วิชาการพูด 57

ศิลปะการพูด
คงเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วนะคะว่า  การพูดคุยกันอย่างไม่มีเนื้อหาสาระนั้นใคร ๆ  ก็ทำได้ เช่น การพูดคุยกันในกลุ่มเพื่อนฝูง  แต่ถ้าจะให้ไปพูดต่อหน้าชุมชนแล้ว ก็จะมีอาการประหม่า  พูดไม่ออกทันที หรือแค่รู้ตัวว่าจะต้องออกมาพูดเท่านั้นแหละ ก็มีอาการเหงื่อออกตามมือตามเท้าเลย เช่น พวกเราที่เรียนกันในชั้นนี้ก็คงยังมีอาการเหล่านี้อยู่ใช่ไหมคะ  ทุกคนมาที่นี่ เพื่อจุดประสงค์เดียวกันก็คือ  ต่างต้องการที่จะเป็นนักพูดที่ดี  ไม่มีอาการประหม่าต่อเวทีี  ต้องการความมั่นใจ เมื่อพูดต่อหน้าชุมนุมชน  ดังนั้นดิฉันจึงมีวิธีที่จะมาแลกเปลี่ยนกับเพื่อน ๆ  ในเรื่องของการพูดซึ่งได้อ่านหนังสือของ  อาจารย์ปรีชา  ช้างขวัญยืน  ท่านเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงมากในวงการภาษาไทย  ท่านได้แนะนำการพัฒนาทักษะไปสู่การเป็น นักพูดที่ดีไว้  การพูดที่ดีนั้นผู้พูดต้องปฏิบัติตามนี้ค่ะ
๑.มีแรงจูงใจ จะเห็นได้ว่าคนเราจะมีพลังบางอย่างผลักดันให้มาพูด  เช่น  พูดเพื่อเร้าใจ  เพื่อให้ข้อเท็จจริง  ผู้พูดต้อง สร้างแรงจูงใจในการพูดแต่ละครั้ง  เราต้องคิดว่าพูดเพื่อต้องการจะพูดจะบอกอะไรบางอย่างกับผู้ฟัง  เราต้องสร้างแรงจูงใจ ที่จะพูดไปในทางสร้างสรรค์  มิใช่ในทางทำลาย  คือพูดเพื่อจะให้ผู้ฟังได้รับประโยชน์จริง ๆ  สุจริตใจไม่หลอกลวงผู้ฟัง  แรงจูงใจนั้นจะทำให้ผู้ฟังฟังเราอย่างตั้งใจที่สุด    แม้ว่าเรื่องนั้นจะยากหรือไม่เพลิดเพลิน แต่ถ้าผู้พูดมีแรงจูงใจมาเป็นแรง ผลักดันให้พูด  เรื่องก็จะมีความน่าสนใจ มีพลัง  การสร้างแรงจูงใจที่ดีที่สุด คือ  บอกสาระประโยชน์ที่ผู้ฟังจะได้รับ จากการฟัง  เพื่อให้ผู้ฟังตั้งใจฟังสาระที่เราจะนำมาเสนอให้ฟังตั้งแต่ต้น  แรงจูงใจ   นั้นจะต้องเป็นไปในลักษณะที่ไม่เป็น การหลอกลวงผู้ฟัง เช่น  ถ้าวันนี้ดิฉันจะมาบอกเพื่อน ๆ  ว่ามีวิธีการที่จะทำให้เพื่อน ๆ สามารถพัฒนาตนเองสู่การเป็น นักพูดที่ดี  แต่ดิฉันไม่ได้เชื่อหรือไม่แม้แต่จะคิดปฏิบัติ  การออกมาพูดในวันนี้ก็จะดูเหมือนเป้นการทำแบบเสแสร้งใช่ไหมคะ
๒.ความเป็นกลาง ผู้พูดต้องมองเรื่องที่จะพูดอย่างเป็นกลางไม่เอาแต่ความคิดของตนเป็นที่ตั้ง  ควรมองตามเหตุผล และผู้พูดจะต้องมีความเป็นกลางเมื่อผู้ฟังวิจารณ์  เพื่อน ๆ อาจจะสงสัยว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นกลางหรือไม่เป็น เราจะวัด ความเป็นกลางได้จากการดูว่า เราสามารถรับฟังคำวิจารณ์ของผู้ฟังได้หรือไม่  เราตกเป็นทาสอารมณ์ ไม่ยอมรับฟังความเห็น ที่ขัดแย้งกับตนได้ถ้าความเห็นนั้นมีเหตุมีผล  แต่โดยทั่วไปแล้วเราก็คงไม่ชอบให้ใครมาวิจารณ์ว่าเราเป็นอย่างนั้นอย่างนี้  พุดไม่ได้เรื่องเลย  แต่หากมองในทางกลับกันเราจะเห็นว่าผู้ฟังนั่นแหละค่ะคือ  กระจกเงาอย่างดีที่สะท้อนภาพรวมของเรา  หากเราไม่มีกระจกเงาที่คอยสะท้อนให้เราแล้วล่ะก็  การพูดแต่ละครั้งก็แทบจะไม่มีความหมายเลย  เราก็จะมัวแต่คิดว่า เราพูดได้แค่นี้ก็ดีแล้ว  อยู่ร่ำไป  แล้วเราก็จะไม่ได้พัฒนาทักษะการพูดเลยล่ะค่ะ
๓.ความเจนเวที  ผู้พูดที่ผ่านเวทีการพูดมาบ่อย ๆ  ย่อมมีอาการประหม่าน้อยกว่าผู้ที่ผ่านเวทีมาน้อย  ผู้ที่เจนเวทีจะ ปรับตัวให้เข้ากับผู้ฟังได้เร็วค่ะ  และการพูดที่ผู้พูดปรับตัวเข้ากับผู้ฟังได้เร็วนั้นจะนำไปสู่การเข้าใจเนื้อหาที่จะพูด  แต่หสำหรับผู้ที่ไม่ค่อยได้ผ่านเวทีบ่อย ๆ ก็ไม่ต้องกังวลนะคะ  เราจะใช้วิธี  การฝึกฝน  นี่แหละค่ะฝึกฝนอย่างตั้งใจจริง  พูดกับโต๊ะ  เก้าอี้  ต้นไม้  ได้ทั้งนั้นนะคะทำตามวิธีที่เพื่อน ๆ ของเราเคยแนะนำไว้นั่นแหละค่ะดีที่สุด  แรก ๆ  อาจจะรู้สึก แปลก ๆ  พิกลว่าเอ  ทำไมฉันต้องมาพูดกับโต๊ะ  เก้าอี้  ด้วย  แต่ต่อ ๆ  ไปก็จะชินไปเองแหละค่ะ อย่าเพิ่งละความพยายาม นะคะ
๔ความมั่นใจ  นักพูดหน้าใหม่มักจะประสบกับปัญหาการขาดความมั่นใจ  กล้วว่าจะพูดได้ไม่ดี  กลัวจะสื่อสารกับคนฟัง ไม่รู้เรื่อง  จำทำให้ไม่กล้าพูด  ถ้ามีอาการอย่างนี้แล้วล่ะก็การพูดของเราก็จะขาดอิสระ  รู้สึกเหมือนกับว่ามันมีกรอบอะไร บางอย่างมากั้นเราขณะพูดค่ะ  ดังนั้นวิธีการที่จะเรียกความมั่นใจ  ทำให้เรามีความมั่นใจนั้นคือ เราต้องพึงระลึกเสมอว่า  ในวันนี้เราจะออกมาหพูด  เราเป็นคนที่สำคัญที่ผู้ฟังให้ความสนใจ  มีคนจำนวนมากที่มาฟังเราในวันนี้  และเราก็มี อิสระที่จะพูดได้อย่างเต็มที่  แต่ก็ควรพึงระลึกว่าอย่าทำให้ความมั่นใจนั้นกลายเป็นความโอ้อวด  เพราะจะทำให้ผู้ฟังเกิด ความรู้สึกที่ติดลบได้ เรียกว่าพกความมั่นใจมาเต็มร้อยได้แต่อย่าให้เกินร้อยนะคะ
๕.ลีลาท่าทางของผู้พูด  ลีลาท่าทางนี้จะทำให้การพูดดูมีสีสัน และไม่น่าเบื่อ  สังเกตดูง่าย ๆ เลยนะคะว่าถ้าเราเรียน วิชาไหนที่เป็น lecture  ถ้าอาจารย์ที่สอนพูดด้วยน้ำเสียงแบบ  monotone  ราบเรียบแบบทะเลไร้คลื่น  มันจะน่าเบื่อและ น่าง่วงนอนขนาดไหนคะ เพื่อน ๆ  ระหว่างการพูดผู้พูดก็จะต้องมีการเคลื่อนไหว  มีการขยับเขยื้อนบ้าง  ใช้ภาษาทาวทาง ภาษากาย เพื่อไม่ให้เกิดความน่าเบื่อหน่าย  นอกจากนี้  การประสานสายตา  ก็เป็นสิ่งที่สำคัญเพราะ  ถ้าผู้พูดพูดไปก้ม หน้าไปไม่สบตาผู้ฟังเลย  ผู้ฟังก็จะไม่ฟัง  เราจึงต้องสบสายตากับผู้ฟังเป็นระยะ ๆ  เพราะผู้ฟังจะได้รู้สึกว่าผู้พูดกำลังพูดอยู่ กับตน  เป็นการดึงความสนใจจากผู้ฟัง  ไม่ใช่ก้มหน้าก้มตาพูด ๆ ไปหันมามองอีกทีคนฟังหลับกันหมด  อย่างนี้ก็ใช้ไม่ได้ เหมือนกันค่ะ
๖.ผู้พูดต้องมีการเตรียมตัวก่อนพูด  แม้ว่าจะเป็นนักพูดที่ผ่านเวทีมามาก หรือจะเป็นนักพูดที่ฝึกหัดก็ย่อมต้องมี การเตรียมตัว  ข้อนี้สำคัญมากค่ะ  ลองนึกภาพดูนะคะว่าถ้าเราออกไปพูดแล้ว  ไปยืนอยู่หน้าฝูงชนแล้วเรายืนอยู่นาน เพื่อใช้เวลานึกคำพูดเนี่ย  ผู้ฟังจะรู้สึกอย่างไร ผู้ฟังก็คงจะรู้สึกว่าผู้พูด  ไม่น่าเชื่อถือใช่ไหมคะ ผู้ฟังจะรู้สึกติดลบตั้งแต่ผู้พูด ยังไม่ได้เริ่มพูดเลย  กาารเตรียมตัวนั้นเราต้องลำดับความคิด    นึกถึงประโยคสำคัญที่จะพูด  การที่เราจำประโยคสำคัญ ๆ ได้จะทำให้เราประหม่าน้อยลง  ตื่นเต้นน้อยลงเพราะอย่างน้อยก็รู้สึกว่าตนเองจำเรื่อง  จำเนื้อหาที่จะออกมาพูดได้  นอกจากนี้แล้วเพื่อไม่ให้สับสนก็ควรเตรียมโน้ตจ่อไว้ป้องกันการลืม การเตรียมโต้ตย่อนี้ไม่ได้เป็นเรื่องเสียหาย เพราะ จะทำให้เรามีความมั่นใจมากขึ้น  แต่ก็ไม่ใช่จะอ่านแต่โน้ตที่เตรียมมาโดยไม่สนใจผู้ฟังเลย  การเตรียมโน้ตนั้นควรจด แต่หัวข้อสำคัญที่จะพูดส่วนรายละเอียดนั้นเราต้องท่องจำให้ขึ้นใจ ถ้าลืมประเด็นก็สามารถดูโน้ตได้ แต่ถ้าเตรียมโน้ตแล้ว ยังมีการลืมระหว่างพูดเราก็ควรพูดส่วนอื่นต่อไปดีกว่าอย่าหยุดพูดเพราะจะขาดการสื่อสารระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง
จากวิธีทั้งหกข้อที่ได้พูดมา  เพื่อน ๆ ก็คงจะนึกภาพออกนะคะว่าการพูดนั้นหากเราไม่ใส่ใจ ไม่มุ่งมั่นอย่างแท้จริงแล้ว เราก็จะก้าวไปไม่ถึงการเป็นนักพูดที่ดีได้เลย  ฉะนั้นก็อยากจะให้เพื่อน ๆ นำวิธีการพูดเหล่านี้ไปปรับให้เข้ากับการพูด ของเพื่อน ๆ ดูนะคะ  ที่สำคัญต้องมุ่งมั่น ฝึกอย่างสม่ำเสมอค่ะแล้วการพูดของเราก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป  เหมือนกับที่ อาจารย์ท่านได้นำข้อความอ้างอิงมาจากหนังสือ "จดหมายจางวางหร่ำ"  ที่เกี่ยวกับการพูดว่า หนึ่ง  มีเรื่องจะพูด  สอง   พูดออกไป  สาม หยุดพูด  ค่ะ   นั่นก็หมายถึงว่าการพูดของเราจะไม่ยากอย่างที่คิดค่ะ.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘