สอนลูกให้รวย

เมื่อ เช้ามีโอกาสไปทำบุญที่วัด เนื่องในช่วงโอกาสวันหยุดยาว ทำให้วันนี้วัดมีพุทธศาสนิกชน ค่อนข้างหนาแน่นครับ ที่สำคัญใกล้จะถึงวันสำคัญของปวงชนชาวไทย "วันพ่อแห่งชาติ" วันนี้เลยพบเด็กๆที่จูงมือพ่อ(และแม่ด้วย) มาทำบุญกันอย่างคึกคัก ผมมาสะดุดตาตรงที่ พ่อลูกคู่หนึ่งที่ขับรถกระบะเก่าๆมาทำบุญที่วัด มากันทั้งครอบครัว ทำตัวสบายๆทักทายเพื่อนๆร่วมชุมชนอย่างเป็นกันเอง ถ้าคนที่ไม่รู้จักอาจจะดูเป็นเรื่องปกติ ไม่มีอะไรแปลกตา แต่สำหรับคนคุ้นเคยจะรู้ดีว่าคุณพ่อวัยห้าสิบคนนี้เป็นเศรษฐีที่ดินประจำ อำเภอ แต่กลับมีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและไม่ฟุ้งเฟ้อแบบ คนอยากรวยในสมัยนี้

หลัง ทำบุญถวายอาหารพระเสร็จเรียบร้อย ชาวบ้านและพระ เณรต่างร่วมกันทำความสะอาดวัด หลังจากผ่านเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ นอกจากการร่วมใจ ร่วมเงินบริจาคเพื่อ ปฏิสังขรณ์ สิ่งปลูกสร้างต่างๆ เช่น ศาลการเปรียญ, อุโบสถ, หอฉัน และกุฏิพระ เป็นต้น ชาวบ้านยังต้องร่วมแรง ออกแรงกันมาช่วยกำจัดขยะและทำความสะอาด อีกด้วย คุณพ่อลูกหนึ่งเศรษฐีที่ดินคน เจ้าของธุรกิจปั๊มน้ำมันนี้ก็ไม่ได้รังเกียจงานหนัก ท่านกลับพาลูกมาช่วยทำความสะอาดห้องน้ำ และกวาดลานวัดอย่างขยันขันแข็ง ร่วมกับชาวบ้านคนอื่นๆ แบบไม่มีท่าทีจะแบ่งชั้นวรรณะ ต่างจากครอบครัวผู้รากมากดี คุณหญิงคุณนายคนอื่นๆที่ ทำบุญเสร็จก็เผ่นกลับบ้าน ไปนอนอิ่มบุญในห้องแอร์


ผม มีโอกาสคุยกับ คุณลุงเศรษฐีคนนี้ ถึงความคิดของแก ที่พาลูกวัยสิบขวบมาทำงานที่ลำบาก แรกๆดูน้องชายคนนี้ก็อิดออด แต่พอเห็นพ่อลงมือทำกลางแดด ก็เริ่มไม่บ่นและลงมือทำงานแบบสุดกำลัง คุณลุงบอกว่า อยากสอนลูกชายให้รู้จักความยากลำบาก รู้จักถึงความจน และความธรรมดาของชีวิตแบบไม่มี ชั้นวรรณะ คุณลุงพื้นเพก็ไม่ได้เป็นคนรวย ท่านเป็นข้าราชการแต่ด้วยความพอเพียง ไม่อยากมีมาก จึงไม่ได้คิดจะขายที่ดิน ที่นาของพ่อแม่ทิ้ง เพื่อเอาเงินไปซื้อ รถราคาหลายล้าน หรือปลูกบ้านขนาดเท่าวัง แกอยู่อย่างพอเพียงในบ้านไม้ชั้นเดียวแบบชาวต่างจังหวัดบนที่ดินของพ่อแม่ ที่ตกทอด ขับรถกระบะปี 90 ที่เรียกว่าไม่พังไม่เสียจนซ่อมไม่ได้ก็ไม่คิดเปลี่ยน ลุงเศรษฐีคนนี้ให้ข้อคิดดีมาก ว่า บ้านจะแพงแค่ไหน ก็มีไว้แค่ให้เราอยู่อาศัยกันแดดฝน รถจะแพงแค่ไหน ก็มีไว้แค่ให้ขับไปถึงจุดหมาย รองเท้า เสื้อผ้าจะแพงแค่ไหน ก็ทำหน้าที่เพียงสวมใส่ปกคลุมร่างกาย ลุงเศรษฐีใช้ชีวิตแบบน่านับถือ ไม่อวดรวย ชอบช่วยเหลือ ที่นาแกหลายแห่งก็ให้ชาวนาเช่าแบบไม่แพง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ที่ดินหลายแห่งที่มีประโยชน์ก็บริจาคให้ส่วนร่วม สร้าง โรงเรียน สร้างสถานที่ราชการ 


ส่วน เรื่องการสอนลูก คุณลุงเน้นการทำให้ลูกเห็น หัดให้ลูกค้าขาย ทำงานหาเงินแลกของที่อยากได้ จึงทำให้คนละแวกนี้พบเห็นลูกของลุงนำของไปขายที่ตลาด หรือไม่ก็โบกรถรับซื้อของเก่า เพื่อขายขวดพลาสติกและกระป๋องน้ำอัดลมที่เก็บจากในบ้านและร้านอาหารที่ปั๊ม น้ำมันของครอบครัว เรียกว่าสอนการทำธุรกิจตั้งแต่เล็ก และที่สำคัญเพาะบ่มนิสัยการรู้จักคุณค่าของเงิน ประหยัดและ รู้จักอดออม ผมว่าตรงนี้แหละที่ พ่อรวย เขาสอนลูกกัน คุณลุงเน้นที่จะให้ลูกเรียนรู้ และทำธุรกิจต่อยอดเงินมากว่าการไปรับราชการหรือทำงานประจำกินเงินเดือน ต่างจากพ่อจนแถวบ้านผม ที่สอนให้ลูกอยากรวย และแข่งร่ำแข่งรวยกับคนอื่น แบบนี้จึงเป็นแบบอย่างของการใช้เงินไม่เป็น และจมไม่ลง มุ่งเน้นแต่การสร้างสภาพคล่องเพื่อสนองความอยากด้วยการกู้ยืมเอาเงินอนาคตมา ใช้ สุดท้ายก็ต้องทำงานใช้หนี้ยันตาย 


พูดถึงเรื่องพ่อลูกแล้ว เกิดนึกถึงเรื่องที่น่าจดจำและเป็นแบบอย่างของการเลี้ยงลูก เรื่อง "ขนมปังชิ้นที่ 3 " ของ คุณ ตัน อิชิตัน ที่ว่า ขนมปังชิ้นที่ 3 คือ ยาพิษ มีไว้ให้ลูกมากไปก็ไม่เกิดประโยชน์ทำให้กลายเป็นโทษมากกว่าคุณ ดังนั้นจึงไม่มีนโยบายเก็บเงินหรือทิ้งมรดกไว้ให้ลูก มากๆเกินพอดี มีเพียงแค่ขนมปังชิ้นแรก ที่ให้เพื่อประทังชีวิต และชิ้นที่สองเพื่อความอร่อย สุขสบาย พอสมควร  


การ เลี้ยงลูกให้เป็นเศรษฐีของพ่อรวยแบบคุณลุงคนนี้ จึงเป็นการทำให้เห็นและสอนให้ลูกเป็นในอย่างที่ควร เพื่ออนาคตลูกจะได้โตขึ้นมาแบบมีคุณภาพและสร้างความมั่นคงให้กับตัวเองได้ ไม่พลาญเงิน พลาญของพ่อแม่ไปกับสิ่งของราคาแพง เพื่ออวดร่ำอวดรวยจนเกินตัว โดยเฉพาะแนวคิดเรื่องการสอนให้ลูกรู้จักการลงทุน ทั้งการทำธุรกิจ หรือแม้แต่การลงทุนในตลาดหุ้น เพื่อสร้างความเติบโตของสินทรัพย์ ซึ่งเราสามารถนำไปใช้เป็นแบบอย่างได้ดี แม้เราจะยังไม่รวยเป็นเศรษฐีมีเงินมาก แต่ก็สามารถนำแนวคิดแบบเศรษฐีมาปลูกฝังเมล็ดพันธุ์แห่งความคิดแบบคนรวยให้ กับ ลูกของเราได้เช่นกัน ที่สำคัญควรใช้ชีวิตแบบพอเพียงเพื่อเป็นต้นแบบการดำเนินชีวิตแก่ลูก 


จง อย่าทำเป็นพ่ออวดรวย ที่ใช้เงินไปวัน เพื่อปรนเปรอความสุขนอกกาย และแสดงแสนยานุภาพความมั่งมีจอมปลอมผ่านวัตถุภายนอก เพื่อให้คนอื่นยอมรับ(ถึงตอนนี้เราจะหาได้มากในวันนี้แต่อย่าประมาทว่าเงิน มันจะมากพอแบบนี้ตลอดไป ถ้าการหาเงินเกิดสะดุดมีปัญหา ความจนก็จะมาเยือนท่านได้เสมอ) ที่สำคัญเราไม่ควรทำตัวเลียนแบบพ่อจน ที่สอนให้ลูกรู้จักแต่การเล่นหวย เล่นการพนัน แทนที่จะสอนลูกให้รู้จักการลงทุนในธุรกิจ หรือลงทุนในหุ้นคุณค่า เพื่อความยั่งยืนในอนาคต เพราะถ้าเป็นแบบนั้นแล้ว คงจะอยากที่ลูกจะอยู่ได้อย่างมั่นคงและมีความสุขครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘