วิชาการพูด 55

เตรียมตัวเตรียมใจไปสอบสัมภาษณ์
พวกเราคิดกันแล้วหรือยังว่าเรียนจบแล้วจะไปทำอะไรดี  คำถามนี้อาจดูธรรมดา  "ก็ทำงานน่ะสิ"  ใช่!  แต่ก่อนจะ เข้าไปสู่ระบบการทำงาน  เราต้องผ่านอะไรบ้าง  ไม่เพียงแต่การกรอกใบสมัครสาธยายคุณลักษณะพิเศษ  เราต้องเข้า สู่การสัมภาษณ์ซึ่งต้องใช้การพูดสนทนา  ตอบคำถามสด ๆ  ใช้เวลาราวครึ่งชั่วโมง และเวลาครึ่งชั่วโมงนี้เองที่จะตัดสิน เวลาเรียนทั้ง ๔ ปีของเรา  เราจะยอมเหรอกับคำตอบขององค์กรที่ว่า  "งานของเรายังไม่เหมาะกับคุณ"  นั่นเพราะงาน ไม่เหมาะกับเราหรือเราไม่เหมาะกับงาน  ความหมายก็ไม่ต่างกันนัก เพียงแต่แบบแรกฟังดูดีและไม่ทำลายจิตใจมากนัก  แต่ก็คงไม่มีใครปรารถนาประโยครักษาน้ำใจนี้เป็นแน่
วันนี้  ดิฉันมีวิธีการเตรียมตัวเพื่อสร้างความมั่นใจและเทคนิคที่จะทำให้เราได้เปรียบผู้สมัครท่านอื่น  ไม่ยากเลยนะคะ เพียงเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ  ต่อไปนี้ที่ดิฉันพบเจอจากหนังสือ  คู่มือการสมัครงาน ฉบับทองของอาจารย์  ถาวร  โชติชื่น  ผู้คัดเลือกคนเข้าทำงานและแนะนำวิธีหางานให้กับนิสิตนักศึกษาตามสถาบันต่าง ๆ  ทั่วประเทศ  หลักการเตรียมตัวนี้มี ๕ หลัก ๕ รู้  ซึ่งดิฉันตั้งชื่อเอาว่า ๕ รู้พิชิตตำแหน่งเป้าหมาย  ประกอบด้วย
๑. รู้ตนเอง                       
๒. รู้วิชา
๓. รู้องค์กร
๔. รู้งาน
๕.รู้คำถาม
ข้อแรก  รู้ตนเอง  หมายถึง การรู้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับตนเอง  และถ่ายทอดได้ดี  บางคนคิดว่าง่ายจะตายเรื่องของตัวเอง  ทำไมจะไม่รู้  และบางคนที่ว่านี้ก็ตกม้าตายตั้งแต่คำถามแรก "เล่าประวัติความเป็นมาของคุณหน่อยสิครับ" ตันเลย ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน  อะไรบ้าง แต่การเล่าให้น่าสนใจ ไม่เยิ่นเย้อ  ต้องมีการเตรียมตัวมาก่อนเพื่อจัดลำดับเรื่อง  ความคิดให้ลงตัว และใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง
เรื่องที่ควรพูดก็คือ ชีวิตความเป็นอยู่  ครอบครัว  การศึกษา  ประวัติการทำงาน  และกิจกรรมทางสังคม  ซึ่งเรื่องทั้งหมดต้องไม่โกหก  ต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง  แต่ก็ต้องมีการใช้วิธีที่ถูกต้อง เพราะไม่เช่นนั้นเรื่องดีๆที่พูดอยู่อาจมีอันตกไป เพราะคำเพียงคำเดียว เหมือนบางคนจีบสาวคนรักก็สาธยายข้อดีข้อเสียอย่างตรงไปตรงมา

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘