วิชาการพูด 59

กลวิธีในการพูด
การพูดเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สำคัญ ๆ ที่สุดที่คนเราทุกคนจำเป็นต้องใช้  เพื่อช่วยให้การดำรงชีวิตประจำวันไปด้วยดี  ช่วยในการประกอบอาชีพหรือหน้าที่การงาน  การเรียนติดต่อธุระกิจต่าง ๆ  อันนำมาสู่ผลสำเร็จของการที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้  โดยราบรื่น การพูดทำให้เกิดมิตรหรือศัตรูและอจทำให้ผู้พูดประสบความสำเร็จตามต้องการได้  ถ้าผู้พูดรู้จักพูดให้ถูกต้อง เหมาะสมกับผู้ฟังและกาลเทศะ 
วันนี้ผมจะมาเสนอความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาจสามารถช่วยให้ผู้พูดมือสมัครเล่น เมื่อไหร่ไว้ลองนำไปแก้ไขปรับปรุงฝึกฝน วิทยายุทธของตัวเอง  ในการพูดให้มีพลังและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นด้วย จากที่ผมใช้ไปค้นคว้าภายในห้องสมุดคณะศึกษา  ผมเกิดไปสะดุดตากับหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งค่อนข้างจะเก่าไปซักเล็กน้อย  แต่เนื้อหาภายในหนังสือเล่มนั้นเต็มไปด้วยความรู้ เกี่ยวกับการพูดมากมาย  หนังสือที่ว่าคือ  "กลวิธีการพูด"ของ รศ. สมปราชญ์  อิมมะพันธุ์  พิมพ์เมื่อ 2529.   กลวิธีในการพูดที่ผมได้อ่านมาพอจะนำหัวข้อสำคัญ ๆ ที่น่าสนใจและเหมาะกับนักพูดมือใหม่อย่างผม  ผมอ่านใจความ สำคัญและนำมาเรียงใหม่เป็นข้อ ๆ ไว้ 5 ข้อ  ดังนี้ครับ
ข้อ  1.  ก่อนการพูด  นักพูดที่เริ่มพูดให้ต้องเตรียมตัวให้พร้อมกับการพูดทุกครั้งเพื่อความแน่นอน เพื่อเป็นการฝึกพูดก่อน เช่นพูดกับสิ่งของต่าง ๆ  เช่น กระจก  เก้าอี้   สัตว์เลี้ยง  เพื่อให้การพูดของผู้พูดลดการติดข้ดและหาจุดบกพร่อง  แล้วแก้ไข ได้ ทันก่อนการพูดก็เหมือนกับนักกีฬาที่ก่อนเล่นกีฬาก็ต้องศึกษากติกาเสียก่อน  เมื่อถึงเวลาลงสนามจะได้ไม่วิ่งออกนอกลู่ นอกทาง และรู้ว่าควรทำอย่างไรต่อไป
ข้อ  2.  การเตรียมเรื่องที่จะนำมาพูด เรื่องนี้จะนำมาพูดต้องเป็นเรื่องที่น่าสนใจและเป็นเรื่องที่ทันเหตุการณ์อยู่ในปัจจุบัน
หรือเป็นความรู้แปลก ๆ  ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ รวมทั้งต้องวิเคราะห์กลุ่มผู้ฟังว่าเรื่องที่จะนำมาพูดต้องถูก และเหมาะกับกลุ่ม ผู้ฟังนั้น ๆ
ข้อ  3.  การสร้างความมั่นใจให้ตนเอง การพูดผู้พูดต้องทำให้ตัวเองมีความพร้อมในขณะที่พูดสามารถแบ่งเป็นข้อย่อยไว้3ข้อดังนี้
                    1.  บุคลิกภาพ  การแต่งกายต้องให้เหมาะสมกับกาละเทศะ คือ ต้องให้เข้ากับเรื่องที่จะพูด  และท่าทางการวางตัว การควบคุมอารมณ์ของผู้พูดคืออย่าให้ตื่นเต้นมากนัก หากเกิดอาการดังกล่าว ต้องผ่อนคลายโดย การเดินไปมา ละสายตาจากผู้ฟุงคือกวาดสายตาไปให้ทั่วๆแล้วตั้งสติใด้ดีนึกถึงเรื่องที่จะพูดให้ดีๆกันลืมเนื้อเรื่อง
                    2.  การใช้น้ำเสียงในการพูด  พูดต้องใช้เสียงไม่เบาหรือดังจนเกินไป และพูดให้อยู่ในอารมณ์ของ คำพูดคือไม่พูดช้าเกินไป และไม่เร็วจนเกินไป  อาจทำให้ผู้ฟังเกิดความเบื้องกับเรื่องที่เราพูดก็ได้  และการใช้ภาษา ที่สุภาพต้องลดหรือหลีกเลี่ยงการใช้คำไม่สุภาพเพื่อให้การพูดพูดไปได้อย่างสุภาพและน่าฟังยิ่งขึ้น
                    3.  การลดความตื่นเวที มักจะเป็นกันบ่อยสำหรับผู้พูดมือสมัครเล่นเพราะเมื่อเกิดอาการดังกล่าว ผู้พูดมักเกิดอาการจำเรื่องไม่ได้หรือสับสน  เลยทำให้การพูดไม่เป็นไปตามที่คาดไว้  การลดปัญหาดังกล่าวทำได้โดย ควบคุมอารมณ์ เรียกสติกลับคืนมา เช่น เดินไปเดินมาพร้อมท่าทางที่ค่อนข้าาสุภาพเพื่อเป็นการลดความประหม่า  และนำสติกลับมาแล้วพูดใหม่อีกครั้ง
ข้อ 4.  จัดลำดับเรื่องการพูด  คือ  จัดหัวข้อของการพูดออกเป็นข้อ ๆ  และเรื่องใดที่ผู้พูด ๆ เสร็จแล้ว พูดทวนใหม่ ในข้อที่กล่าวมาเพื่อเป็นการสรุปให้ผู้ฟังได้เข้าใจอีกครั้ง  จะทำให้เรื่องที่พูดเกิดการซ้ำและน่าสนใจและเข้าใจง่ายสำหรับผู้ฟัง
ข้อ  5.  กล่าวจบเรื่องสรุปเนื้อเรื่องที่พูดมาทั้งหมด คือเรื่องผู้พูด ๆเสร็จตามที่พูดไป การสรุปเนื้อหาที่พูดต้องชี้ให้ผู้ฟัง เห็นถึงประโยชน์และความสำคัญต่าง ๆ  ข้อดีข้อเสียและชักจูงให้ผู้ฟังเกิดความคล้อยตาม รวมไปถึงการกล่าวจบ ผู้พูดอาจ หาคำกลอนหรือคำพูดสั้น ๆ เล็ก ๆ น้อยน้อย  อาจแต่งเองหรือหามาพูดเพื่อให้ผู้ฟังได้ประทับใจ  เพื่อเพิมประสิทธิภาพ ในการพูดให้แก่ผู้ฟังได้อีกมากขึ้น
ข้อ 6.  ข้อที่กล่าวข้างต้นเป็นประเด็นสำคัญสำหรับผู้พูดมือใหม่ที่ต้องนำมาใช้ในการพูด  "การพูดไม่ใช้จากพรสวรรค์  แต่การพูดได้มาจากพรแสวง"  ดังนั้น ผู้พูดทุกท่านที่เริ่มต้นด้วยดีและนำหลัการพูดกลวิธีการพูดทั้ง 5 ข้อ นำไปใช้ปรับปรุง หรือฝึกฝนอาจทำให้ท่านเป็นผู้พูดที่ดีได้  เป็นผู้ผู้ดีมีประสิทธิภาพอีกคนก็ได้.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘