7ดร.นิพนธ์

ดร. นิพนธ์ ศศิธร

ผู้ชายอารมณ์ดี ตัวเล็ก ผมที่บนศีรษะมีครึ่งเดียว ลักษณะคล้าย พ.อ. นพ. พงศักดิ์ ตั้งคณา มีเสียงเป็นเอกลักษณ์ และพบเห็นได้ทางในทีวี แค่ผมเกริ่นแค่นี้กระผมคิดว่าเราหลายคนคงอาจจะเดาชื่อถูก หรืออาจจะมีบางคนที่ยังไม่รู้จักท่าน ครับ ..ท่านคือ ดร. นิพนธ์ ศศิธร .
กระผมเชื่อว่าเราหลานยคนต่างอยากะเป็นนักฑูดที่มีชื่อเสียง อยากเป็นนักพูดที่เก่งและผมก็เชื่ออีกว่าเราหลายคนคงจะมีนักพูดที่ตนเองประทับใจอยู่แล้วซึ่งนัพูดเหล่านั้นก็ได้มีวิธีการพูดแตกต่างกันไปหรือบางท่านอาจจะคล้ายคลึงกันบ้าง ซึ่งเป็นการดีที่เราจะได้ศึกษาการพูดของนักพูดเหล่านั้นเพื่อเป็นแนวทางในการพูดของเราอย่างเช่น นักพูดที่ผมยกมาพูดในวันนี้
ท่าน ดร. นิพนธ์ ท่านก็ได้มีหลักในการพูด ซึ่งท่านได้เขียนไว้ในหนังสือหลายเล่ม ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ยกตัวอย่างในหนังสือภาษาไทย ก็อย่างเช่น การพูดดีมีกำไร การพูดดีมีกำไรเป็นอย่างไร หลายคนคงอยากจะรู้แล้วใช่ไหมล่ะครับ ครับท่าน ดร. นิพนธ์ได้กล่าวไว้ว่า การที่จะเป็นนักพูดที่ดีต้องมีลีลาที่น่าสนใจ ภาษาที่ใช้ก็ต้องสวยงามด้วย เสียงไพเราะ ฟังแล้วน่าประทับใจเมื่อได้ยินเสียงแล้วทำให้น่าฟังหรือน่าสนใจ พูดจาฉะฉาน ไม่มีติดขัดหรืออ้อมแอ้ม จะเห็นได้จากคนที่พูดไม่เป็นเวลาพูดจะพูดอ้อมแอ้ม เช่นว่า อือ.. คือว่า… เออ… ซึ่งเป็นการพูดที่ไม่ค่อยดีนัก และนอกจากนี้ท่านยังได้แนะนำวิธีการพูดอีกว่า “ จงเป็นตัวของตัวเอง “ นี่ก็เป็นประโยคสั้น ๆ ที่แฝงด้วยความหมายในตัวของมันอยู่แล้ว คือว่า หากเราอยากจะเป็นนักพูดที่ดีนั้น เราต้องดำรงบุคลิกภาพของตนไว้เป็นเอกหรือเป็นหลัก อย่าเลียนแบบใคร อย่าดัดจริต หรือว่าหากเราจะปรับปรุงก็ปรับปรุงในความเป็นตัวของตัวเองให้ดีขึ้นเช่น หากพูดตะกุกตะกัก ก็ปรับปรุงให้คล่องแคล่วและนอกเหนือจากนี้ ท่านก็ยังแนะนำขั้นตอนการเตรียมการพูดไว้ ซึ่งท่านได้แบ่งประเด็นออกเป็น 4 ประเด็นใหญ่ ๆ นั่นก็คือ
ประเด็นแรกคือ การวิเคราะห์ผู้ฟัง เป็นที่แน่นอนว่าผู้ฟังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งของการพูดในแต่ละครั้ง การพูดที่จะได้รับความสำเร็จมากน้อยเพียงใดอยู่ที่ผู้พูด สามารถเลือกเรื่องที่จะพูดหรือว่าเนื้อหาที่จะพูด การผสมจิตวิทยาลงไปในการพูดด้วย และยังรวมไปถึงการใช้ถ้อยคำที่จะพูดให้เหมาะสมกับผู้ฟังด้วย
ประเด็นที่สอง คือ การวิเคราะห์โอกาสและเวลา การที่จะพูดในแต่ละครั้งเราต้องทราบก่อนว่า การพูดครั้งนี้เราจะพูดในโอกาสอะไร มีความมุ่งหมายอย่างใดที่จะให้คนฟังได้ทราบและที่สำคัญเราต้องรู้ว่าเวลาที่จะต้องพูดนานเท่าใด เพราะว่าจะได้เตรียมการพูดให้เหมาะสมตรงตามเวลา อย่าลืมนะว่า การที่จะเป็นนักพูดที่ดีได้ต้องเป็นคนที่ตรงต่อเวลา
ประเด็นที่สาม คือ การวิเคราะห์ความมุ่งหมายของการพูดให้แน่นอน เพื่อให้ผลการพูดสมความมุ่งหมายนั้น ๆ แล้วก็ผู้พูดจะต้องทราบความมุ่งหมายของตนเองก่อนว่าต้องการพูดให้ความรู้ เพื่อให้ข่าวสาร ต้องการพูดให้ความบันเทิงหรือว่าเพื่อต้องการพูดเพื่อการชักจูงโน้มน้าวใจให้เห็นพ้องและเกิดความประทับใจเชื่อกระทำตาม
ประเด็นที่สี่ คือ การฝึกซ้อมที่จะพูด ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย เพราะว่าการฝึกซ้อมพูดนั้นจะช่วยลดความประหม่าลงได้ ซึ่งจะเห็นได้จากหลายคนซึ่งขาดการฝึกซ้อมการพูดหรือว่า ฝึกซ้อมมาไม่ดี ทำให้เกิดการลืมบทเกิดความประหม่า ถ้าหากเราซ้อมมาอย่างดีก็ทำให้เรามีความมั่นใจ พูดได้อย่างคล่องแคล่วไม่มีตะกุกตะกัก แล้วการพูดก็จะเป็นไปอย่างธรรมชาติทำให้การพูดมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ถึงตอนนี้แล้วกระผมเชื่อว่า ถ้าหากเพื่อน ๆ นำหลักการพูดของ ดร. นิพนธ์และหลักการพูดของนักพูดที่เพื่อนๆประทับใจ มาผสมผสานรวมกัน ผมคิดว่าเพื่อน ๆ คงได้เทคนิค วิธีแล้วก็หลักการพูดต่าง ๆ ที่เพื่อน ๆ ยังไม่รู้มาปรับปรุงให้เข้ากับตัวเอง ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ต่อการพูดคราวหน้าของเพื่อนๆเป็นแน่.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘