พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ

พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ

จากมานานคิดถึงจังเลย        หอมเจ้าเอยละอองท้องถิ่น
อยากกลับไปแนบซบไอดิน            บ้านรำพึงคิดถึงเสมอ
อัสดงอาทิตย์กล่าวลา                คืบคลานมาคือคิดถึงเธอ
คืนเหน็บหนาวอีกแล้วสิเออ            บ้ารำพึงคิดถึงเพียงเธอ…"
    พอจะคุ้นเคยกันบ้างไหมล่ะ สำหรับบทเพลงนี้ คงพอทราบกันแล้ว ว่าวันนี้ข้าพเจ้าจะกล่าวถึงใคร แน่นอนว่าบุคคลที่ฉันจะกล่าวถึงในที่นี้ คือ พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ หรือที่เป็นที่รู้จักกันดีในวงการเพลงเพื่อชีวิต คือ น้าหมู
    ผู้ชายคนนี้เป็นลูกคนโตที่ต้องรับผิดชอบอะไรหลาย ๆ อย่างในบ้าน มีชีวิตเกิดท่ามกลางป่าเขา ลำเนาไพร มีชีวิตที่ผูกพันกับคำว่า "ชาวนา" ตั้งแต่เด็ก ความคิดที่ปลูกฝังในหัวคิดของชายคนนี้เป็นความคิดที่น่านับถือและน่าชื่นชมมากในสายตาของข้าพเจ้า ด้วยประโยคที่ว่า "การเล่าเรียนเพื่อตัวเองจะได้เป็นเจ้าคนนายคนเป็นเรื่องเฮงซวย" นั่นไม่ได้เป็นคำพูดลอย ๆ เท่านั้น หากมีโอกาสไปโคราช จะได้ยินกิตติศัพท์เล่าลือถึง ชายผมยาวคนหนึ่งที่ชอบเป่าขลุ่ย พกขลุ่ยทีละหลาย ๆ เลา แต่เป็นนักศึกษาเคลื่อนไหวประชาชนอยู่แถบกระโทกไทยโชคชัย เมื่อชาวนาสูญเสียที่ดิน เขาวิ่งเต้นต่อสู้ให้กับชาวนาเหล่านั้น มีอยู่วันหนึ่ง วงคาราวานได้ชวนเขามาเล่นดนตรีด้วยกัน แต่เขาไม่แน่ใจนักเพราะว่า สถานะในตอนนั้นของเขาเป็นลูกชายคนโตของบ้านที่ต้องรับผิดชอบอะไรหลาย ๆ อย่าง ทั้งการดูแลน้องที่กำลังเรียน และทั้งการที่เอาตัวเองไปพัวพันกับการต่อสู้ของชาวนา ที่ไม่รู้ผลว่าจะออกมาในลักษณะไหน   ประจวบกับตอนนั้น  ต้องเรียน   ศิลปกรรมด้วย แต่ในที่สุดเขาก็ตัดสินใจร่วมวงนั้น เพียงเพราะคำพูดของวงคาราวานที่ว่า "อยากให้เข้าร่วม"
เราคงไม่สามารถสื่อสิ่งต่าง ๆ ของธรรมชาติออกมาได้ถึงเพียงนี้ หากไม่มีเหตุการณ์   14 ตุลาคม 2516
    ประกาศนียบัตรจบการศึกษาจากชั้น ม.ศ. 3 เป็นสิ่งที่เขายืนยันว่าเป็นประกาศนียบัตรที่สูงสุดในชีวิตที่หลงเหลืออยู่ เพราะเหตุที่เขาเข้าร่วมเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งเหตุการณ์นี้มักจะได้รับการกล่าวขานอยู่เสมอสำหรับคนร่วมสมัยนั้น นำมาซึ่งบทเพลงเพื่อชีวิตและงานวรรณกรรมซึ่งถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิวัติจิตใจและความคิดของนักศึกษาประชาชน
    ปี 2516 เป็นจุดเปลี่ยนชีวิตของผู้ชายคนนี้ เขาไม่มีที่ไปเนื่องจาก พ่อถูกยิงบาดเจ็บที่บ้าน เนื่องมาจากอาสมัครถูกสั่งให้มายิงเขา แต่เขาไม่ได้กลับบ้าน เขาโกรธแค้นมากและตามล่าอยู่คืนกว่า ๆ โดยพกเสื้อเกราะ ปืน ไปเป็นจำนวนมาก เพื่อนของเขาตายไปหลายคน จนเขาอยู่ไม่ได้ต้องลี้ภัยเข้าป่า
    ประสบการณ์ในป่าได้บ่มเพาะคนดนตรีและงานวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก จนถูกโจษย์ขานและเป็นตำนานอยู่ทุกวันนี้ และประสบการณ์ชีวิตในป่า 4 ปี 6 เดือน ได้บ่มเพาะผู้ชายคนนี้ พงษ์เทพกระโดนชำนาญ ให้กลายเป็นนักเดินทางที่เก็บเกี่ยวเรื่องราวรายทาง ความงดงามของธรรมชาติจากป่าเขา และในปี 2522 เขาได้เดินทางออกจากป่าพร้อมกับนำภาพแห่งความงดงามและยิ่งใหญ่ของธรรมชาติมาเพื่อบอกเล่าเรื่องราว ปลูกจิตสำนึกของผู้คนในเมืองให้รักและหวงแหนในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ เขามิได้ถ่ายทอดประสบการณ์ต่าง ๆ มาทางบทเพลงเท่านั้น ยังได้ถ่ายทอดมาทางตัวอักษรอีกด้วย ความคิดที่จะเป็นนักเขียนของเขาแล่นเข้ามาเพียงเพราะการนั่งอยู่ในกระท่อมไม้ไผ่ ที่เขาสร้างขึ้นมาเอง นั่งอยู่กับกองกระดาษหนังสือเท่าที่จะหาได้ในตอนนั้น แล้วประกาศว่า “ผมจะเป็นนักเขียน เขาได้พิสูจน์คำพูดนั้นด้วยการเคร่งเครียด ในที่สุดเขาก็ทำได้ กับหนังสือที่ชื่อ คำตอบอยู่ที่ตัวคุณเอง ซึ่งดิฉันมีโอกาสได้อ่าน ยอมรับว่าเป็นหนังสือที่ดีมาก เขาสามารถที่จะกลั่นกรองคำพูดออกมาได้ดีมาก เช่น ผมก้มตัวลงมองดูหยดน้ำ น้ำหยดนี้จะเดินทางไปถึงไหนนะ หยดนี้ล่ะจะไปพบกับใครข้างล่าง แล้วหยดนั้นจะไปเข้านาใคร หยดนี้อาจจะไปถึงทะเลลึกหรือมหาสมุทร แล้วหยดนี้ล่ะจะไปถึงไหน ถ้ามีโอกาสผ่านไปทางบ้านผมฝากบอกแม่ด้วยว่า ผมรักแม่ บอกพี่ ๆ น้อง ๆ ว่า คิดถึง ฝากหอมแก้มลูกสาวผมด้วย ผมเอามือรองน้ำมาหยดหนึ่ง เงยหน้ามองดูต้นกล้วยแล้วบอกเขาว่า สำหรับผม ขอน้ำเพียงหยดราดรดใจ ใจของรวงที่ร้าว รวงข้าวพลัดเคียว
    สิ่งที่ฉันชื่นชมในตัวผู้ชายคนนี้จนถึงขั้นเอาอัตชีวประวัติของเขามาเล่า นอกจากจะเป็นบทเพลงแล้วคงจะเป็น ความมุ่งมั่นของผู้ชายคนนี้ ที่คิดจะทำอะไร หรือหวังอะไรไว้ เขาก็จะพยายามทำจนประสบความสำเร็จ และจุดมุ่งหมายของชีวิตที่เขาทำ ไม่ได้ทำเพียงเพื่อตัวเองเท่านั้น
    จึงไม่น่าแปลกเลยที่ปัจจุบัน เขาสามารถที่จะก้าวมาเป็น
“พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ”
ศิลปินเพื่อชีวิต จากโคราช

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘