6อาจารย์จตุพล ชมภูนิช

อาจารย์จตุพล  ชมภูนิช

ใช่ว่าคนมีปาก จะพูดได้ดั่งใจคิด
ใช่ว่าคนพูดได้ดั่งใจคิด จะพูดความจริงทั้งหมด
ใช่ว่าคนลงมือกระทำ จะมีความรับผิดชอบ
พูดด้วยทำด้วยช่วยรับผิดชอบ
คือสปิริตของนักพูด
และวาทะข้างต้นก็เป็นของนักพูดอารมณ์ขันท่านหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักในวงการนักพูดเป็นอย่างดี ซึ่งก็ไม่ใช่ใคร ท่านนั้นก็คือ อาจารย์จตุพล ชมภูนิช นั่นเอง อาจารย์จตุพล ชมภูนิชเป็นนักพูดอารมณ์ขันชั้นแนวหน้าที่คลุกคลีคร่ำหวอดอยู่ในวงการนักพูดมาเป็นเวลานาน โดยศึกษาจบนิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้รับรางวัลมากมายหลายรายการเช่น ชนะเลิศการโต้วาที ชิ่งถ้วยมหาวิทยาลัยรามคำแหง ปี 2526 , รางวัลเข็มทองฝังเพชร นักพูดยอดนิยม ปี 2534 และอื่นๆอีกมากมายที่การันตีความเป็นนักพูดมืออาชีพของอาจารย์ ปัจจุบัน อาจารย์จตุพล ชมภูนิชก็เป็นทั้งพิธีกร วิทยากร และคอลัมนิสต์ประจำนิตยสารต่างๆ อีกทั้งยังมีผลงาน
ที่ออกมาในรูปพ๊อกเก็ตบุคสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะของการเป็นนักพูดของอาจารย์ได้เป็นอย่างดี
อาจารย์จตุพลได้กล่าวไว้ว่า ศิลปะในการพูดหรือวาทศิลป์นั้น เป็นศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งเป็นมรดกอันเลิศล้ำที่ประเมินค่ามิได้ของเหล่ามวลมนุษย์ชาติที่สั่งสมสืบสานกันมาตั้งแต่อดีตกาลซึ่งยังผลต่อความเคลื่อนไหว ชีวิตจิตใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้ที่ได้ยินและได้ยลทุกระดับชั้น ที่ต้องใช้ทั้งทักษะ เวลาในการฝึกฝน และอาศัยประสบการณ์ ความชำนาญ นั่นก็หมายความว่าต้องพูดบ่อยๆ เพื่อประโยชน์มากมายหลายด้าน ตัวอย่างเช่น คนที่มีประสบการณ์ในการพูดลงมือเล่าเรื่องชวนขันสักเรื่องหนึ่งทำเอาผู้ฟังหัวเราะกันลั่น แต่ถ้าเป็นผู้พูดที่ขาดประสบการณ์ แม้จะเป็นเรื่องเดียวกัน คนฟังกลับหลับกันเรียบ ในกรณีนี้จะโทษว่าเรื่องที่เล่าขาดรสชาติก็ไม่ได้ ต้องกล่าวว่าผู้เล่าขาดฝีมือมากกว่า เป็นต้น
     นอกจากนี้ อาจารย์จตุพลยังแนะนำหลักการพูดโดยจัดลำดับจากง่ายไปหายาก ได้ดังนี้ คือ
     ประการแรก พูดแล้วน่าคิด ซึ่งส่วนใหญ่ใครๆก็ทำกันได้แค่ขอให้เป็นผู้รู้หรือผู้ที่มีประสบการณ์ เวลาพูดก็ให้มีเนื้อหาสาระถูกต้องครบถ้วนก็น่าจะเป็นนักพูดในประเภทนี้ได้แล้ว
     ประการที่ 2 ก็คือการพูดแล้วน่าฟัง ผู้พูดในแนวนี้จะต้องอาศัยลูกเล่นลูกฮา มีกลเม็ดเคล็ดลับในการสร้างความขบขันของผู้ฟัง ซึ่งความสามารถเช่นนี้ต้องผ่านการฝึกฝนและการพัฒนามาแล้ว
     ประการที่ 3 เป็นการพูดในรูปแบบที่ยากที่สุดนั่นก็คือ การพูดให้ผู้ฟังเกิดความคล้อยตามด้วยความเชื่อถือศรัทธาซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดประสงค์สูงสุดของนักพูดทุกประเภท


     นอกจากนี้อาจารย์จตุพลยังให้ข้อเตือนใจสำหรับนักพูดไว้อีก 3 ประการ ซึ่งก็เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะใช้ปากเป็นอาวุธนั่นก็คือ
     ข้อที่1 พึงเตือนตนด้วยการฟัง นักพูดต้องรู้จักฟังเสียบ้าง จะทำให้มีข้อมูลที่หลากหลายไม่ซ้ำซากจำเจ และคนที่รู้จักฟังจะก้าวขึ้นไปเป็นผู้นำได้ไม่ยากเพราะรู้ซึ้งถึงปัญหาของผู้ตาม
     ข้อที่2 พึงระวังด้วยการคิด เพราะเมื่อตอนที่อยู่คนเดียว ความคิดของคนเรามักจะ กระเจิดกระเจิงไปได้ไกลแสนไกลคนที่เป็นนักพูดต้องระวังความคิดของตัวเองให้ดี ดังมีคำกล่าวไว้ว่า“อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด อยู่หลายคนให้ระวังคำพูด”
ข้อที่3 พึงสร้างมิตรด้วยคำพูด นักพูดพึงแสวงหาและสร้างสมมวลมิตรด้วยการพูด ซึ่งในบางครั้งก็ต้องอ่อนตามลมบ้างดังสุภาษิตจีนที่ว่า “ชิหวังเชอะส้วน”แปลว่า ฟันหักแต่ลิ้นยังอยู่ คือ ยิ่งโอนอ่อน ยิ่งกระทำตาม ยิ่งแข็งกร้าว คนยิ่งแข็งขืน ดังนั้นถ้าพูดดีก็มีมิตร พูดโดยไม่คิด มิตรก็ไม่มี
นอกจากข้อเสนอแนะทั้งข้อคิดของอาจารย์จตุพล ชมภูนิช ที่ดิฉันได้เสนอมาดังข้างต้นแล้ว แม้จะเป็นเพียงส่วนน้อยนิดจากสิ่งต่างๆมากมายที่อาจารย์ได้แนะนำในการพูดแต่ละครั้งนั้น ดิฉันยังได้สรุปหลักการพูดที่ดีตามแนวของอาจารย์จตุพลชมภูนิชมาด้วยดั้งนี้
     1.ก่อนอื่นใดนั้นการเป็นนักพูดที่ดีนั้น นอกจากจะมีพรสวรรค์แล้วยังต้องมีความตั้งใจ มีแรงดลใจอย่างแกร่งกล้า มีความไม่ย่อท้อ
2.นักพูดที่ดี ควรประพฤติตนเป็นนักพูดที่มีสมองที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตอบโต้อย่างรอบรู้และทันท่วงที นั่นก็คือ การมีปฏิภาณไหวพริบซึ่งเป็นคุณสมบัติเฉพาะบุคคลเป็นความสามารุเฉพาะตัวของนักพูดโดยปลูกฝังการเรียนรู้ได้แต่เลียนแบบกัน ไม่ได้และความมีไหวพริบไหวพริบนี้ก็มีประโยชน์ กับคนทุกๆ คนไม่ว่าจะอยู่ในเหตุการณ์หรือสถานการณ์ใดตัวอย่างเช่นการประกวดสาวงาม หากเหลือผู้ประกวดเหลือเพียงไม่กี่คนและความงามสูสีกัน ก็อาจจะชนะคะแนนได้ด้วยไหวพริบในการตอบคำถามเป็นต้น
     3. มีความตรงต่อเวลา เพราะคงไม่มีใครมีความอดทนถ้าหากต้องมานั่งรอนานบ่อยๆ
4.มีการเตรียมตัวก่อนการพูดให้พร้อมและต้องมีการซ้อม การฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ การพูดเปรียบได้กับกีฬาคือ ก่อนลงแข่งขันต้องมีการเตรียมตัวที่ดีทุกครั้ง เพราะยิ่งเตรียมพร้อมเท่าไหร่โอกาสประสบความสำเร็จก็มีมากขึ้นเท่านั้น
     5. การสร้างอารมณ์ขันเป็นเสน่ห์ของนักพูดอย่างหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นการผ่อนความตึงเครียดเพื่อสร้างบรรยากาศความสนุกสนานเวลาพูดซึ่งก็ไม่ต้องถึงกับขนาดผู้ฟังหัวเราะลงไปชักดิ้นชักงอลงกับพื้นก็ได้แค้ผู้ฟังยิ้มสักเล็กน้อย ก็ถือได้ว่าการใช้อารมณ์ขันในครั้งนั้นประสบความสำเร็จแล้วแต่การแสดงออกซึ่งอารมณ์ขันนั้นต้องให้ถูกกาลเทศะด้วยเพราะไม่อย่างนั้นอาจจะถูกคนเกลียดเอาได้
     6.มีมุมมองที่แยบคาย คือต้องมองทุกอย่างออกไปในสายตาของนักพูด คือการมีมุมมองที่ผิดแผกไปจากคนทั่วไป เช่น โฆษนาของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ที่มีสโลแกนว่า “เหมือนนั่งวิมานลอยฟ้า” ถ้าคิดให้ดีแล้ว วิมานจะต้องอยู่บนสวรรค์ และคนที่จะต้องไปสวรรค์ ก็ต้องผ่านปรากฏการณ์ทางธรรมชาติครั้งสุดท้ายของสิ่งมีชีวิตเสียก่อน ฉะนั้น สายการบินนี้อาจจะทำให้ผู้ต้องการสัมผัสวิมานสมความปรารถนาก็ได้ สรุปแล้วก็คือถ้าขึ้นไปแล้วรอดยากนั่นเอง กล่าวโดยรวมแล้วคือมุมมองของการเป็นนักพูด พึงมองในสิ่งที่คนอื่นไม่เห็น และต้องเห็นในมุมที่คนไม่มอง
7.มีการค้นคิดแสวงหาความใหม่ให้กับตัวเองอยู่ตลอดเวลา ทั้ง เรื่องที่จะพูด สไตล์การพูด อีกทั้งบุคคลและสถานที่ด้วย นักพูดจะไม่หยุดนิ่ง ต้องทันเหตุการณ์ ทันกาล
8.การพูดต้องพูดเพื่อสังคมคนส่วนใหญ่ นักพูดควรมีอุดมการณ์ที่มั่นคง เป็นนักพูด ไม่ใช่นักรับจ้างพูดที่รับจ้างพูดจากดำเป็นขาวจากขาวเป็นดำไปได้ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับค่าตอบแทนที่ได้รับ
     9.ให้ความสำคัญกับคนฟัง เพราะต่อให้พูดดีพูดดังเพียงใด แต่ถ้าผู้ฟังไม่รับฟังก็ย่อมจะสื่อสารต่อกันไม่เข้าใจความหมาย ต้องรู้ถึงศักยภาพในการดูดซับการสื่อสารทางคำพูดของคนฟังว่าอยู่ในระดับใด เช่น เด็กชั้นประถม นักศึกษามหาวิทยาลัย นักศึกษาพานิชย์ หรือแม่บ้าน ควรพูดด้วยเรื่อง,ภาษา,ท่าทางการแสดงออกให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้ฟังการพูดครั้งนั้นก็จะประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น
10.ประการสุดท้ายสิ่งที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาความเป็นนักพูดที่ดียิ่งๆขึ้นนั้นก็คือการนำเอาความล้มเหลวไปแก้ไขในครั้งต่อไปถือซะว่าเป็นบทเรียนปรับเปลี่ยนฝึกปรือกันใหม่เพื่อครั้งต่อๆไปจะได้ไม่ผิดพลาดกันอีก
ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนี้ล้วนแต่เป็นข้อคิดดีๆของอาจารย์จตุพล ชมภูนิช ซึ่งอาจารย์ได้ฝากไว้ให้ผู้ที่ต้องการจะก้าวไปเป็นนักพูดที่ดี ดังที่อาจารย์ได้กล่าวไว้ว่า “ การเป็นนักพูดที่เก่งกาจ เช่นประเภทที่พูดที่ไหนคนฟังฮากลิ้งที่นั่น หรือด่ากราดเสียดสีคนนั้นทีคนนี้ทีทั้งนี้เพื่อเป็ฯการเอาใจผู้ฟังนั้น นักพูดประเภทนี้ประเทศไทยเรามีมากพออยู่แล้ว และในอนาคตอาจจะมีมากไปด้วยซ้ำ แต่ ณ วินาทีนี้ ประเทศเรายังขาดนักพูดที่ดี นักพูดเพื่อส่วนรวม พูดเพื่อคนส่วนใหญ่ พูดเพื่อสรรค์สร้างในทางดีงามอยู่อีกมาก ดังนั้นขออย่างเพียงฝึกพูดให้เก่งอย่างเดียว แต่ขอให้ฝึกเป็ฯนักพูดที่ดีกันด้วย เริ่มต้นกันตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่จะมีนักพูดเก่งๆเต็มเวทีแต่หานักพูดที่พูดดีไม่ค่อยเจอ”.


นักพูดในดวงใจ :อาจารย์จตุพล ชมภูนิช
อรกุล โชตินันทกุล 4201253

ใช่ว่าคนมีปาก จะพูดได้ดั่งใจคิด
ใช่ว่าคนพูดได้ดั่งใจคิด จะพูดความจริงทั้งหมด
ใช่ว่าคนลงมือกระทำ จะมีความรับผิดชอบ
พูดด้วยทำด้วยช่วยรับผิดชอบ
คือสปิริตของนักพูด


กราบเรียนอาจารย์ที่เคารพและสวัสดีเพื่อนๆทุกคนนะคะ
      วาทะดังกล่าวที่เราพูดไปเมื่อกี้นี้ก็เป็นของนักพูดอารมณ์ขันท่านหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในวงการนักพูด และคงจะเป็นนักพูดในดวงใจของเพื่อนๆหลายๆคนก็เป็นได้ค่ะ ท่านนั้นก็คืออาจารย์จตุพล ชมภูนิชนั่นเองค่ะ
     อาจารย์จตุพล ชมภูนิชเป็นนักพูดชั้นแนวหน้าที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการนักพูดมาเป็นเวลานาน และได้รับรางวัลมากมายจากเวทีต่างๆที่การันตีความเป็นนักพูดมืออาชีพของอาจารย์ได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันอาจารย์จตุพล ชมภูนิชเป็นทั้งพิธีกร วิทยากร และคอลัมนิสต์ประจำนิตยสารต่างๆ อีกทั้งยังมีผลงานพ๊อคเก็ตบุคที่สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะการเป็นนักพูดของอาจารย์ได้เป็นอย่างดี
     เราได้สรุปหลักการพูดของอาจารย์จตุพลมาเป็นข้อๆได้ดังนี้
      ข้อแรกสุดของการเป็นนักพูดที่ดีนั้นนะคะ นอกจากจะต้องมีพรสวรรค์แล้วยังต้องมีความตั้งใจ มีความมุ่งมั่นและไม่ย่อท้อ
ข้อที่สองนะคะ นักพูดที่ดีจะต้องมีสมองที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตอบโต้อย่างรอบรู้และทันท่วงที
ข้อที่สาม มีความตรงต่อเวลาซึ่งมีความสำคัญมากเลยนะคะข้อนี้
ข้อที่สี่ มีการเตรียมตัวก่อนการพูดให้พร้อมและต้องมีการซ้อมการฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ
ข้อที่ห้า ต้องมีการสร้างอารมณ์ขันบ้าง เพราะอารมณ์ขันก็เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของนักพูด นอกจากนี้ยังช่วยผ่อนความตึงเครียดช่วยสร้างบรรยากาศเป็นกันเองกับผู้ฟังอีกด้วยนะคะ
ข้อที่หก นักพูดที่ดีต้องมีมุมมองที่แยบคายคือมีมุมมองที่คนอื่นไม่เห็น และต้องเห็นในมุมที่คนไม่มอง ตัวอย่างเช่น อาจารย์จตุพลได้กล่าวถึงสโลแกนของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ที่ว่า เหมือนนั่งวิมานลอยฟ้า แล้วเพื่อนๆลองคิดดูสิคะว่าวิมานก็คือสวรรค์ใช่มั้ยคะแล้วคนที่จะได้ไปสวรรค์ก็ต้องผ่านปรากฏการณ์สุดท้ายของสิ่งมีชีวิตไปก่อน พูดง่ายๆก็คือขึ้นไปแล้วก็รอดยาก
นั่นเองค่ะ
ข้อที่เจ็ด นักพูดที่ดีจะต้องแสวงหาความแปลกใหม่ให้กับตนเองอยู่ตลอดเวลา ทันเหตุการณ์
ข้อที่แปด ให้ความสำคัญกับผู้ฟัง เพราะต่อให้ผู้พูดพูดดีและดังเพียงใด ถ้าผู้ฟังไม่รับฟังก็ย่อมจะสื่อสารกันไม่เข้าใจ
ข้อที่เก้าข้อสุดท้ายที่สำคัญที่สุดสำหรับการพัฒนาการเป็นนักพูดที่ดียิ่งๆขึ้น นั่นก็คือการนำเอาความล้มเหลวในแต่ละครั้งนำไปแก้ไขในครั้งต่อไป และถือซะว่าความล้มเหลวนั้นเป็นบทเรียนเพื่อครั้งต่อๆไปจะได้ไม่ผิดพลาดกันอีก
ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นก็ล้วนเป็นข้อคิดดีๆของอาจารย์จตุพล ชมภูนิช นะคะ ถ้าเพื่อนๆสนใจก็ลองนำไปใช้ดูบ้างก็ได้นะคะ เราเชื่อว่าฝีมือของเพื่อนๆจะต้องพัฒนาขึ้นอย่างแน่นอนค่ะ.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘