขณะมาถึงแม่น้ำแต่ยังไม่ทันได้ข้าม"

4.    4.   แผนปราบสองพี่น้องตระกูลอ้วน

ในการรบที่ยุทธภูมิกัวต๋อ โจโฉประสบชัยชนะอย่างงดงามส่วนอ้วนเสี้ยวปราชัยย่อยยับ ต่อมาอ้วนเสี้ยวก็ตรอมใจจนเสียชีวิตลง กุยแกได้เข้าร่วมวางแผนอยู่ด้วยต่อมาก็จะติดตามโจโฉทำการปรับปรามอ้วนถำและอ้วนซงบุตรชายคนโตและคนเล็กของอ้วนเสี้ยว อ้วนซงได้สืบทอดอำนาจต่อจากบิดา เป็นเหตุให้อ้วนถำไม่พอใจ อ้วนซงเองก็ระแวงอ้วนถำ จึงแบ่งทหารให้เขาน้อยมาก   ทั้งสองฮ่องกี๋ไปอยู่กับอ้วนถำด้วย เพื่อให้ไปเฝ้าดูความเคลื่อนไหวของเขา อ้วนถำเคยขอกำลังทหารเพิ่มหลายครั้ง แต่อ้วนซงกับสิมโพยที่ปรึกษาคู่ใจไม่ยอมให้ ทำให้อ้วนถำโกรธมาก จึงสังหาสิมโพยเสีย
เมื่อโจโฉยกทัพข้าแม่น้ำเหลืองเข้าตีอ้วนถำ อ้วนถำจำต้องแจ้งขอความช่วยเหลือไปยังอ้วนซงเป็นการด่วน ซึ่งอ้วนซงก็คิดส่งทหารมาช่วยพี่ชาย แต่ก็กลัวว่าอ้วนถำได้ทหารไปแล้วจะไม่มอบคืนให้ภายหลัง จึงให้สิมโพยอยูรักษาเมืองเงียบกุ่น แล้วนำทัพไปช่วยเหลืออ้วนถำด้วยตัวเอง โดยตั้งทัพเผชิญหน้ากับทัพของโจโฉที่เมืองลิหยง ทั้งสองฝ่ายเขาทำการรบกันอหลายครั้ง              ผลปรากฎว่าอ้วนซงพ่ายแพ้ต้องถอยกลับเข้าเมือง แม่ทัพทุกคนต่างอยากให้เข้าตีเมืองเพราะรบชนะตดต่อกันมาตลอด แต่กุยแกกลับเสนอให้หยุดโจมตีและถอนทัพกลับลงใต้ไปโจมตีเล่าเปียว ทำเอาทุกคนต่างงุนงงไม่เข้าใจกัน กุยแกจึงอธิบายให้ฟังว่า "บุตรสองคนนี้ของอ้วนเสี้ยวไม่เหมาะจะเป็นใหญ่ ด้วยมีกวอถูดและฮองกี๋คอยเป็นที่ปรึกษาวางแผนให้เหมาะจะเป็นหใญ่ด้วยมีกวอถูและฮองกี๋คอยเป็นที่ปรึกษาวางแผนให้จะต้องคอยต่อสู้กันเองและแตกแยกกันแน่น หากเหตุการณ์คับขันจะยกทหารเข้าประจัญหน้ากัน แต่ถ้าเหตุการณ์คลายความตึงเครียดก็จะเกิดการแก่งแย่งชิงดีกัน ถ้าเช่นนั้น เราสู้ยกทัพลงไปเข้าปรับเล่าเปียวที่เมืองเกงจิ๋วแล้วรอจังหวะที่พี่น้องสองคนนี้แตกแยกกันซึ่งถ้าพวกเขาแตกแยกกันเมื่อไหร่ เราค่อยยกทัพมาตีจะปรับปรามพวกเขาลงได้เป็นแน่

5.    5.   เสียดายกุยแกมาด่วนจาก

    ในบรรดานักวางแผนคนสำคัญๆ ของโจโฉนั้น กุยแกเป็นคนหนุ่มที่กระฉับกระเฉงที่สุด คนหนึ่งมีนิสัยกล้าได้กล้าเสีย ไม่ใส่ใจเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ จนออกไม่ใส่เรื่องการแต่เนื้อแต่งตัวจนทำให้"ตันกุ๋ยตำหนิว่ากุยแกทำอะไรไม่สำรวม เคยฟ้องกุยแกมาหลายครั้ง" แต่ "กุยแกก็ยังวางเฉยเมย" ไม่ได้ใส่ใจอะไร โจโฉไม่เพียงไม่ตำหนิกุยแกกลับยัง "ให้ความสำคัญกับเขามากยิ่งขึ้น
    กุยแกทำตัวสนิทสนมกับโจโฉได้เป็นอย่างดี ซึ่งโจโฉได้กล่าวรำลึกถึงเขาในภายหลักว่ากุยแก "มาอยู่ในกองทัพได้สิบปีเศษ ร่วมรบและร่วมวางแผน เคียงบ่าเคียงไหลกันมา" โจโฉยังถือเขาเป็นมิตรผู้รู้ใจว่า "มีเพียงฟ่งเสี้ยว (ชื่อรองของกุยแก) คนเดียวที่รู้ใจข้า" (จากพระราชประวัติพระเจ้าหวู่ตี้ บทที่  1  ซานกั๋วจื้อ) กุยแกเป็นคนองอาจผึ่งผาย ฮึกเหิม กล้าทำกล้ารับ พูดอะไรก็พูดเต็มที่มีความมั่นใจสูงมาก การเรื่องการวางแผนการทางหหารก็สร้างความดีความชอบไว้อย่างโดดเด่น โจโฮเองเคยกล่าวถึงคุณความดีของกุยแกไว้ว่า "(ช่วยวางแผน) ปราบปราลิโป้ พิชิตมู่กู่ตัดศรีษะอ้วนถำ ปราบปรามภาคเหนือจนสงบราบคาบ ยกทัพข้ามแดนทุรกันดาร เข้าปราบปรามซานจวิ้นอูหวันจนสามารถแผ่แสนยานุภาพไปถึงเลียวตั๋ง จนทางเลียงตั๋งต้องตัดศรีษะอ้วนซงมาให้แม้มี   ข้าบัญชาทัพได้ง่ายจะด้วยเพราะบุญบรามีมีสวรรค์ช่วย แต่เรื่องการพิชิตศัตรู ต้องยกให้เป็น     คุณความดีของกุยแก"
    นักวางแผนที่มีความสามารถมากมายและมีอนาคตรุ่งโรจน์คนนี้กลับโชาราชล้มป่วยจนเสียชีวิตลงหลังจากกลับจากเมืองหลิวเซียในปี พ.ศ. 750 ด้วยอายุเพียง 38 ปีเท่านั้น เวลานั้น โจโฉเพิ่มมีชัยจากการปราบปรามซานจวิ้นอูหวัน กำลังภาคภูมิใจอยากยกทัพลงใต้เพื่อรวมจีนเข้าเป็นปึกแผ่น   การเสียชีวิตของกุยแก จึงเป็นความโชคร้ายอย่างมหันต์สำหรับโจโฉทำให้ให้โจโฉเสียใจและเสียดายยิ่งนัก อาลัยเสียดายที่ราชสำนักสูญเสียขุนนางที่ดี และเสียใจที่ตัวเองสูญเสียผู้ช่วยที่ดี" ถึงกับทอดถอนใจอาลัยออกจากใจว่า " (ข้า) เสียใจ  เศร้าใจ เสียดายฟ่งเสี้ยว (กุยแก)”

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘