วิชาการพูด 56

เทคนิคการพูด
เมื่อกระบวนการวิชาการพูดที่พวกเราได้ฝึกหัดในชั่วโมงเรียนนี้  ที่ทำให้ทุกคนมีโอกาสฝึกพูด  ลองผิดลองถูกในการหา หลักการพูดให้เป็นแบบเฉพาะของตัวเอง  ต้องยอมรับว่าพวกเราทุกคนมีความสามารถกันทุกคน  ยิ่งคาบเรียนที่ผ่านมา ยังเสริมประสบการณ์ให้พวกเราโดยตรง  จากการที่เพื่อน ๆ  ออกมาพูดเรื่องเทคนิคการพูดของหนังสือที่แต่ละคนก็คิดว่า เป็นหลักที่ตนเองนำมาใช้ ผลในการพัฒนา  กาพูดได้ดีที่สุด  ในส่วนของดิฉันก็มีความยินดีที่จะเสนอหลักการพัฒนาการพูด เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สามารถนำมาใช้กับพวกเราโดยตรง  เพื่อพัฒนาไปสู่การพูดที่ดีนั่นเอง
1.พึงเตือนตนเองด้วยการฟัง    ในตามธรรมชาติมนุษย์เราทุกคนมี 2 หู  มี 1 ปาก  เป็นการบอกใบ้ให้พวกเราได้รู้ว่า ต้องฟังมากกว่าพูด  อย่างวันนี้ถึงคราวที่ดิฉันพูด  ดิฉันก็ทำหน้าที่แต่พอจบการพูดแล้ว  ก็มีหน้าที่ฟังคนอื่นพูด  นักพูดต้อง รู้จักฟัง  จะทำให้มีข้อมูลที่หลากหลาย  ยิ่งฟังแล้วพูดแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันด้วย  ยังเพิ่มพูนให้ความคิดแตกกิ่งก้าน ออกเป็นทวีคูณ  เหมือนอดีตนายกรัฐมนตรีหญิงของประเทศอินเดีย นางอินทิรา   คานธี  เคยกล่าวไว้ว่า  "การแลกเปลี่ยน ความคิด คือการแลกเปลี่ยนที่ทรงคุณประโยชน์สูงสุด  เพราะถ้าแลกเงินกับคนอื่น 5 บาท  เราก็จะได้กลับมา 5 บาท  แต่ถ้า แลกเปลี่ยนความคิดกับคนอื่น ความคิดเดิมก็ยังคงอยู่และยังได้ความคิดใหม่เพิ่มขึ้นมาด้วย"  คนที่รู้จักฟังจะก้าวขึ้นไปเป็น ผู้นำได้ไม่ยากเพราะรู้ถึงปัญหาของผู้ตาม  อย่าให้เหมือนผู้นำการขายสตรีคนหนึ่ง วันดีคืนดีลูกน้องวิ่งหน้าตาตื่นมาฟ้องว่า
             "ลูกพี่  ลูกพี่  แย่เลยครับ  เมื่อคืนเสื้อฟ้าที่ผมตากไว้หลังบ้าน  มีคนมาสอยไปหมดเลยครับ"
            ลูกพี่ก็ถาม "อื้อ แล้วสงสัยใครล่ะ"
             "ก็สงสัยข้างบ้านแหละครับ  เห็นเดินอยู่หลายเที่ยวแล้ว"
            "อ้าว  ก็ไปแจ้งตำรวจซิ"   ก็แค่นั้นที่ลูกพี่ยังไม่ได้สนใจรับฟังปัญหา  หาทางแก้ไขปัญหาของลูกน้องเลย  หลังจากนั้นลูกน้องแต่งงาน  พอครบสามเดือนให้หลังวิ่งท่าทางดีใจมาบอก
             "ลูกพี่  ลูกพี่  ภรรยายผมท้องแล้วครับ"
             เธอตาปรือถาม  ท่าทางเซ็งๆ "แล้วสงสัยใครล่ะ"  คือไม่ได้สนใจฟังอะไร   อะไรก็สงสัยใครล่ะ  นี่คงต้องสงสัยข้างบ้านอีกตามเคย  นี้ก็คือตัวอย่างของคนไม่รู้จักฟังชาวบ้านบ้างนั่นเอง  มีข้อเสียมากกว่าข้อดีก็แล้วกัน
2.ต้องรู้จักมีอารมณ์ขัน   เรื่องการสร้างอารมณ์ขัน  คนเขาไม่ค่อยเชื่อว่าจะสร้างกันได้  คนที่ไม่มีอารมณ์ขันพูดยังไง คนก็ไม่ขัน  บางทีอุตส่าห์ตั้งใจเล่าเรื่องขำขันให้คนฟัง  เล่าอย่างดีที่สุดก็ได้แค่บอกผมพูดจบแล้วครับ เรื่องขันของผม  คนถึง หัวเราะ  เราสามารถใช้ประโยชน์ในการสร้างอารมณ์ขันในการพูดได้  เพื่อให้เรื่องมันฟังไม่หนักเข้าใจง่าย  มีเทคนิคอยู่ 4ข้อ    1.มีความแหลมคม  2. สะสมจดจำ  3.นำมาดัดแปลง  4.แสดงถูกกาล
1.ความแหลมคม  เพื่อใช้สร้างมุข  โดยรู้จักมองสังคมในปัจจุบันว่ามีปัญหา  เรื่องไหนที่เป็น เรื่องพูดแล้วคนฟังอยากให้พูดแล้วคนฟังอยากให้พูด  เช่น  การเมือง  การไม่ซื่อสัตย์ของข้าราชการ การทำตัวไม่เหมาะสมของนักศึกษา เป็นต้น
2.สะสมจดจำ  เราสามารถยืมเรื่องเล่าของคนได้  และจดจำเรื่องที่เป็นเรื่องตลกไว้เยอะ เพื่อใช้ได้ทุกสถานการณ์
3. ดัดแปลง แต่ที่สำคัญต้องเป็นตัวเราให้มากที่สุด
4.แสดงถูกกาล ต้องจดจำไว้ว่า เรื่องตลกที่เล่าต้องไม่กระทบเรื่องลัทธิความเชื่อ  การดูถูกจารีต ประเพณี  ศาสนา  สถาบัน  พระมหากษัตริย์  เป็นต้น แต่เมื่อเทคนิคการสร้างอารมณ์ขัน  เรายังปฏิบัติได้ยาก   ก็ไม่ใช่เรื่องน่าวิตก  แต่ควรมีสิ่งหนึ่งที่นักพูดต้องมีในศิลปะการพูด คือ  มีการมองโลกในแงห่ดีไว้ก่อน  เพราะคุณสมบัติข้อนี้  ย่อมทำให้รู้สึกต่อสิ่งรอบตัวผ่อนคลาย
3.  การฝึกฝน  คือ ต้องฝึกฝน  การพูดต่อที่ชุมชนเป็นทักษะ  เป็นความชำนาญ  ถ้าได้ทำสิ่งที่ดิฉันได้เสนอที่ผ่านมาสองข้อ คือเตือนตัวเองด้วยการฟังและมีอารมณ์ขัน  และบกกับเทคนิคของเพื่อนที่ได้พูดเป็นแนวทางเมื่อคาบเรียนก่อน ๆ  การพูด ของเราก็คงประจักษ์ว่าสามารถพัฒนาได้จริง  นักพูดที่สมบูรณ์ย่อมไม่เกิดขึ้น  ถ้าไม่ฝึกฝน
อย่าคิดว่าให้เป็นใหญ่เป็นโต ค่อยฝึกพูด   อย่าคิดว่าให้ถึงคราวจำเป็นจึงฝึกพูด
อย่าคิดว่ายังเป็นเด็กเกินไปที่จะฝึกพูด  ฝึกพูดกันตั้งแต่วันนี้ ดีกว่านั่งเสียใจที่ไม่มีโอกาสได้ฝึก.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘