วิชาการพูด 54

หนทางแห่งการเป็นนักพูดที่สมบูรณ์แบบ
"การพูด"  เพื่อน ๆ  ฟังแล้วคงคิดว่าเป็นเรื่องที่ง่ายมากใช่ไหมคะ  เพียงแค่เราเปล่งเสียงออกจากปากก็เท่านั้นเอง  แต่ในการพูดแบบนี้จะบรรลุวัตถุประสงค์ของผู้พูด  และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ฟังหรือไม่ หากการพูดนั้นมีจุดประสงค์ เพื่อถ่ายทอดความคิดของตัวเรา  ซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้พูดไปสู่บุคคลอื่น  อาจจะเป็นเพียสงบุคคลคนเดียว  หรือเป็นกลุ่มบุคคล ก็ได้  ซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้ฟัง ดังนั้นการพูดในแต่ละครั้งนั้นพึงระลึกไว้เสมอว่า  "การขยับปากขึ้นลงจะไร้ประโยชน์ทันที ถ้าผู้ฟังไม่ได้รับข้อมูล ที่ถูกต้องตามที่ผู้พูดตั้งใจถ่ายทอด"
การที่เพื่อน ๆ  ซึ่งมาจากต่างคณะกัน  ต่างชั้นปี  ได้มีโอกาสโคจรมาพบกันในห้องเรียนแห่งนี้  ก็เพราะว่า ทุกคนต่าง ก็ต้องการที่จะเป็นนักพูดที่ดี  และใช้การพูดนั้นให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดใช่ไหมคะ วันนี้  ดิฉันมีเทคนิคเล็ก ๆน้อย ๆ  เพื่อนำเพื่อน ๆ ไปสู่  "หนทางแห่งการเป็นนักพูดที่สมบูรณ์แบบ"  มาแนะนำให้เพื่อน ๆได้ฟังกันนะคะ  เทคนิคที่ว่านั้น มีดังนี้ค่ะ
๑.  ก่อนที่จะเริ่มต้นการพูดนั้น  ควรคิดไว้เสมอว่า   "พูดคุย  พูดกับ  สนทนากับ และสื่อสาร"
เพื่อน ๆ  คงสงสัยกันนะคะว่า  ทำไมเราถึงจะต้องคำนึงถึงคำ ๔ คำนี้ด้วยนะ  นั่นก็เพราะว่าการสนทนา คือ รากฐานของการสื่อสารทางปากทั้งมวล  จุดหมายของการสื่อสารคือ การปลูกฝังความคิดของผู้พูดไปสู่ความคิดของผู้ฟัง  และจะทำได้ดีที่สุดเมื่อเรา "พูด" กับ ผู้ฟัง  ภาระของความพยายามอยู่ที่ผู้สื่อสาร  อย่าลืมเป็นอันขาดนะคะว่า  เพียงการขยับปากปละการกล่าวคำในภาษาเดียวกันไม่เพียงพอ
๒.การเป็นตัวของตัวเอง ในการพูดแต่ละครั้งตัวตนที่แท้จริงของเรานั้นจะเป็นที่น่าปรารถนาสำหรับผู้ฟัง มากกว่าคนที่ เราควรจะเป็น  โดยที่เราไม่ต้องพยายามที่จะสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ฟังเลย แต่ผู้ฟังจะเกิดความประทับใจในตัวของ เราเอง เพียงแค่เราพูดอย่างเป็นธรรมชาติในแบบของตัวเอง ใช้สีหน้าที่เปิดเผย  และ ยิ้มอย่างจริงใจในเวลาที่เหมาะสม  ที่สำคัญเราก็จะต้องมีการเตรียมตัวที่ดี  นั่นคือ  มีการเตรียมบทพูด  และฝึกฝนการพูดมาเป็นอย่างดี
๓.กิริยาท่าทางที่เหมาะสม  และรู้สึกสบายที่จะทำเช่นนั้น เมื่อเรามีความเป็นตัวของตัวเองแล้ว  ในขณะที่พูด เราก็จะต้องมีการแสดงกิริยาท่าทางประกอบการพูดของเราไปด้วย  และจะต้องเป็นไปในลักษณะที่เป็นธรรมชาติที่สุด  เพราะการแสดงกิริยาประกอบนั้น  จะทำให้ผู้ฟังเห็นว่ากิริยาทาทางของเรานั้นเป็นการแสดงออกของพลังงานแห่งความคิด  ซึ่งมีค่าเท่ากับการโอบกอดผู้สื่อสาร  ผู้ฟังจะรู้สึกเป็นกันเองกับเรามากขึ้น  ดังคำกล่าวที่ว่า  "ไม่มีอะไรก้าวล่วงระยะทาง ระหว่างผู้ฟังกับผู้พูดได้ดีเท่ากับกิริยาท่าทาง  ไม่มีอะไรใช้งานได้ดีไปกว่าการโอบกอดโดยไม่ต้องสัมผัส"ดังนั้น  ความเป็นตัวของตัวเอง  มีสีหน้าที่เปิดเผย  และกิริยาท่าทางที่เหมาะสม  เทคนิค ๒ อย่างที่จะทำให้ผู้ฟังเกิดการ ยอมรับในตัวเราอย่างลึกซึ้ง
๔.  พูดด้วยเสียงเรียบ ๆ  และเสียงที่ใช้ในการสนทนา  ในขณะที่พูด  เราจะต้องพยายามทำเสียงให้เสียงของเรา ดูคล้ายกับว่าเรากำลังพูดคุยกับผู้ฟังอย่างเป็นกันเอง  เราจะต้องพยายามไม่พูดเสียงดัง  เพราะโดยทั่วไปแล้ว เสียงดังมักจะ เป็นเสียงที่ก่อให้เกิดความรำคาญได้ง่าย  เราจะต้องพยายามบังคับเสียงของเราให้ดูเป็นธรรมชาติในขณะที่พูด  โดยพยายาม ฝึกจนกลายเป็นลักษณะนิสัย  ความนุ่มนวลของเสียง เป็นการปลอบประโลม  ทำให้สบายใจ  และเกิดความพอใจในการฟัง เป็นอย่างดี
๕.  เชื่อมั่นในเนื้อหา  การเตรียมตัวและทักษะในการพูด  เมื่อเรามีความมั่นใจในสิ่งเหล่านี้  ความกลัว   ซึ่งเป็นศัตรู สำคัญในการพูดของเราก็จะหมดไป  เราจะต้องเชื่อมั่นในเนื้อหาที่ได้ค้นคว้ามา  และคิดว่าเราคือผู้ที่ชำนาญที่สุดในเรื่อง ที่เราจะพูดนี้  นอกจากนี้เราจะต้องพยายามใช้ทักษะในการพูดทุกประการที่ได้เรียนรู้มาเพื่อใช้ในการพูดแต่ละครั้ง ในขณะที่ พูดหากเราสบสายตาผู้ฟังจะทำให้เราเกิดความมั่นใจขึ้นมาทันที  ทั้งยังเป็นการทำให้ผู้ฟังมั่นใจในตัวของเราอีกด้วย ทั้งนี้เพราะการที่เรามายืนอยู่ตรงนี้ก็เพราะผู้ฟัง  เราต้องพูดกับพวกเขา  ทำให้พวกเขามีส่วนร่วม  แต่หากเรามองวัตถุแทน ผู้ฟัง  ก็จะทำให้ผู้ฟังรู้สึกเบื่อขึ้นมาทันที  เช่น  เมื่อเราพูดไปแล้วเงยหน้ามองเพดานแทนผู้ฟัง  ก็จะดูคล้ายกับว่าเรากำลัง วิงวอนพระเจ้าให้ช่วยบอกบทให้ที  และสายตาที่ลอกแลกของเรานั้น  จะทำให้ผู้ฟังหมดความเชื่อมั่นในตัวเราไปโดย ปริยาย  ดังนั้นจงเชื่อมั่นในตัวเอง และสบสายตาผู้ฟังในขณะพูด เพียงเท่านี้เราก็จะสามารถเป็นผู้ชนะในเวทีการพูดได้แล้ว
๖.  ใช้ภาษาง่าย  สั้น  และพูดให้กระชับมีความชัดเจน สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราสามารถส่งสารได้ตรงตามที่เราต้องการ สื่อได้เป็นอย่างดี  เพื่อที่เราจะได้ไม่รู้สึกว่า  "นั่นไม่ใช่สิ่งที่เราจะพูดนี่นา"
๗.  สื่อสารความคิด   ข้อนี้นับว่าเป็นกับดักที่ร้ายกาจที่สุดทีเดียวล่ะค่ะสำหรับการพูดเพื่อสื่อสาร  ทั้งนี้เพราะว่า  เราต้องการสื่อสารความคิดของเราไปสู่ผู้ฟัง  มิใช่การอ่านข้อความจากกระดาษให้ผู้ฟังได้รับรู้  เราควรหยุดอ่านข้อความ ที่ปรากฏอยู่ตรงหน้า  ผู้ฟังต้องการสิ่งที่อยู่ในความคิดของเราเท่านั้น  ดังนั้นเราจึงควรที่จะจะจำเรื่องที่จะพูดแต่เพียง เค้าโครงเท่านั้น  แล้วนำมาพูดในแบบของตัวเราเอง  โดยที่พยายามสื่อความคิดของเราไปสู่ผู้ฟังให้มากที่สุด เป็นอย่างไรบ้างคะเทคนิคเหล่านี้  เพื่อน ๆ  คิดว่ายากเกินไปไหมคะที่เราจะนำไปฝึกฝนเพื่อการเป็นนักพูดที่ดี และเป็นนักพูดที่สมบูรณ์แบบ เพียงเทคนิค ๗ ข้อนี้ก็สามารถทำได้  เพื่อน ๆ  ได้พบแสงสว่างแห่งหนทางการเป็นนักพูด ที่สมบูรณ์แบบได้แล้วล่ะค่ะ  แต่เพื่อน ๆ  อาจจะไม่ต้องปฏิบัติตามทุกข้อก็ได้นะคะ  ถ้าจะให้ดี  เพื่อน ๆ ควรที่จะทิ้ง  และลืมเทคนิคทุกอย่างที่ดิฉันได้เสนอมาในข้อที่เพื่อน ๆ  คิดว่าไม่เข้ากับตัวเอง  เพราะเพื่อน ๆ  อย่าลืมนะคะว่า   สิ่งที่ผู้ฟังปรารถนา  คาดหวัง  และต้องการจากผู้พูด  ก็คือการเป็นตัวตนที่แท้จริงของ ผู้พูด  ดังนั้น  เทคนิคที่สำคัญที่สุดในการพูด คือ จงเป็นตัวของตัวเองนี่แหละค่ะดีที่สุด

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘