วิชาการพูด 58

เส้นทางสู่นักพูดที่ดี
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถือได้ว่ารับอภิสิทธิ์เป็นอย่างมาก  เพราะเกิดมาพร้อมกับความสามารถหลาย ๆ อย่าง  ฟัง  พูด  อ่าน  และเขียนได้  ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดที่แบ่งแยกมนุษย์ออกจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ  โดยสิ้นเชิง  การพูด  เป็นความสามารถ ขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุก ๆ คน  เพราะบางคนอ่านหนังสือไม่ออก  เขียนหนังสือไม่เป็น  แต่ก็สามารถใช้การพูด  พูดสื่อสารกับคนอื่น ๆ ให้เข้าใจได้  จึงเห็นได้ว่าการพูดเป็นเรื่องธรรมดาที่ใคร ๆ  ก็พูดได้  แต่จะมีใครบ้างไหมที่สนใจ พัฒนาศักยภาพในด้านนี้ของตนให้ดีขี้นเรื่อย ๆ ไป
ย้อนอดีตกลับไปเมื่อประมาณ 3-4 ปีที่ผ่านมา  รายการประเภทหนึ่งผุดขึ้นหน้าจอโทรทัศน์มากยิ่งกว่าดอกเห็ด  และได้รับความสนใจอย่างมาก  ไม่ว่าเราจะกดรีโมทต์ไปช่องไหนเป็นต้องเจอ  นั่นก็คือ  รายการทอล์กโชว์ (Talk Show)  ทำให้เราเห็นเสน่ห์ของการพูดว่ามีมากแค่ไหน  มิใช่เพียงแค่ใช้สื่อสารกันให้เข้าใจเช่นในอดีตเท่านั้น  อาชีพนักพูดจึง กลายเป็นอาชีพในหัวใจของใครหลาย ๆ คน  เพราะมีผู้กล่าวว่าการเป็นนักพูดนั้นเป็นอาชีพที่ไม่ต้องลงทุน  ลงแต่แรงพูด อย่างไร  ไปไหนก็ไม่ต้องหิ้วกระเป๋าอุปกรณ์สัมภาระไปมากมายให้เกะกะ เพียงนำปากไปอย่างเดียวก็สามารถหากินได้แล้ว และในความเป็นจริงจะเป็นเช่นนั้นหรือไม่  ดิฉันมีคำตอบให้กับทุก ๆ ท่านค่ะ  จากหนังสือ  ปอกเปลือกวงการปาก ภาค 1-2 ของ  อาจารย์จตุพล  ชมภูนิช  นักพูดที่มีชื่อเสียง  มากด้วยประสบการณ์และมีรางวัลมากมาย  เป็นเครื่องการันตี ความสามารถ  อีกทั้งยังเป็นที่คร่ำหวอด  รู้ตื้นลึกหนาบางของวงการนี้เป็นอย่างดี ท่านเป็นผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นด้วย สำนวนการเขียนที่สนุกสนานไม่แพ้การพูดบนเวทีของท่านเลย การที่จะก้าวขึ้นสู่เวทีฝีปาก  ก้าวเข้าสู่อาชีพมือถือไมค์  ไฟส่องตัว  หัวแคล่วคล่อง  สมองฉับไวนั้น  สิ่งที่ทุกคนต้อง มีคือความปรารถนาแรงกล้าที่จะเป็นนักพูด  คุณสมบัติข้อนี้ไม่มีไม่ได้ เพราะไม่มีนักพูดคนไหนได้เป็นนักพูดเพราะ ความบังเอิญ  ไม่ตั้งใจ หรือว่าฟลุ้ค
แรงดลใจ  เป็นส่วนประกอบสำคัญยิ่งของการกระทำอะไรให้ประสบความสำเร็จ  คนที่เป็นนักพูด อาจมีแรงดลใจแตกต่าง กันออกไป  บ้างอยากจะเป็นผู้นำ  เวลาพูดแล้วมีคนเชื่อ  มีคนให้ความสนใจ
ความไม่ย่อท้อ  เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยส่งผู้มีคุณสมบัติเช่นนี้ไปสู่เป้าหมายได้  อย่างไม่หยุดชะงัก  เพราะมีคำกล่าวว่า เส้นทางไปสู่เกียรติศักดิ์นั้น  จะประทับไว้ด้วยดอกกุหลาบไซร์  ไป่มี การฝึกพูดใหม่ ๆ  ก็เปรียบคล้ายกับคนหัดขี่ จักรยาน  มีล้มบ้าง  ได้แผลบ้าง  แต่ก็ยังสนุกสนานกับการหัด  เมื่อเราขี่เป็นเราก็สามารถไปที่ต่าง ๆ  ได้ตามที่ใจอยากได้
และสำหรับเรื่องของพรสวรรค์นั้นมีนิยามไว้หมายถึง  การเรียนรู้ง่าย  ฝึกฝนง่าย   เป็นง่ายหรือเป็นเร็ว  เมื่อเทียบกับ บุคคลอื่นหรือคนทั่วไป  แต่ไม่น่าจะหมายถึงเกิดมาแล้วก็เป็นเลย  ทำได้เลย  ไม่เช่นนั้นโรงเรียนทั้งหลาย  สถาบันฝึกอบรม ต่าง ๆ คงเจ๊งเป็นแถบ ๆ แล้ว  คนมีพรสวรรค์ในการพูด เช่น  พวกชอบพูดคุย ชอบพบปะผู้คน  พูดจาแคล่วคล่องไม่ติดขัด  พวกนี้เรียกได้ว่ามีทุนอยู่แล้ว  ทางจะประสบความสำเร็จก็ง่ายขึ้น    แต่สำหรับประเภทที่เงียบขรึม  ถามคำตอบคำ  เก็บตัวอยู่แต่ในห้อง  การจะเริ่มต้นฝึกปรือการพูดนั้นก็ต้องอาศัยแรงอึด  ฮึดสู้มากสักหน่อย  แต่ทั้งหมดนี้ก็ขึ้นอยู่ที่ว่าใคร ตั้งใจมากกว่ากัน  เพราะถ้าลองได้ทำแล้ว  รับรองว่าฝันเป็นจริงทุกราย  ต้อง "มุ่งมั่น  ฝันใฝ่ตั้งใจ  อดทน  ฝึกฝน"
  เห็นไหมคะว่า  การเป็นนักพูดมิใช่ว่าเพียงแค่เอาปากไป  ก็หากินได้  เพราะการจะเป็นนักพูดที่ดีจึงต้องมีองค์ประกอบโดย
สังเขปเพียง 4 ข้อใหญ่ ๆ  จำได้ง่าย ๆ  ดังนี้
1. มุมมอง ต้องแยบคาย คือต้องมองทุกอย่างออกไปในสายตาของนักพูด (EYE  OF  SPEAKERS)  มีมุมมองที่ผิด แผกแตกต่างไปจากคนทั่วไป   อาจจะเป็นเรื่องถ้อยคำ  วัตถุ   เหตุการณ์ที่ธรรมดา ๆ กลายเป็นไม่ธรรมดาไปก็ได้  เช่น โฆษณาไม้ทำฝาบ้านยี่ห้อหนึ่งใช้ปลวกเป็นตัวพรีเซนเตอร์  หลายคนก็มองว่าน่ารักดี  แต่ดู ๆ ไปแล้วน่าสงสารมากกว่า  เพราะไม่มีฝาบ้านให้แทะ  ซ้ำยังถูกทารุณจิตใจโดยการถูกมนุษย์เหยียบต้นไม้ที่ตนอุตสาหะปลูกมากับมือ  อีกหน่อยอาจจะ เกิดมูลนิธิอนุรักษ์พันธุ์ปลวก  หรือจัดให้ปลวกเป็นสัตว์สงวนก็ได้นะคะ  พึงมองในสิ่งที่คนอื่นไม่เห็น  และต้องเห็นในมุม ที่คนไม่มอง
2.ส่องหา  คือควรค้นคิดเสาะแสวงหาความใหม่ให้กับตัวเองตลอดเวลา  ในการที่นักพูดจะพูดเรื่องเดิม  หัวข้อเดิม  แต่เปลี่ยนผู้ฟัง  เปลี่ยนสถานที่พูด  อาจจะยังพูดแบบเดิม ๆ อยู่แล้วได้  แต่ถ้านักพูดประพฤติตัวเช่นนี้ไปนาน ๆ  แม้ผู้ฟังจะไม่เบื่อแต่ผู้พูดก็จะเบื่อตัวเองไปในที่สุด   ดังนั้นนักพูดที่ไม่หยุดนิ่ง  จะต้องรีไทร์ตัวเองออกจากเรื่องเดิม ๆ  ตลอดเวลา  เพื่อความทันสถานการณ์และทันกาล  เช่น ถามเรื่องปฏิทินนู้ดของสองสาวสุฮ้อต  ลูกเกด-เฮเลน  ก็ส่ายหัว ไม่รู้เรื่อง  ทั้ง ๆ ที่คนเค้ารู้กันทั้งเมือง  แล้วเราไม่รู้  อย่างนี้ก็ใช้ไม่ได้  คงต้องพิจารณาตัวเองเสียใหม่  ความใหม่อาจจะได้ มาจากหลายรูปแบบ เช่น อ่าน  เขียน  ค้น  ฟัง  สนทนากับคนทั่ว ๆ ไป  เพื่อเก็บสิ่งที่ได้มาเป็นวัตถุดิบในการเสนอข้อมูล
3.เวลาครบ  สรรพสิ่งในโลกนี้ย่อมขึ้นอยู่กับกาลเวลาทั้งสิ้น หนทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน เราไม่สามารถไปตลาด หาซื้อความเป็นนักพูดสำเร็จรูป  แบบมาม่ามาต้มกินแล้วพูดคล่องได้  ไม่มียาที่กินแล้วพูดเก่ง  การเป็นนักพูด  ต้องผ่านกาล  ผ่านเวลา ผ่านร้อน  ผ่านหนาว  ผ่านความสำเร็จ  ผ่านความผิดพลาดกันมานักต่อนัก  การพูดแต่ละครั้งของนักพูดแต่ละคน  เขาจะต้องปรับเปลื่ยน ตัดทอนหรืออนุรักษ์สิ่งใดเอาไว้บ้าง  จะเห็นได้ว่าคุณสมบัติข้อนี้ต้องค่อยเป็นค่อยไป  จะใจร้อนสอบ เทียบไม่ได้  ยกตัวอย่างพูดทางวิชาการที่มีเนื้อหานุ่มลึก  รองศาสตราจารย์สุขุม  นวลสกุล ขึ้นเวทีพูดครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2506  นับจากวันนั้นจวบวันนี้ เป็นเวลา37 ปีเต็มทีเดียว  ท่านถึงได้รับการขนานนามว่านักพูดชั้นครู ผู้ที่ต้องการจะเป็นนักพูดควรใช้เวลาผ่านไมค์ให้บ่อยครั้งที่สุดเท่าที่จะทำได้  ใครให้พูดอะไร  พูดไปเลย เสนอตัว พรีเซนต์งามก็ได้  เราจะได้ฝึกพูดไปในตัวด้วย  เมื่อเวลาผ่านไป  คือใช้เวลาครบแล้ว  ข้อที่ 4 ก็จะตามมาพร้อมกับกาลเวลา  นั่นคือ ประสบการณ์นั่นเอง ประสบการณ์เป็นสิ่งที่หาซื้อไม่ได้เช่นเดียวกับเวลา  เพราะการพูดเป็นทักษะที่ต้องอาศัย ความชำนาญพิเศษจึงสามารถพูดออกมาได้ดังใจนึก  นักพูดที่มีประสบการณ์จะไม่มีวันตกม้าตายกลางเวที  เมื่อเกิดลืมเรื่อง ที่จะพูดต่อ  เขาก็นำประสบกรณ์มาใช้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้  ด้วยเหตุนี้  ผู้ที่ต้องการเป็นนักพูดพึงสั่งสมประสบการณ์ ให้หนักแน่นและแม่นจำเข้าไว้  ถือเสียว่าอะไรที่ผ่านเข้ามาในชีวิตเราล้วนเป็นสิ่งที่ดีหมด เมื่อใดที่สิ่งที่เลวร้าย กล้ำกราย เข้ามาในชีวิตเรา  เราก็ถือเสียว่ามันคือบทเรียน  เมื่อใดก็มีสิ่งดี ๆ  เข้ามาในชีวิต  ก็ถือว่าเป็นการให้กำลังใจ
ก่อนที่เราจะก้าวขึ้นพูดบนเวทีใด ๆ นั้น  เราควรจะมีการเตรียมตัวที่ดี  การพูดที่ดีก็เหมือนกับการเล่นกีฬา และการจะเป็น นักกีฬาที่ดีต้องมีการฝึกฝนอย่างช่อชองและโชกโชน  กล่าวคือการพูดที่ดีต้องมีการเตรียมตัวที่ดีทุกครั้ง ยิ่งเตรียมการพูด พร้อมเท่าไหร่ การพูดครั้งนั้นก็ยิ่งประสบความสำเร็จมากขึ้นเท่านั้น
การวิเคราะหก์ผู้ฟังก็ถือว่าเป็นสิ่งที่จะมองข้ามไม่ได้ คุณค่าของนักพูดและราคาของถ้อยคำแต่ละถ้อยคำที่นักวาทศิลป์ แต่ละคนเพียรพยายามสรรค์สร้างขึ้นมานั้น  จะปราศจากเสียซึ่งความหมายใด ๆ ทั้งสิ้น  หากขาดผู้ฟัง  คนฟังเป็นปัจจัย สำคัญยิ่งต่อความสำเร็จและความล้มเหลว เราจึงควรตรวจสอบว่าผู้ฟังที่จะมาฟังเราในวันนี้เป็นใคร  อายุเท่าไหร่  เพศไหน  อาชีพอะไร ฯลฯ  เพื่อเราจะได้เลือกสรรถ้อยคำและเรื่องที่จะพูดให้สอดคล้องกับความสนใจของกลุ่มนั้น ๆ เช่นไปพูดให้เด็ก มัธยมฟัง  ก็ต้องหาเรื่องที่เป็นวัยรุ่น   คำพูดก็ต้องจ๊าบสักหน่อย  ทั้งมุขทั้งแก๊กศัพท์แสลงก็ต้องเพียบ เราจะได้พูด ภาษาเดียวกัน  แล้วคนฟังก็จะได้รับทั้งความรู้และความสนุก และเมื่อเราก้าวขึ้นไปยืนบนเวที  มีไฟส่องมาที่ตัวเราและสายตาทุก ๆ  คู่ต่างกำลังจับจ้องมองเราอยู่นั้น การพูดที่ดีจะต้องมี ส่วนประกอบของการละครลงไปบ้าง  นั่นหมายถึงผู้ที่สามารถพูดได้ดี  มีศิลปะในการดึงดูดใจผู้ฟัง  จะต้องมีส่วนผสมของ DRAMA เข้าไปด้วยในอัตรส่วนที่ลงตัว  ไม่ใช่ว่ายืนทื่อเป็นหุ่นยนต์  หรือยืนตรงเหมือนเคารพธงชาติ ก็ทำให้คนดูและคนฟัง เบื่อได้  หรือแอ๊คติ้งมากไปก็เหมือนดูรีวิวประกอบการพูด  ก็ไม่ดีอีก อีกประการหนึ่งที่พึงระวังเมื่อเราขึ้นไปใช้ฝีปากบนเวทีแล้ว  นั่นคือระวังการใช้คำพูดของเราด้วย เพราะการใช้คำพูดใน การตอบโต้โชว์ความสามารถในทุกเรื่องทุกกรณีทุกกาลนั้นอาจจะยังความเสียหายมาสู่เจ้าของปากได้ไม่มากก็น้อย  อย่าคิดว่าปากจัดแล้วกัดแหลกกับใครก็ได้  โดยไม่อายฟ้าดินเป็นสิ่งที่ดี  นั่นคือคุณคิดผิด  เพราะเบื่อใคร่ครวญแล้ว  ไม่เหลือบ่ากว่าแรงนักก็ควรอดทน  มิเช่นนั้นปากปากเดียวอาจจะก่อสตรูนับพัน ๆ  ได้เลยทีเดียว ดังนั้นการจะเป็นนักพุดที่ดีที่เก่งกาจนั้น  ก็ควรที่จะคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ด้วย  เพราะขณะนี้ประเทศไทยของเรายังขาด นักพูดที่ดี  นักพูดที่พูดเพื่อคนส่วนใหญ่   พูดเพื่อสรรค์สร้างในทางดีงามอยู่อีกมาก  ขออย่าเพียงฝึกพูดให้เก่งเพียงอย่าง เดียว  แต่ขอให้ฝึกเป็นนักพูดที่ดีด้วย  เริ่มกันตั้งแต่วันนี้  ก่อนที่จะมีนักพูดเก่ง ๆ เต็มเวที  แต่หานักพูดที่พูดดีไม่ค่อยเจอ เส้นทางของนักพูดไม่ยากอย่างที่ทุก ๆ คนคิด  เพียง ข้อเท่านั้น  บวกกับความตั้งใจจริง  แค่นี้รับรองว่าฝันของเพื่อน ๆ ต้อง เป็นจริงแน่นอนค่ะ   ดิฉันคิดว่าเราทุกคนมีความสามารถ พัฒนาความสามารถกัน เพื่อจะได้พัฒนาประเทศเราให้ดีน่าอยู่ ต่อไปกันเถอค่ะ
ใช่ว่า      คนมีปาก  จะพูดได้อย่างใจคิด
ใช่ว่า     คนพูดได้อย่างใจคิด  จะพูดความจริงทั้งหมด
 ใช่ว่า    คนพูดความจริงทั้งหมด  จะลงมือกระทำ
ใช่ว่า    คนลงมือกระทำ จะมีความรับผิดชอบ
พูดได้  ทำด้วย  ช่วยรับผิดชอบ คือ  สปิริตของนักพูด.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘